ปลัดมหาดไทยปิดอบรม “นักเรียนนายอำเภอ” ย้ำ นายอำเภอต้องรู้จักสร้างทีม ด้านว่าที่นายอำเภอเสนอแผนพัฒนาพื้นที่ 6 ประเด็น วันที่ 1 ก.ค. 66 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมเหลืองอินเดีย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Action Learning) หลักสูตร “ผู้นำการเปลี่ยนแปลงการขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ให้กับผู้เข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 84 พร้อมร่วมรับฟังการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาพื้นที่ โดยมี นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ว่าที่ร้อยเอก ธีรพงศ์ ครุธดิลกานันท์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายวิชัย บุญมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก นายศราวุธ สุวรรณจูฑะ ปลัดจังหวัดนครนายก ผู้บริหารกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และผู้เข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 84 ร่วมรับฟัง โอกาสนี้ ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมฯ ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาพื้นที่ 6 ประเด็น ได้แก่ 1) การบูรณาการพุ่งเป้าแก้ไขปัญหาความยากจนจากข้อมูล ThaiQM และ TPMAP และการขับเคลื่อนงานตามหลักการทรงงาน “บวร บรม ครบ” 2) การสร้างการรับรู้แอปพลิเคชัน ThaID และการแก้ไขปัญหายาเสพติด 3) การขับเคลื่อนงานธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดและการดำเนินงานสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา 4) การดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” และการน้อมนำโครงการพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืน 5) การน้อมนำพระราชดำริ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน” และ 6) การส่งเสริม “ถังขยะเปียกลดโลกร้อน” และ UN SDGs ประยุกต์สู่ระดับพื้นที่ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า ผู้ที่ผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรนายอำเภอ ต้องเป็น “ผู้นำที่ดี” ด้วยการไปสร้างทีม ตั้งแต่ทีมอำเภอ ทีมตำบล ทีมหมู่บ้าน จำแนกเป็น 2 ทีม คือ 1) ทีมที่เป็นทางการ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 2) ทีมจิตอาสาจาก 7 ภาคีเครือข่าย คือ ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน โดยต้องทำให้ทีมเข้มแข็ง ซึ่งทีมที่เป็นทางการจะเข้มแข็งได้นั้น ผู้นำต้องหมั่นลงไปตรวจเยี่ยม ไปติดตามงาน นิเทศงาน และทีมจิตอาสาจะเข้มแข็งได้นั้น ผู้นำต้องหมั่นลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุย ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาพื้นที่หมู่บ้าน คุ้มบ้าน หย่อมบ้าน อย่างสม่ำเสมอ ตามหลักการทำงานของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงกล่าวว่า “ต้องหมั่นลงพื้นที่ให้รองเท้าสึกก่อนกางเกงขาด” ซึ่งสิ่งสำคัญ คือ ผู้นำต้องรู้และเข้าใจบทบาทของตนเอง ด้วยการเป็นผู้นำการวางแผนและต้องมองให้ครบทุกกระบวนงาน นำนโยบายและงานของทุกกระทรวงที่จะไปทำในพื้นที่ โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจผ่านโครงการพระราชดำริ 4,741 โครงการ ทฤษฎีใหม่ 40 ทฤษฎี และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “บวร” (บ้าน วัด ราชการ) “บรม” (บ้าน ราชการ มัสยิด) “ครบ” (คริสต์ ราชการ บ้าน) ซึ่งเป็นหลักการทำงานทุกเรื่อง เพื่อปลุกพลังแห่งการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของทีม ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญ ทุกคนต้องมี “ใจ” มี Passion เพราะใจเป็นเรื่องใหญ่ และผู้นำต้องมีปัญญาในการมองเห็นภาพว่าเราต้องขับเคลื่อนงานยังไง เพื่อให้เราจะสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ ทั้งการร่วมคิด ร่วมหารือ ร่วมพูดคุย ร่วมวางแผน ร่วมแก้ปัญหา ร่วมลงมือทำ และร่วมรับประโยชน์ ด้วยความรักสามัคคี ความเสียสละ “หลักการทรงงาน บวร บรม ครบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ 7 ภาคีเครือข่ายตามศาสตร์พระราชาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นเรื่องเดียวกัน นั่นคือ การทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพราะในการทำงาน ผู้นำเพียงคนเดียวไม่สามารถทำสิ่งใดใดได้สำเร็จ จำเป็นต้องมี “ทีม” ซึ่งการพุ่งเป้าแก้ไขปัญหาความยากจนผ่านการสำรวจความเดือดร้อนทุกเรื่องด้วยแพลตฟอร์ม ThaiQM ของกรมการปกครอง เป็นการหนุนเสริมระบบ TPMAP ที่อาจยังมีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือไม่อัพเดท ซึ่งขณะนี้ทุกพื้นที่ได้ร่วมกันบูรณาการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนว่า การแก้ปัญหาความยากจนอาจจะทำเสร็จ แต่ยังไม่สำเร็จ เพราะหลายเรื่องเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง และยังมีอีกหลายเรื่องที่อาจจะเกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา ดังนั้น ทุกคนจะต้องนำหลักการทำงานการข่าวร่วมกับทีมในพื้นที่มาใช้ในการติดตามความเดือดร้อนของประชาชน เพราะถ้าการข่าวดี เราก็จะมีข้อมูลที่ถูกต้อง และพุ่งเป้าแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนได้ สำหรับในส่วนของแอปพลิเคชันไทยดี (ThaID) ต้องสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่องในทุกพื้นที่ โดยประชาชนทุกคนคือกลุ่มเป้าหมายของทุกอำเภอ รวมถึงเรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด “การทำหน้าที่ภายในเราต้องสมบูรณ์” คือ “หมู่บ้าน” ทำให้ทุกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านปลอดยาเสพติด เป็นหมู่บ้านยั่งยืนที่สมาชิกในหมู่บ้านช่วยกันดูแลกัน มีการดูแลลูกหลานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการลด Demand Side และปราบปราม Supply Side ที่จะแอบแฝงเข้ามาในพื้นที่ของเรา ทำให้ประชาชนพื้นที่ของเราปลอดยาเสพติด และต้องลงพื้นที่ติดตามผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูตามโครงการช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม อย่างต่อเนื่องเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อให้กำลังใจผู้ผ่านการฟื้นฟู ครอบครัว ตลอดจนสมาชิกในชุมชน และทำให้สมาชิกในชุมชนร่วมเป็นภาคีเครือข่าย ร่วมเป็นขุนศึกในการช่วยกันดูแลคนในชุมชน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่ออีกว่า ในการขับเคลื่อน “สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา” เป็นการน้อมนำแนวทางพระดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงเลี้ยงดูพระโอรสและพระธิดา คือ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วยการฝึกให้เรียนรู้ด้วยการให้เล่นหิน ดิน ทราย เล่นอยู่กับธรรมชาติ เกิดการสร้างปฏิภาณ ไหวพริบ มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และเกิดคุณธรรม ความรัก ความผูกพัน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดย อ.ดิสสกร กุนธร ประธานมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา ได้น้อมนำแนวทางของพระองค์ท่าน มาส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้พัฒนาเด็กเล็กในท้องถิ่นในทุกด้าน ทั้งด้านสมอง ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และวินัย ที่จะเป็นพื้นฐานให้เด็กเติบใหญ่เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ และการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” เป็นการ “พัฒนาคน” ให้คนไปพัฒนาพื้นที่ด้วยหลักการพึ่งพาตนเอง เพื่อทำให้ชีวิตของพี่น้องประชาชนมีความสุขที่ยั่งยืนพอมี พอใช้ พอกิน พออยู่อย่างร่มเย็น มีการน้อมนำพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา มีอาหารที่ปลอดภัยไว้บริโภค เมื่อมีเหลือมากพอก็แบ่งปัน และยังเป็นการลดรายจ่ายครัวเรือนถึงวันละ 50 บาท 14 ล้านครัวเรือน คิดเป็นกว่า 600 ล้านบาทต่อวัน 18,000 ล้านบาทต่อเดือน 252,000 ล้านบาทต่อปี รวมถึงเรื่องพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ต้องทำให้พี่น้องประชาชนได้รู้ว่า เป็น Know-how ที่พระองค์พระราชทานเพื่อให้เกิดการกระตุ้นให้คนไทยได้สวมใส่ผ้าไทยในทุกโอกาส ทุกช่วงวัย ด้วยการพัฒนาผู้ผลิตผู้ประกอบการให้มีทักษะการผลิต การออกแบบ ให้สอดคล้องกับความต้องการของคนซื้อ ส่งผลให้เกิดความมั่นคงด้านเครื่องนุ่งห่มของประเทศ ช่วยเสริมให้ Supply Side คือ คนที่มีภูมิปัญญาการทอผ้ายังมีกำลังใจในการถักทอผ้าให้คนไทยได้สวมใส่ และเงินที่ซื้อผ้าไทยก็จะกลับไปสู่ชาวบ้าน กลับไปสู่ชุมชนทั้งหมด และประการสำคัญเป็นการทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Sustainable Fashion ที่เป็นการส่งเสริมการผลิตผ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดย “ผู้นำต้องสวมใส่ก่อน” เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับข้าราชการ และพี่น้องประชาชน ได้มาร่วมกันทำให้เกิดสิ่งที่ดี เกิดความมั่นคงด้านเครื่องนุ่งห่ม เกิดการต่อลมหายใจให้กับช่างทอผ้าในทุกถิ่นที่ชนบททั่วประเทศ รวมถึงการส่งเสริมจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ที่กระทรวงมหาดไทยได้บูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนผลักดันการซื้อขายคาร์บอนเครดิตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 จังหวัดนำร่อง (เลย ลำพูน สมุทรสงคราม และอำนาจเจริญ) สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่แปลงของเสียให้เป็นแหล่งรายได้ของท้องถิ่น สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN SDGs) ทำให้ทุกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ดังที่พวกเราทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำอย่างต่อเนื่อง “สิ่งที่สำคัญ คือ “นายอำเภอทุกคนในฐานะผู้นำ” ต้องรู้ถึงที่มาที่ไปหรือเบื้องหลังของแนวนโยบายและการขับเคลื่อนงานแต่ละเรื่อง รู้งาน รู้คน รู้พื้นที่ ทำความเข้าใจ UN SDGs ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งทุกเรื่องต่างเป็นเรื่องที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ “ความสุขที่ยั่งยืนของพี่น้องประชาชน” ซึ่งเมื่อผู้นำได้ศึกษาจนเข้าใจกระจ่างแจ่มแจ้งแล้ว ก็จะมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องและไปขับเคลื่อนขยายผลร่วมกับภาคีเครือข่าย ก่อให้เกิดความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น และทำให้ภาคีเครือข่ายเห็นและเข้าใจตรงกัน ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมหลักสูตรนายอำเภอรุ่น 84 ทุกคน แม้ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายอำเภอ ก็สามารถทำหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดีได้ ด้วยการนำเสนอสิ่งที่เราคิดว่าดี ที่จะเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับท่านนายอำเภอ เพื่อให้ท่านนายอำเภอทำตามที่เราคิดทำเพื่อราชการ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน ตามหลัก RER คือ Routine Job Extra Job และ Report เฉกเช่นการบริการงานทะเบียนสำหรับประชาชนผู้ที่ต้องรับบริการเป็นพิเศษ ทำให้เขาเข้าถึงบริการของรัฐที่เป็นนวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน ที่ต้องทำความเข้าใจและย้ำเตือนเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการได้เข้าใจและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อ Change for Good อย่างต่อเนื่อง และไม่ใช่ทำเฉพาะหน้า “จงอย่าพอใจในสิ่งที่ทำอยู่ แต่จงทำให้งานที่ทำอยู่ดียิ่งขึ้นไป” และขอให้ได้นำสิ่งที่ท่านผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ได้เคยกล่าวไว้ว่า “มนุษย์เรามีชีวิตไม่นาน และไม่รู้ว่าเราจะมีชีวิตนานแค่ไหน แต่สิ่งสำคัญที่ดีที่สุดต่อชีวิต คือ เราไม่ได้ทำเพื่อตนเอง ถ้าชีวิตเราได้ทำประโยชน์เพื่อสังคมหรือผู้อื่น ชีวิตเราจะมีค่ามากขึ้น” มาเป็นแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทย เป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นราชสีห์ผู้มุ่งมั่นในการสานต่อปณิธานของคนมหาดไทยรุ่นแล้วรุ่นเล่า นั่นคือ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ดูแลสุขภาพร่างกาย ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท เพื่อสามารถเป็นที่พึ่งพาอาศัย ทำให้พี่น้องประชาชนทุกพื้นที่มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย จำนวนผู้ชม : 2,045 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author โปรดฟังอีกครั้ง!! หยุดก่อบาป “ร่วมสร้างชาติเถอะ” อุทัย มณี เม.ย. 19, 2021 การกลับหวนคืนสู่ “ผ้าเหลือง” ของอดีตพระพรหมสิทธิและพระอีก… นายกรัฐมนตรีขึ้นเชียงใหม่ เข้ากราบ “พระราชวิสุทธิญาณ” วัดป่าดาราภิรมย์ และตรวจอ่างน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อุทัย มณี มิ.ย. 29, 2022 วันที่ 29 มิ.ย. 65 นายกรัฐมนตรี เข้ากราบนมัสการ พระราชวิสุทธิญาณ… ดีเดย์พรุ่งนี้ ! พ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรมมีผลบังคับใช้แล้ว อุทัย มณี เม.ย. 16, 2019 หลังจากเมื่อเร็ว ๆ นี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติรับรองร่างพระราชบัญญัติพระปริยัติธรรมด้วยมติเป็นเอกฉันท์แล้ว… สสส.ดันมติมหาเถรสมาคมให้วัดดูแลผู้ป่วยโควิด “1 วัด1จังหวัด” ชูวัดสุทธิวราราม เป็นต้นแบบ อุทัย มณี ก.ย. 23, 2021 สสส. จับมือภาคีเครือข่ายสุขภาพพระสงฆ์ ดันมติมหาเถรสมาคม… บทบาทพระนิสิต มจร กับการขับเคลื่อนกิจการคณะสงฆ์ อุทัย มณี ก.พ. 24, 2020 https://youtu.be/OWY8444cxjg ข่าวดี!! สมณศักดิ์ชั้น “พระครู”กำลังจะกลับมา?? อุทัย มณี ส.ค. 18, 2022 วันที่ 18 ส.ค. 65 หลังจากสมณศักดิ์ "พระครูสัญญาบัตร" ว่างเว้นมาจากการโปรดเกล้า… ชาวมหาดไทย จับมือภาคีเครือข่าย ร่วมใจเฉลิมพระเกียรติ ฯ ปลูกป่าสน 100,000 กล้า ฟื้นคืนป่าต้นน้ำ สนองพระราชดำริ “คนอยู่กับป่า” สู่ความยั่งยืน อุทัย มณี ก.ค. 31, 2023 วันที่ 31 ก.ค. 66 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… พรุ่งนี้!! ดีเดย์เปิด รพ.สนาม มจร วังน้อย 400 เตียง อุทัย มณี ส.ค. 09, 2021 วันที่ 9 สิงหาคม 2564 พรุ่งนี้เวลา 08.00 น. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… แนะพระยุคใหม่ใส่ใจ AI ตัวช่วยเผยแผ่พุทธธรรม อุทัย มณี ก.พ. 01, 2019 พระวิทยากรต้นแบบสันติภาพ แนะพระยุคใหม่ใส่ใจ AI ตัวช่วยเผยแผ่พุทธธรรม… Related Articles From the same category นิมนต์เปิดเว็บไวต์วัดฟรี! โครงการ Digital Wat Thai ขอเชิญชวน วัดทั่วประเทศไทย ที่ยังไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง… มส.กลับลำ “ห้ามพระทำใบขับขี่ – ขับรถ”แล้ว วันศุกร์ที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔ ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร… รอ ‘กิตติศักดิ์’ หมดวาระ เดินหน้าเช็คบิล “คดีวัดบางคลาน” อดีต ผอ.พุทธพิจิตรโดนด้วย!! วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 นายพร ปั้นเพ็ง ไวยาวัจกรวัดหลวงพ่อเงินบางคลาน… รัฐบาลจัดกิจกรรม “วันนวมินทรมหาราช ” 13 ต.ค. นายกฯ นำตักบาตรท้องสนามหลวงพระสงฆ์ 189 รูป วันที่ 10 ต.ค. ุุุุ66 นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี… คุก 18 เดือน แก๊งชายชุดดำ บุกวัดบางคลาน ทำร้ายพระ อดีต ส.ว.กิตติศักดิ์ ยังไม่ได้ส่งฟ้อง วันที่ 4 กันยายน 2567 ไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่าวันนี้เวลา 10.00 น .…
Leave a Reply