ปลัดมท. สั่งการผู้ว่าฯทุกจังหวัด เร่ง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” กลุ่มผู้เปราะบาง พร้อมย้ำ รวมพลังพสกนิกรทุกหมู่เหล่าพร้อมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติในหลวงให้สมพระเกียรติ วันนี้ 5 ก.พ. 67 เวลา 13.20 น. ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมติดตามการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย โดยมี นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมที่ดิน นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ที่ปรึกษาระดับกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้เน้นย้ำผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด ในทุกการประชุม คือ ความเป็นผู้นำต้องมีจิตใจที่เป็นจิตอาสา พร้อมเสียสละ ผู้นำมีส่วนสำคัญในการกระตุ้น เเละปลุกเร้าให้บุคลากรภาครัฐ ลุกขึ้นมา Change for Good สู่การบำบัดทุกข์ บำรุงสุขที่เป็นรูปธรรม กรณีข่าวในโทรทัศน์ที่เรามักเห็นอยู่เสมอ คือ สังคมมักให้ความสนใจข่าวที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ยากไร้ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าทุกพื้นที่ยังคงมีปัญหาเหล่านี้อยู่ เราจึงต้องมีความตื่นตัวในการทำงานในฐานะข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องไม่นิ่งเฉยต่อปัญหาสังคม ต้องทำงานเป็นทีมอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและดึงให้ภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน รวมถึงมีการรายงานความคืบหน้า ปัญหาและอุปสรรคให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อว่า ในปีนี้เป็นปีมหามงคลของพี่น้องคนไทย ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กระทรวงมหาดไทยมีการดำเนินการจัดพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย ซึ่งได้สั่งการให้ทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมการจัดงานพระราชพิธีฯ และจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติให้เป็นไปอย่างสมพระเกียรติ และมีความหมายเป็นที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้ความสำคัญในการดำเนินการจัดงานพระราชพิธีฯ ทั้งการประดับตราสัญลักษณ์ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ส่วนราชการ ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสร้างการรับรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เพื่อทำให้งานพระราชพิธีฯ มีความศักดิ์สิทธิ์ เกิดความภาคภูมิใจ และต้องมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมด้วย พร้อมส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนมีจิตสำนึกที่ดี และรับรู้ถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ และประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยอาจมีการนำเสนอทั้งในรูปแบบนิทรรศการ วิดีทัศน์ ทั้งการจัดกิจกรรมฟื้นฟูแหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำน้ำ เเละคูคลอง การรณรงค์บริจาคโลหิต หรือบริจาคอวัยวะ การช่วยสร้างบ้านให้ผู้ยากไร้ การช่วยตั้งกองทุนการศึกษา การบูรณปฏิสังขรณ์ และกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เป็นการปฏิบัติบูชาและอามิสบูชา ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้มีการขับเคลื่อนมาโดยตลอด ทั้งคลองแม่ข่า จ.เชียงใหม่ บึงสีไฟ จ.พิจิตร บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ คลองเปรมประชากร คูเมืองเดิมรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งกิจกรรมดี ๆ เหล่านี้จะต้องมีการวางระบบ ต้องให้ความสำคัญกับความต่อเนื่อง และการนำทีมที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการมาร่วมกันต่อยอดและเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) “การสร้างหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) คือ การทำให้เกิดความยั่งยืนทั้งที่อยู่อาศัย อาหาร เเละยารักษาโรค ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ส่งเสริมให้ทุกพื้นที่มีการน้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ทำให้พื้นที่มีอาหารที่มีคุณภาพ มีการเลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกผักสวนครัว สมุนไพร และความมั่นคงทางด้านเครื่องนุ่งห่ม การส่งเสริมให้ใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกเพื่อลดโลกร้อน และการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความมั่นคงในทุกเรื่อง ทั้งการใช้ตราสัญลักษณ์ Sustainable Fashion ที่เป็นเครื่องหมายของแฟชั่นยั่งยืน หรือการส่งเสริมผู้ประกอบการผ้าไทย นำลายผ้าพระราชทานของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงพระราชทานลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายชบาปัตตานี” ในการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยที่จังหวัดปัตตานี สิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้กิจกรรมของแต่ละหมู่บ้านเกิดความต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยความเป็นผู้นำ จะเห็นว่าหน้าที่หลักหรืองาน Routine จะถูกส่งต่อไปที่ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และขยายผลต่อไปในพื้นที่ สิ่งเหล่านี้เป็นพลานุภาพของการ Change for Good โดยขอให้ทุกท่านน้อมรำลึกเสมอว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เเละพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงมีพระราชปณิธานในการทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเราในฐานะราชสีห์ผู้ภักดีต่อแผ่นดินต้องช่วยกันผลักดันกิจกรรมเหล่านี้ และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติให้เกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ เพื่อส่งเสริมสถาบันหลักของชาติให้มีความมั่นคง ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณจึงต้องให้ความสำคัญ ผู้นำต้องทำก่อน และทำอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองพระบรมราโชบายให้สำเร็จอย่างยั่งยืน” ปลัด มท. กล่าวเน้นย้ำ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า การสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงมหาดไทยได้มีการขับเคลื่อนโดยให้แต่ละส่วนราชการที่มีภารกิจ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ดังนี้ การบริหารจัดการน้ำ โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำระบบผังภูมิสังคมเพื่อการบริหารจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน (Geo-social Mapping) และประสานสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดให้สื่อสาร และประชาสัมพันธ์การใช้งานระบบ Geo-social Map ซึ่งจะช่วยให้รู้ว่าที่อยู่ของน้ำในพื้นที่ตำบล อำเภอ อยู่ที่เดิมไหม สภาพแบบเดิมไหม หรือมีสิ่งกีดขวาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทุกท่านก็สามารถจัดทำเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติได้ สิ่งเหล่านี้เป็นการแก้ไขในสิ่งผิด สำคัญคือเรื่อง แหล่งน้ำ เพราะน้ำคือชีวิต สอดคล้องกับการขับเคลื่อนวันดินโลก (World Soil Day) ของกระทรวงมหาดไทย ภายใต้เเนวคิด ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน และต่อเนื่องมาที่กรมการพัฒนาชุมชน ได้ร่วมกันน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการในพระราชดำริ 5,151 โครงการมาประยุกต์ใช้ ทั้งการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ โคก หนอง นา การสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน และการส่งเสริมโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการหัตถกรรมในแต่ละพื้นที่ กิจกรรมที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะช่วยลดผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติ ทั้งอุทกภัย ภัยแล้ง ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 หมอกควันและไฟป่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังได้ส่งเสริมให้หมู่บ้านและชุมชนมีระบบการดูแลกัน แบบคุ้ม ป๊อก หย่อมบ้าน ที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความรักใคร่สามัคคี มีภูมิคุ้มกันต่อภัยสังคม และปัญหายาเสพติด ซึ่งภาครัฐมีกลไกที่ส่งเสริมการรวมกลุ่ม อาทิ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นกองทุนต้นแบบที่สมาชิกรับผิดชอบ ควบคู่กับการขยายผลส่งเสริมให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างพี่น้องประชาชนและราชการให้มีความยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมให้ทุกคนมีวัฒนธรรมความปลอดภัย มีการเตรียมพร้อมต่อการรับมือภัยพิบัติ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยได้เน้นย้ำให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีการรณรงค์สื่อสารอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพัฒนาเป็นหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ก็จะช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนดีขึ้น จึงอยากให้ช่วยกันทำเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “กระทรวงมหาดไทยมีการใช้ข้อมูล ThaiQM เป็นเครื่องกำกับการทำงาน จึงขอให้ช่วยกันดูแล ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และพัฒนาการให้ความช่วยเหลือให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้น อีกภารกิจสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด คือ การแก้ไขปัญหาหลวงรุกที่ดินราษฎร ซึ่งหมายถึงพี่น้องประชาชนอยู่อาศัยมาก่อนจะมีกฎหมายอุทยานฯ ป่าสงวน สปก. หรือมีกฎหมายกำหนดให้ที่ดินเป็นของส่วนราชการ พอมีกฎหมายออกมา พี่น้องประชาชนก็กลายเป็นผู้กระทำผิดบุกรุกที่หลวง เช่น ปัญหาที่ จ.กาญจนบุรี เราต้องแก้ไขในสิ่งผิด เพื่อทำให้ชาวบ้านได้สิทธิอันชอบธรรมในที่ของบรรพบุรุษพวกเขา นอกจากนี้ ในบางพื้นที่มีปัญหาเกี่ยวเนื่องกัน คือ บุคคลไร้สัญชาติ การแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ชายขอบ ขอให้มีการรายงานข้อมูลในระบบติดตาม เพื่อจะได้ทราบความคืบหน้า พร้อมกันนี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้มีนโยบายส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม วิชาหน้าที่พลเมือง หลักคุณธรรม จริยธรรม การเป็นจิตอาสา เช่น ลูกเสือยุวกาชาด ควบคู่กับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างถูกต้อง โดยกระทรวงมหาดไทยมีโครงการฝึกอบรมวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยประจำท้องถิ่น (ครู ก) ซึ่งในขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 5 รุ่น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.) 3 ท่าน คือ นายกองเอก ธารณา คชเสนี (ครูป๊อด) นายหมวดตรี น้ำเพ็ชร คชเสนี สัตยารักษ์ (ครูปั๊ม) ดร.ลักษิกา เจริญศรี (ครูป้ายู) โดยคาดว่าโครงการฯ นี้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความภูมิใจในความเป็นไทยมากขึ้น ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นบรรจุหลักสูตรที่เหมาะสมให้มีการเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนประถม – มัธยม อย่างเหมาะสมกับช่วงอายุของเด็ก” ปลัด มท. กล่าวเพิ่มเติม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า การติดตามเร่งรัดเรื่องธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. ที่บริการปล่อยเงินกู้แก่ลูกหนี้ให้ไปใช้หนี้เจ้าหนี้นอกระบบ และคนที่ยังไม่เป็นหนี้แต่ต้องการที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคาร โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านต้องช่วยเหลือให้ธนาคารติดตามการชำระหนี้ได้ นอกจากนี้ ในเรื่องการเเก้ไขปัญหายาเสพติด ขอให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศทำสงครามกับยาเสพติด ขจัดยาเสพติดให้หมดไป ด้วยการช่วยกันปราบปรามอย่างจริงจัง และการสนับสนุนส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน และผลิตภัณฑ์ชุมชน ยกตัวอย่างเช่น จ.สุรินทร์ ได้พัฒนาตลาดออนไลน์ นอกจากนี้หากจังหวัดใดประสบความสำเร็จอยู่แล้วขอให้แจ้งมายังกระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้พี่น้องประชาชนจังหวัดอื่น ๆ ได้รับโอกาสที่ดี และท้ายนี้ขอให้ช่วยกันขับเคลื่อนทำให้ทุกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนประเทศไทยที่ยั่งยืน โดยมีองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทยร่วมเป็นสักขีพยาน ขอให้เอาใจใส่ตามงาน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เราต้องทำให้ต่อเนื่องและยั่งยืน ขอฝากทุกท่านด้วย ขอให้ประสบความสำเร็จในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ประชาชน เป็นที่รักของพี่น้องประชาชน จำนวนผู้ชม : 12,474 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ชาวพุทธต้องมี “นักประสานสิบทิศ” อุทัย มณี ธ.ค. 20, 2021 ช่วงนี้เกิดวิวาทระหว่างคนเคยบวชกับคนกำลังบวช แล้วรู้สึก… ปลัดกห.นำกำลังพลพัฒนาวัดพัฒนาจิตใจเทิดทูนสถาบันฯ อุทัย มณี ก.ค. 23, 2019 วันที่ 23 ก.ค.2562 พลเอกณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในการจัดกิจกรรมพัฒนาวัดพัฒนาจิตใจ… ‘วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มจร’ จัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ อุทัย มณี ส.ค. 19, 2019 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2562 ที่ห้องประชุมปัญญาภรณ์ ชั้น 3 วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี… “พช.”จับมือผอ.ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ พร้อมภาคีเมืองอุบลร่วมขับเคลื่อน “โคกหนองนาโมเดล” อุทัย มณี มิ.ย. 07, 2020 เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2563 ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน จ.อุบลราชธานี… “คนอุบลไม่ทิ้งกัน” รองเจ้าจจ.อุบลราชธานี ระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ อุทัย มณี พ.ค. 28, 2024 วันที่ 28 พ.ค. 76 พระศรีวิสุทธิมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี… “อนุชา” ชู “หมู่บ้านรักษาศีล 5 โมเดล” สร้างความสมานฉันท์สังคมไทย อุทัย มณี ก.ย. 26, 2020 เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 26 ก.ย. 2563 ที่บ้านหนองสังข์ ตำบลหนองสังข์… พระพุทธเจ้ายังเสด็จโปรดให้กำลังใจ ชาวนาประสบภัยน้ำท่วม อุทัย มณี ก.ย. 20, 2019 วันที่ 20 ก.ย.2562 จากเหตุการณ์ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบอุทกภัยที่หนักสุดตอนนี้คือจังหวัดอุบลราชธานี… “อำเภอนาตาล” จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี “โคก หนอง นา พช.” ต้านโควิด-19 อุทัย มณี ส.ค. 26, 2021 วันที่ 26 สิงหาคม 2564 ว่าที่ร้อยตรี ไพฑูรย์ จงจินากูล นายอำเภอนาตาล… กก.มส.ชื่นชม’คปพ.’ปฏิรูปสงฆ์ก้าวหน้า แนะปรับให้สอดรับ 4.0 เชื่อมโยงผ่านสื่อออนไลน์ อุทัย มณี ส.ค. 24, 2019 'พระพรหมบัณฑิต'กรรมการ มส. มอบนโยบาย คปพ. ชื่นชมปฏิรูปสงฆ์ก้าวหน้า… Related Articles From the same category มาถูกทาง! “เพชรวรรต” รับหนุน “ทฤษฎีโคกหนองนาโมเดลแนวพุทธ” เจ้าคณะ”สระบุรี-ลพบุรี” เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2566 เวลา 10.00 น. ที่โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ… พุทธะอิสระฟันธงมีแต่ “นิพพาน”เท่านั้นที่เท่าเทียม นอกนั้นเพ้อฝันลม ๆ แล้ง ๆ วันที่ 23 กันยายน 2564 วันนี้ อดีตพระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย… ในหลวงโปรดเกล้า ฯ เชิญภัตตาหารเพลและสิ่งของถวายแด่พระภิกษุ-สามเณร “ผู้สอบบาลีสนามหลวง” วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว… กมธ.ศาสนาฯสภาฯลงพื้นที่แก้ปัญหาที่พักสงฆ์ โคกปราสาทโคราชถูกร้องสร้างในเขตโบราณสถาน เมื่อวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 คณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม… “ปลัดเก่ง” นำชาวสุรินทร์ ทำบุญใส่บาตร “ตามวิถีธรรม วิถีพุทธ” วันนี้ (8 มิ.ย. 67) เวลา 06.30 น. ที่ลานวัฒนธรรม ตลาดนัดผ้าไหมสุรินทร์…
Leave a Reply