พระพรหมบัณฑิต เล่าพัฒนาการ “มจร” เนื่องในโอกาสครบรอบ 137 ปี วันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ พระพรหรมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้โพสต์เฟชบุ๊ค เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยครบรอบ ๑๓๗ ปี แห่งการสถาปนา มีความว่า ในพระมหากรุณาธิคุณ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕พระองค์ผู้ทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น โดยให้ย้ายการสอนพระปริยัติธรรมจากศาลาบอกพระปริยัติธรรมภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปตั้งที่วัดมหาธาตุ เพื่อเป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและคฤหัสถ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ และโปรดให้เรียกว่า มหาธาตุวิทยาลัย มหาธาตุวิทยาลัยได้เปิดทำการสอนเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ และมีพระบรมราชโองการเปลี่ยนนามใหม่ว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” เมื่อ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์สืบไป ตามประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ. ๒๔๓๙) ความตอนหนึ่งว่า “จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวิทยาลัยที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกแลวิชาชั้นสูงขึ้น ๒ สถาน ๆ หนึ่งเป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร พระอารามหลวง พระราชทานนามว่า มหามกุฎราชวิทยาลัย …อีกสถานหนึ่งเป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุ ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงนี้ มีนามว่ามหาธาตุวิทยาลัย ได้เปิดการเล่าเรียนแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๐๘ สืบมา แต่สังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ยังไม่เป็นที่สมควรแก่การเล่าเรียน… เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศส่วนนั้นเสร็จแล้วจะได้ทรงพระราชอุทิศถวายถาวรวัตถุนี้เป็นสังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมแลวิชาชั้นสูงสืบไปภายหน้า พระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อให้เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสืบไป…” ในวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงลงพระปรามาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ คือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๐ โดยให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ นายแพทย์รัศมี คุณหญิงสมปอง วรรณิสสรได้ถวายที่ดินจำนวน ๘๔ ไร่ ๑ งาน ๓๗ ตารางวา ที่ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแก่มหาวิทยาลัย รวมกับที่ดินที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดซื้อเพิ่มเติม ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๒๓ ไร่ หลังจากนั้น ในวันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลปัจจุบัน) ทูลเกล้าถวายโฉนดที่ดินทั้ง ๒ แปลงเพื่อพระราชทานแก่มหาวิทยาลัย ต่อมา ในวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(รัชกาลปัจจุบัน) เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการก่อสร้างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยทรงวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานอธิการบดีจนกระทั่ง ในวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยได้ย้ายที่ทำการจากวัดมหาธาตุและวัดศรีสุดาราม กรุงเทพมหานคร มายังที่ทำการแห่งใหม่ ณ กิโลเมตรที่ ๕๕ ถนนพหลโยธิน ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในที่สุด วันที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดป้ายหอประชุม มวก ๔๘ พรรษา และเปิดป้ายมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ฯ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้พัฒนาการเรียนการสอนและการบริหารภายในองค์กรให้เขัาสู่ระบบสากลเพื่อผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้พระพุทธศาสนา พัฒนาสังคมและประเทศชาติอย่างมีคุณภาพ “มหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ และสร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม” จำนวนผู้ชม : 1,669 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author วัดลาดปลาเค้าจัดบวชสามเณร-เนกขัมมบารมีปฏิบัติธรรม น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ “ในหลวง” รัชกาลที่ 9 อุทัย มณี ธ.ค. 04, 2022 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 18.00 น.วัดลาดปลาเค้า เขตลาดพร้าว… พระดำรัส “สมเด็จพระสังฆราช” เนื่องใน “วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ” อุทัย มณี ธ.ค. 04, 2021 วันที่ 4 ธ.ค. 64 สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้เผยแผ่พระดำรัสสมเด็จพระสังฆราช… ภาพพิธีประกาศสถาปนา “พระพรหมดิลก” หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ อุทัย มณี มี.ค. 18, 2023 เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2566 ตามที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระบรมราชโองการ… สนช.เตรียมพิจารณาร่าง “พ.ร.บ.พระปริยัติธรรม” อุทัย มณี ธ.ค. 24, 2018 วันนี้ (24 ธ.ค.61) คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ… ธรรมกายจัดงานวันเด็กชมนิทรรศการพุทธ4.0 อุทัย มณี ม.ค. 05, 2019 คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี… “นิพิฏฐ์” เตือน “ทิดสมปอง” ระวังจบไม่สวย แนะหาทนายมือดีแก้ต่างปมที่ดิน อุทัย มณี ก.พ. 13, 2022 วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 ต้องบอกว่ายังร้อนแรงไม่หยุดสำหรับ… ปู่ทองย้อย ซัด!! พุทธไทย “กำลังเพี้ยน” นึกว่า ทำบุญ แค่ “บริจาคเงิน” อุทัย มณี ธ.ค. 16, 2023 วันที่ 16 ธันวาคม 2566 เพจ “ทองย้อย แสงสินชัย” ซึ่งเป็นเฟชบุ๊คส่วนตัวของ… ความขัดแย้ง “วัดบางคลาน” พิสูจน์ฝีมือ “รัฐมนตรี” จากพรรคเพื่อไทย?? อุทัย มณี ก.ย. 20, 2023 “ผู้เขียน” ฟังคำสัมภาษณ์ “คุณพวงเพ็ชร ชุนละเอียด” หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่นว่า… รอลงอาญา 1 ปี ปรับ 8 พัน “อดีตพระพรหมดิลก” อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา อุทัย มณี มี.ค. 05, 2020 รอลงอาญา 1 ปี ปรับ 8 พัน อดีตพระพรหมดิลก อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา… Related Articles From the same category ผู้นำสร้างผู้นำสันติภาพ พึงระวังการบลูลี่สร้างขัดแย้ง วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา… “อลงกรณ์”ชี้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้นหลังศึกซักฟอกเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ยืนยันขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์มีเอกภาพมากที่สุด วันที่ 24 ก.ค. 65 นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคเขียนเฟสบุ๊คส่วนตัววันนี้ว่า… คืบหน้าไกล่เกลี่ยหนี้!! ปลัดมหาดไทย เผยไกล่เกลี่ยแล้ว 25,816 ราย หนี้ลดลง 1,018 ล้านบาท วันที่ 30 มี.ค. 67 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… วธ. เปิดงานการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำศาสนามุสลิมยุคใหม่ ขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรมไทยสู่สันติสุข มีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.00 น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม… กรมการแพทย์เผยเปิดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับพระสงฆ์ วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์…
Leave a Reply