ส่องการปกครองคณะสงฆ์พม่า : แลคณะสงฆ์ “รามัญนิกาย” ประเทศเมียนมาเป็นประเทศที่คนไทยรู้จักกันดีในฐานะเพื่อนบ้านเรือนเคียง ปัจจุบันประเทศเมียนมามีประชากรทั้งหมดประมาณ 55 ล้านคนมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่าประเทศไทย ประชากรประกอบด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ หลายร้อยเผ่า ประชาชนร้อยละ 87% นับถือพระพุทธศาสนา เป็นประเทศหนึ่งที่พระพุทธศาสนาเข้าถึงชีวิตของประชาชนอย่างฝังลึกทั้งด้านวิถีชีวิต การเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรมประเพณี ตั้งแต่เกิดจนตาย ชาวพุทธในพม่าได้ชื่อว่าเคร่งเครัดในพระพุทธศาสนาและทั้งพระสงฆ์มีบทบาทมากในสังคม คณะสงฆ์ในประเทศเมียนมามี 9 นิกายหลักที่รัฐบาลพม่ารับรอง มีคณะสงฆ์ทั้งหมดประมาณ 600,000 รูป มีวัดกว่า 60,000 วัด (ข้อมูลงานวิจัย พระปลัดระพิน พุทธิสาโร, มัลลิกา ภูมะธน,ดิเรก ด้วงลอย วรพจน์ วิเศษศิริ :พระพุทธศาสนาในประเทศพม่า : นิกาย การปกครอง และสมณศักดิ์) “ผู้เขียน” ขอยกนิกายนิกายหลักมา 3 นิกาย ดังนี้ นิกายสุธัมมา พระสงฆ์ 90% ในประเทศเมียนมา มาจากนิกายนี้ จากสถิติในนิกายนี้ มีพระสงฆ์ประมาณ 500,000 รูป มีวัดประมาณ 56,492 วัด สอง นิกายชะเวจะเย้น มีพระสงฆ์ประมาณ 50,000 รูป มีวัดประมาณ 3,608 วัด (จากการสอบถามพระนิสิตมอญ มจร ข้อมูลนี้น่าจะคลาดเคลื่อน) และ สาม นิกายมหาเย็น หรือ นิกายธัมมยุตติกะ มีวัด 98 วัด มีพระสงฆ์ประมาณ 1,000 รูป (ข้อมูลผู้เขียน) ผู้นำนิกายมหาเย็น หรือ นิกายธัมมยุตติกะ ไปเผยแผ่ ณ ประเทศเมียนมา เป็นชาวมอญเกิดในประเทศไทยที่บ้านคลองครุ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร มีนามเดิมว่า “เย็น” ตอนหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ “พระไตรสรณธัช” บวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค เป็นผู้นำ ธรรมยุติกนิกายไปเผยแผ่ยังวัดมอญ รัฐมอญ ประเทศเมียนมา ซึ่งยุคนั้น เป็นนโยบายของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายในประเทศไทย ที่ต้องการให้รูปแบบการปฎิบัติของคณะสงฆ์ธรรมยุติไปเผยแพร่ในประเทศต่าง ๆ โดยพระมหาเถระคณะธรรมยุต จะเลือกเอาพระภิกษุผู้มีความรู้ ความสามารถ สื่อสารภาษากับคนท้องถิ่นได้ ส่งไปเผยแผ่วัตรปฎิบัติของคณะธรรมยุต ซึ่งในประเทศเมียนมา “มหาเย็น” ในฐานะ “คนมอญ” สื่อสารภาษาได้ อ่านภาษามอญออก จึงถูกส่งไป และมหาเย็นนี่เอง เป็นคนนำแท่นพิมพ์จากประเทศไทยไปพิมพ์หนังสือมอญในประเทศเมียนมาครั้งแรก พร้อมให้มีการเรียนการสอนและจัดสอบด้วยภาษามอญ เมื่อไปถึงรัฐมอญ ซึ่งเป็นดินแดนบรรพบุรุษแล้วท่านมีจิตใจแรงกว่าที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนา หนังสือมอญ และเผยแผ่รูปแบบปฎิบัติแนวทางแบบธรรมยุติกนิกาย ท่านจึงได้สร้างวัดมอญขึ้นที่นั้นถึง 52 วัด หนึ่งในนั้นชื่อว่า “วัดมหาเย็น” ณ หมู่บ้านกะโด เมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญ ประเทศเมียนมา ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการศึกษาของฝ่ายคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายหรือ “นิกายมหาเย็น” ในประเทศเมียนมา บั้นปลายชีวิตของ พระไตรสรณธัช กลับมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2451 ซึ่งนับเป็น เจ้าอาวาสวัดบวรมงคล รูปที่ 7 และเป็นเจ้าอาวาสรูปสุดท้ายในยุครามัญนิกาย ก่อนที่จะถูกยกเลิก กระทั่งในปี พ.ศ. 2459 พระไตรสรณธัช (เย็น พุทฺธวํโส) ท่านได้อาพาธอย่างหนัก และได้ละสังขารลงอย่างสงบ ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุท่านได้ 76 ปี ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรมงคล นาน 8 ปีเศษ เหลือไว้แต่เพียงตำนานรกรากที่ท่านไปฝั่งแนวคิดและรูปแบบธรรมยุติกนิกายไว้ที่เมืองมอญถิ่นบรรพบุรุษของท่านในนาม “นิกายมหาเย็น” หรือคณะสงฆ์ไทยรู้จักในนาม “คณะธรรมยุติกนิกาย” สำหรับการการปกครองของคณะสงฆ์พม่า เป็นระบบสังฆสภมีสังฆนายก เป็นประธาน (ประเทศเมียนมา ไม่มีระบอบกษัตริย์จึงไม่มีสมเด็จพระสังฆราช) พร้อมกับคณะกรรมการอีก 46 รูป แบ่งออกเป็น รองประธาน 6 รูป เลขานุการ 1 รูป และผู้ช่วยเลขานุการ 6 รูป ที่เหลือ 33 รูป เป็นคณะกรรมการ ทุกรูปได้รับคัดเลือกมาจากท้องถิ่น และได้รับการแต่งตั้งจากระทรวงศาสนา ลงนามโดยประธานาธิบดี มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี แต่ละรูปดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 4 สมัย มีการหน้าที่สำคัญ 3 ประการหลัก คือ หนึ่ง กำหนดการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สอง การปกครอง วินิจฉัยพระธรรมวินัย อธิกรณ์ และ สาม การศึกษา ส่วนระบบสมณศักดิ์ของคณะสงฆ์เมียนมา ได้รูปแบบมาจากประเทศศรีลังกาแบ่งออก 3 สายด้วยกัน มี สายวิชาการ สายเผยแผ่ และสายกรรมฐาน “คณะสงฆ์รามัญนิกาย” เป็นติ่งหนึ่งใน “นิกายสุธัมมา” ปัจจุบันมีวัดประมาณ 1,000 กว่าวัด พระมีภิกษุประมาณ 10,000 รูป พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายรามัญนิกาย เล่าว่า ยุคที่รัฐบาลพม่าให้ขึ้นทะเบียนนิกายนั่น ด้วยเหตุผลทางการเมือง รัฐบาลพม่าไม่ให้คณะสงฆ์รามัญนิกายจดทะเบียน ซึ่งปัจจุบันจึงไม่มีคณะสงฆ์รามัญนิกายในทำเทียบ แต่ตามวัดต่าง ๆ ที่เป็นของรามัญนิกาย จะมีนามปรากฏท้ายชื่อวัดอยู่ว่าสังกัด “คณะรามัญนิกาย” คณะสงฆ์รามัญนิกาย แบ่งโครงสร้างออกเป็น 4 ด้าน คือ หนึ่ง ด้านการปกครอง สอง ด้านบาลีศึกษา สาม มหาวิทยาลัยสงฆ์ และ สี่ ด้านการสาธารณสงเคราะห์ “ผู้เขียน” เดินทางไปรัฐมอญ ประเทศเมียนมา หลายครั้งทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ คราวนี้ไปกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือว่าเป็นทางการ “แปลกใจ” มากโขอยู่ เนื่องจากคณะสงฆ์รามัญนิกายมีการพัฒนาขึ้นมา ทั้งรูปแบบการต้อนรับ การดูแลแขกผู้มาเยือน รวมถึงสถานที่จัดงาน รูปแบบการจัดงานที่ค่อนข้างดี มีการเตรียมพร้อมมาก โดยเฉพาะ “กลุ่มยุวสงฆ์รามัญรุ่นใหม่” ซึ่งส่วนใหญ่จบการศึกษามาจากประเทศไทย ศรีลังกา กล้าที่จะแสดงออกมากยิ่งขึ้น ในขณะที่พระผู้ใหญ่ก็เปิดโอกาส สร้างเวทีให้ยุวสงฆ์ ให้มากยิ่งขึ้น ความแตกแยกทางนิกาย “ไม่มี” คือ ทำงานร่วมกันได้มากยิ่งขึ้น แนวคิดและวิธีทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพวกท่านคือ ความเป็นชาติ ในขณะที่พระเถระผู้ใหญ่ระดับผู้บริหารคณะสงฆ์รามัญนิกายจำนวน 10 รูป นับเป็นครั้งแรกที่รวมตัวกัน “ออกทุน” สนับสนุนให้ยุวสงฆ์รุ่นใหม่มาเรียนในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉพาะปีแรก จำนวน 10 ทุน ๆ ละ 35,000 บาท ซึ่งเท่าที่สอบถามพระเถระหล่านี้บอกว่า ปีต่อไปอยู่ที่ว่าพวกเธอเหล่านี้ไปไหวหรือไม่ หากผลเรียนดี ไหวก็จะสนับสนุนต่อไป ส่วน มจร.เอง ไม่ว่าจะเป็น วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มอบทุนระดับปริญญาตรีให้จำนวน 2 ทุนตลอดหลักสูตร คณะมนุษย์ศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน หรือแม้กระทั้งเมื่อ 2 ปีที่แล้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็ “ยกย่อง” เชิดชูเกียรติ ประธานคณะสงฆ์รามัญนิกายประทาน“ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์” ให้ ทำให้ปัจจุบันมีพระภิกษุและฆราวาสมาเรียนที่ มจร มากกว่า 50 รูป/คน จากเดิมเมื่อประมาณ 18 ปีที่แล้วไม่เคยมาเรียนเลยแม้สักรูปเดียว “พระพรหมบัณฑิต” เมื่อเจอหน้าผู้เขียน มักถามถึง “คณะสงฆ์รามัญนิกาย” อยู่เสมอ ทั้งเรื่องความคืบหน้า “MOU” ที่ไปเซ็นร่วมกันไว้ ทั้งสถานการณ์การเป็นอยู่ทั่วไป “ผู้เขียน” หวังลึก ๆ อยู่เสมอว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) หรือ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (มมร) จะเป็นที่พึ่งของคณะสงฆ์ประเทศเพื่อนบ้านได้ ดังรองประธานคณะสงฆ์รามัญนิกายได้พูดไว้ตอนหนึ่งว่า “คณะสงฆ์ไทยตอนนี้ เปรียบเสมือนแสงเทียนที่สว่างไสวแล้ว พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเจริญและมั่นคงแล้ว การที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยที่มีความเจริญและก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ให้เกียรติเดินทางไกลมาเยี่ยมมาเชื่อมสัมพันธ์ มาช่วยเหลือคณะสงฆ์รามัญนิกาย มาสนับสนุน มหาวิทยาลัยรามัญรัฎฐะ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์รามัญนิกายที่พึ่งเกิดใหม่ การจัดระบบการศึกษาที่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอย เหมือนเสมือนพวกท่านมาจุดเทียนส่องแสงสว่างให้กับคณะสงฆ์รามัญนิกาย จึงต้องขอบคุณ ขออนุโมทนาเป็นอย่างมาก คณะสงฆ์รามัญนิกายจะจดจำมิตรไมตรีที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คณะสงฆ์ไทยมอบให้นี้อยู่ในความทรงจำตลอดไป.. จำนวนผู้ชม : 528 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author 8 หน่วยงานจับมือประกาศ ‘ธรรมนูญสุขภาพ ร.ร.พระปริยัติธรรมฯ’ มุ่งเน้น “สามเณร” อุทัย มณี มี.ค. 25, 2023 สช.จับมือหน่วยงานภาคีเครือข่ายรวม 8 องค์กร ร่วมกันประกาศ “ธรรมนูญสุขภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม… “วธ.” มอบประกาศนียบัตรยกย่อง “ดร.มหานิยม” ผู้ส่งเสริมความมั่นคงของพระพุทธศาสนา อุทัย มณี ธ.ค. 25, 2022 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565 ที่วัดศรีสุดาราม แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย… ศาลฏีกาพิพากษาให้ “วัดกัลยาณมิตร” แพ้!! ต้องสร้าง “เจดีย์จอมมารดาแช่ม” ขึ้นใหม่ อุทัย มณี ก.ค. 01, 2023 วันที่ 1 กรกฏาคม 2566 เฟชบุ๊ค กิติบดี ประวิตร ได้โพสต์ขอความเกี่ยวกับการฟ้องร้องเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่าง… กมธ.ศาสนาฯสภาฯยื่นจดหมดเปิดผนึก “สละสมณเพศไม่ได้แปลว่าสึก” ถวายสมเด็จพระสังฆราช อุทัย มณี เม.ย. 29, 2021 วันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2564 ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา… ไม่ถูกเซ็นเซอร์แน่! หากพระร้องไห้แบบมีสติ อุทัย มณี พ.ย. 24, 2018 วันที่ 24 พ.ย.2561 พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก… “ยธ.” น้อมถวายประกาศนียบัตรกิตติมศักดิ์และเข็มวิทยฐานะการบริการงานยุติธรรมระดับสูงแด่ “พระพรหมบัณฑิต” อุทัย มณี ก.ย. 23, 2022 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ที่อุโบสถวัดประยุรวงศาวาส พันตำรวจโท… พช. ร่วมสภาสตรีแห่งชาติฯ จับมือ มรภ.กำแพงเพชร พัฒนา นวัตกรรมทอผ้าด้วยใยจากต้นกล้วยไข่ “สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน” อุทัย มณี พ.ค. 22, 2021 วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน… สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เปิดโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระพันปีหลวง” ณ วัดยางน้อย จังหวัดอุบลราชธานี อุทัย มณี ส.ค. 12, 2023 วันที่ ๑๒ ส.ค. ๖๖ วานนี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม… สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ – คณะสงฆ์จีนนิกาย -ปลัด มท. ร่วมวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง “วัดมังกรธรรมนาวาราชาธิคุณ (วัดเล่งเน่ยยี่ 4)” อุทัย มณี ก.ย. 05, 2024 วันนี้ (5 ก.ย. 67) เวลา 16.09 น. ที่วัดมังกรธรรมนาวาราชาธิคุณ 龍船法恩寺… Related Articles From the same category ประกาศแล้ว!การแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง… อัศจรรย์! กฎ 10 ข้อ เมื่อเราลงมือปฏิบัติ สามารถสัมผัสกับความสุขได้ทันที วันพุธที่ 1 กันยายน 2564 พระมหาณัฐพงษ์ ฐิตปญฺโญ,ดร. ประธานกองทุนบุญนิธิธรรมจารี… วันมหาสงกรานต์!เณรภาคฤดูร้อนแผ่เมตตาโยมป่วยติดเตียง วันที่ 15 เม.ย.2562 พระมงคลรัตโนภาส, ดร. ที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร… “พระสงฆ์” ต้องอ่าน นักวิชาการวิเคราะห์บทบาทคฤหัสถ์สอนธรรม สาเหตุเสื่อมถอยของพระสงฆ์ และ พระสงฆ์ไทยยุคใหม่แบบไหนถูกใจสังคมไทย วันที่ 2 ตุลาคม 2567 มีการเผยแพร่งานบทความทางวิชาการ ของ รองศาสตราจารย์… “มจร-คณะสงฆ์ พศจ. เขตการศึกษา เมืองเพชร” จับมือพัฒนาคุณภาพชีวิตครูเบิกบานทำงานเป็นสุข "มจร-คณะสงฆ์ พศจ. เขตการศึกษา เมืองเพชร" พัฒนาคุณภาพครูให้มีชีวิตเบิกบานทำงานเป็นสุข…
Leave a Reply