สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ: สุขภาวะชุมชน บนวิถีแห่งธรรม

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562 ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ภายใต้แนวคิด “ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง…สู่การพัฒนาสังคมสุขภาวะ” มี 4 นโยบายสำคัญ “รวมพลังชุมชนต้านมะเร็ง การจัดการเชิงระบบสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง วิถีเพศภาวะ: เสริมพลังสุขภาวะครอบครัว มาตรการทำสังคมไทยไร้แร่ใยหิน” นำสู่การพิจารณา รวมถึงการนำมติสมัชชาฯ ที่ประสบความสำเร็จ(หรือแม้แต่ยังไม่สำเร็จ)มานำเสนอ เพื่อการชื่นชมและหาแนวทางในการพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไป

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 12 นี้ การมีส่วนร่วมจากพระสงฆ์ก็ยังคงมีความต่อเนื่อง ในครั้งนี้เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาสังฆะเพื่อสังคม 4 ภาค ได้จัดเวทีเสวนา “สุขภาวะชุมชน บนวิถีแห่งธรรม: ความร่วมมือและบูรณาการทำงานทุกระดับ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.2562 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดที่ 4 ว่าด้วย “บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม”

ก่อนการเข้าร่วมเวทีเสวนา เครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาสังฆะเพื่อสังคม 4 ภาค ได้จัดการประชุมสรุปบบทเรียนการทำงานโครงการ “วัดปลอดการพนัน” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนเพื่อให้ชุมชนและสังคมเอาตนเองและครอบครัวออกเสียจากอบายมุข สร้างสุขภาวะให้เกิดขึ้น ซึ่งพบว่าต้องต่อสู้กับ “ธุรกิจการพนัน” ซึ่งใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อกระตุ้นความอยากของคนในสังคมที่ขาดภูมิคุ้มกัน กระทั่งคนจำนวนมากต้องตกเป็น “เหยื่อ” ของ “ธุรกิจการพนัน” สิ้นเนื้อประดาตัวกันไปก็มาก รวมถึงต้องประกอบอาชญากรรมก็ไม่น้อย โครงการวัดปลอดการพนันได้เข้าไปกระตุ้นเตือนสังคมให้เกิดสำนึกด้านบวก โดยเริ่มจากการทำวัดให้ปลอดการพนัน โดยเฉพาะในงานบุญพิธีที่สำคัญ ๆ เช่น ไพ่ ไฮโล ถั่ว น้ำเต้าปูปลา มวย ไก่ชน วัวชน หวย รวมถึงรัฐบาล หวยใต้ดิน และอื่น ๆ อีกมากมาย มีการกำหนดกติกาชุมชนร่วมกัน มีการเฝ้าระวัง มีกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเท่าทัน “ธุรกิจการพนัน” และการขับเคลื่อนจาก “วัดปลอดการพนัน” สู่ “ชุมชนปลอดการพนัน” อีกด้วย

บทเรียนด้านปัจจัยความสำเร็จของการทำงาน ประกอบด้วย

• ทำงานด้วย “ใจ”
• … พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ
• เริ่มที่วัด เริ่มที่พระ
• ทำงานบนฐานข้อมูล
• ข้อมูล(พื้นที่)ชุมชน
• ข้อมูลสถานการณ์ปัญหา(การพนัน)ในชุมชน
• ข้อมูล(ต้น)ทุนชุมชน (ภูมิปัญญา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี สื่อบุคคล สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ)
• ข้อมูลภาคีเครือข่าย
• กลไกการทำงาน (หลัก – รอง)
• พื้นที่ – บวร อปต. ปกครอง ประชาคม เยาวชน
• ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค
• ประเทศ (เครือข่าย)
• การสนับสนุนจาก
• เจ้าคณะปกครองสงฆ์
• องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• ภาคีสุขภาพ
• เครือข่ายสังฆะเพื่อสังคม
• นวัตกรรม
• กติกาวัดและชุมชน
• ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่
• การฝึกอาชีพ วิสาหกิจ
• สื่อพื้นบ้าน/สื่อสมัยใหม่เพื่อการลดละเลิกการพนัน สำหรับกลุ่มที่หลากหลาย
• หลักพุทธธรรม
• ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์
• สังคหวัตถุธรรม
• อบายมุข

ส่วนการก้าวเดินระยะต่อไปที่พระสงฆ์นักพัฒนาจะต้องคำนึงเพื่อความสำเร็จ จาก “วัดปลอดการพนัน” สู่ “ชุมชนปลอดการพนัน” น่าจะต้องทบทวนปัจจัย ดังนี้

• ด้านพระสงฆ์นักพัฒนา (คนทำงาน)
• ควรยึดหลัก “เรียนรู้จากการทำงาน”
• ต้องไม่รังเกียจงานหยุมหยิม (เขียนโครงการ ดำเนินโครงการ ประเมินผล ทำรายงาน ทำบัญชี)
• ด้านกระบวนการ
• ควรเน้นกระบวนการศึกษาวิจัย (ตั้งโจทย์ -> แสวงหาคำตอบ) = PAR
• ใช้เครื่องมืออริยสัจสี่ (ค้นหาปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ วางเป้าหมาย หาวิธีการ)
• ใช้เครื่องมือทำงานที่หลากหลาย (บัญชีครัวเรือน รางวัล กองทุนสัจจะสะสมทรัพย์ ฯลฯ)
• ใช้การสื่อสารที่หลากหลาย สำหรับกลุ่มที่แตกต่าง
• พัฒนาสู่หลักสูตรสถานศึกษา
• การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
• ให้มีกติกาชุมชน
• ผลักดันสู่แผนงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• พัฒนาธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่
• พัฒนามติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วย “การพนัน”

เวทีเสวนา “สุขภาวะชุมชน บนวิถีแห่งธรรม: ความร่วมมือและบูรณาการทำงานทุกระดับ” ในสมัชชาสัขภาพแห่งชาติครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอ “บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม” ที่หลากหลายมิติ ภายใต้แนวทางการดำเนินงานตามแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ด้านงาน “สาธารณสงเคราะห์” ที่มีความเข้มข้นตามลำดับ จาก “สงเคราะห์” สู่ “เกื้อกูล” สู่ “พัฒนา” และสู่ “บูรณาการ” การพัฒนาวัดให้เป็นวัดส่งเสริมสุขภาพสู่วัดรอบรู้สุขภาพ การรู้เท่าทัน “ธุรกิจการพนัน” การใช้เครื่องมือ “กองทุนสัจจะสะสมทรัพย์” เป็นต้น

การขยับขับเคลื่อนของ “องค์กรปกครองสงฆ์” โดยใช้ “ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ” ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เห็นสัญญาณบวกสู่เป้าหมาย “พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข” ได้อย่างไม่ยากนัก

ขอบคุณภาพ ข้อมูล และศึกษาเพิ่มเติมที่: ชาธี ภูมิบุญนาค,วชิร คุณาธร

Cr.Phramaha Boonchuay Doojai

Leave a Reply