แนวทางขับเคลื่อน “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” วันนี้ (29 ก.พ. 67) เวลา 08.45 น. ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานมอบนโยบายและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ของจังหวัดสงขลา โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นางมณีรัตน์ พรหมเขียว ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสงขลา ดร.ยงยุทธ สุวรรณบุตร ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์นายกเทศมนตรีตำบลแพรกษา หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 16 อำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการหมู่บ้าน พระราชวรเวที เจ้าคณะจังหวัดสงขลา พระครูสุวัฒนาภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา พระสังฆาธิการในพื้นที่จังหวัดสงขลา นายศักดิ์กรียา บิลแสละ ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา นายโมเสส เลิศพฤทธิพร คณะกรรมการสหคริสตจักรแบ๊บติสต์ภาคใต้ และภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดสงขลา กว่า 9,289 คน ร่วมรับฟัง โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นำผู้ร่วมพิธีถวายธูปเทียนแพถวายราชสักการะเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระรูปสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญา แล้วเป็นประธานมอบนโยบายและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ของจังหวัดสงขลา แล้วเยี่ยมชมนิทรรศการขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ของทั้ง 16 อำเภอ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในวันนี้เป็นวันที่สำคัญวันหนึ่งของพี่น้องชาวจังหวัดสงขลา ที่พวกเราทุกคนได้ร่วมกันน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยกลไก 7 ภาคีเครือข่าย หรือหลัก “บวร” อันได้แก่ ภาคราชการ ภาคผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของจังหวัดสงขลา ที่ผู้นำศาสนานับเนื่องแต่ท่านเจ้าคณะจังหวัด ท่านประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และสหคริสตจักรแบ๊บติสต์ ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำร่วมกับภาคราชการ ช่วยกันสังเกตสังกา ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีกับพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ โดยสิ่งที่สำคัญของการสร้างสิ่งที่ดีให้กับสังคมนั้น เราต้องช่วยกันทำ ช่วยกันแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโดยไม่ต้องรอใครสั่ง ลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้ ดังแนวทางการทำงานของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ว่า “สั่งวันนี้เสร็จตั้งแต่เมื่อวาน” เปรียบเทียบง่าย ๆ เหมือนกับการที่อยู่ในบ้าน ถ้าลูกเราเห็นบ้านสกปรก เห็นเสื้อผ้าวางระเกะระกะ ถ้วยจานชามวางอยู่ในครัวยังไม่ได้ล้าง แล้วลูกก็ล้างจาน เก็บเสื้อผ้า ซักผ้า กวาดถูบ้านโดยไม่ต้องสั่ง ก็จะเป็นเรื่องที่ดี สังคมนี้ก็เช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้นในชีวิตการทำงาน ไม่ว่าจะภาคราชการ ภาคธุรกิจ องค์กรการกุศล หรือมหาวิทยาลัย ถ้าพวกเราช่วยกันทำ ช่วยกันดูแลสิ่งที่เป็นสาธารณสมบัติ สาธารณสถาน ก็จะทำให้เกิดสิ่งที่ดี “สังคมไทยคาดหวังว่า “คนมหาดไทย” ภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ที่มีหัวใจอยู่เคียงข้างพี่น้องประชาชน ตลอดจนถึงการดูแลในด้านต่าง ๆ การปกครองตั้งแต่อดีต ทั้งความเชื่อ จารีต ประเพณี และกฎหมาย ไม่ว่าจะกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ กฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างย้ำชัดให้เห็นว่า สังคมให้ความสำคัญกับคำว่า “ผู้นำ” ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ศาสนสถาน ดังนั้น “หัวใจที่สำคัญของผู้นำ” คือ การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ซึ่งผู้นำจะดีได้ไม่ต้องรีรอให้ใครมาบอก แต่เราต้องสะกดจิตตัวเอง ช่วยคิด ช่วยสร้างอุดมการณ์ มีจิตสำนึก ความปรารถนาที่ดีในการจะทำให้เกิดสิ่งดี ๆ แก่ส่วนรวม กล้าแสดงภาวะผู้นำ ชวนคนในสังคมมาช่วยกันทำงานแบบ “ทำทันที (Action Now)” มีใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวของทุกงานอยู่ที่คน ทุกองค์กรต้องมีคนที่มีความปรารถนา มี Passion มี Attitude ที่ดี และตามด้วย Knowledge ต้องท่องไว้ว่า เราจะทำดี เราจะทำดี เราจะทำดี เพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดินเกิดของเรา คือ “ประเทศไทย” เราจะช่วยกันทำให้พี่น้องประชาชนมีความสุข ด้วยการน้อมนำแนวทางตามหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นคือ การทำงานเป็นทีม สร้างทีมให้มีใจเดียวกัน ผ่านหลักการ 4 กระบวนงาน (4 ร) คือ “ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์” เป็นประจำสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง แล้วผู้นำอย่างพวกเราก็จะได้รับความสุขทางใจที่ได้เห็นประชาชนได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เราทำ ได้เห็นรอยยิ้มที่มีความสุข ถ้าเราคิดได้เช่นนี้ผู้นำทั้ง 1,327 หมู่บ้านก็จะได้ขับเคลื่อน “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ให้เกิดผลเป็นจริงเป็นจังเป็นรูปธรรมได้” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่ออีกว่า การทำงานให้ประสบความสำเร็จ พวกเราทุกคน คือ ผู้มีความจงรักภักดี “เราจึงมีเป้าหมายเดียวกัน” เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานที่แน่วแน่ที่อยากให้ความสุขของประชาชนเกิดขึ้นในผืนแผ่นดินนี้ สะท้อนผ่านพระราชดำรัส ความว่า “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” อันเป็นการขยายความพระปฐมบรมราชโองการ “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” โดยมีเป้าหมายการทำงานให้ประสบความสำเร็จนั่นคือ “การแก้ไขในสิ่งผิด” เพื่อทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข โดยอาศัยหลัก “บวร” หรือภาคีเครือข่ายมาขับเคลื่อน และสนองพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการจิตอาสา และโรงเรียนจิตอาสาพระราชทาน ซึ่งเราไม่ได้ต้องการคนในเครื่องแบบ แต่เราต้องการคนที่มีใจเป็นจิตอาสา มี DNA ของการเห็นประโยชน์ส่วนรวม เช่น เดินไปบนถนนสาธารณะ เห็นเศษขยะตกอยู่ก็ช่วยกันเก็บโดยไม่ต้องมีใครบอก หรือมีงานบุญ มีงานศพก็ไม่ต้องจ้างแม่ครัว การช่วยกันดูแลสุขภาพอนามัยเด็กและแม่ในชุมชนจนทำให้เด็กทุกคนมีสุขอนามัยที่ดี เพราะทุกคนมีจิตอาสา ทำให้คนเห็นเรื่องส่วนรวมเป็นเรื่องของตนเอง เพื่อที่จะได้กลับไปเป็นคนไทยในสังคมไทยแบบเดิม คือ มีความเอื้ออาทร มีความรักความสามัคคี มีเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จึงเป็นที่มาของการลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน “76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา” ของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดกับผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย เพื่อแสดงความมุ่งมั่นทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการขับเคลื่อนงานของทุกภาคส่วนในพื้นที่ให้สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ซึ่งได้รับการถอดบทเรียนจากการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระผู้ทรงได้รับการทูลเกล้าถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยเฉพาะข้อที่ 17 การเป็นหุ้นส่วน (Partnership) ซึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ประชาชนต้องมีอาหารการกิน มีที่อยู่อาศัย มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ในยามเจ็บไข้ได้ป่วยได้รับการรักษาทั้งแบบพื้นบ้านและแบบแพทย์สมัยใหม่ มีน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภค มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย มีจิตใจที่สุขสงบ มีศาสนาเป็นที่พึ่ง มีลูกหลานที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด มีสุขภาพอนามัยแข็งแรง หมู่บ้าน/ชุมชนสงบปลอดภัย ไม่มีโจรผู้ร้าย ไม่มียาเสพติด ชีวิตก็จะมีความสุข ด้วยความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic Needs) 6 ประการ คือ “พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น ทำบุญ ทำทาน” ด้วยทีมบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนทุกระดับที่มีความเข้มแข็ง “เพราะคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” คือ เป้าหมายของการทำงานบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนอยู่ที่หมู่บ้าน ได้แก่ 1) นายอำเภอต้องทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน และคณะกรรมการหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน มีความเข้มแข็ง 2) กำกับการทำงานของทีมข้าราชการผู้รับผิดชอบประจำตำบลร่วมกับทีมหมู่บ้านช่วยกันสร้าง “ทีมจิตอาสาในหมู่บ้าน” ด้วยการ Rebrand “ทีมเขตบ้าน กลุ่มบ้าน” ให้เกิดขึ้น และมีกระบวนการ 4 ร่วมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดสิ่งที่ดีในหมู่บ้าน อาทิ การน้อมนำพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” รวมทั้งมีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน จัดตั้งธนาคารขยะ ช่วยเหลือดูแลบ้านของผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนหรือผู้อ่อนแอในชุมชน ดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชนให้ได้รับการบำบัดรักษา ทั้ง รพ.สต. และคนในชุมชนช่วยกันดูแล ลด Demand side ปราบปราม Supply side ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมชุมชน สิ่งเหล่านี้ต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันบ่อย ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่ดีตาม 8 ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPIs) ของ “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” คือ 1) ด้านที่อยู่อาศัย 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร 3) ด้านความสะอาด 4) ด้านความสามัคคี 5) ด้านความร่วมมือ 6) ด้านการปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 7) ด้านความมั่นคงปลอดภัย และ 8) ด้านการมีน้ำสะอาดสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ หากระบบเขตบ้านแข็งแรง หมู่บ้านก็จะแข็งแรง ถ้าทุกหมู่บ้านแข็งแรง ตำบลก็จะแข็งแรง ทุกตำบลแข็งแรง อำเภอก็จะแข็งแรง ทุกอำเภอแข็งแรง จังหวัดก็จะแข็งแรง ทุกจังหวัดแข็งแรงประเทศชาติก็จะแข็งแรง “ทีมของหมู่บ้านต้องมีความเข้มแข็ง” ดูแลบริบท ทำให้หมู่บ้าน ทำให้ครัวเรือนเป็น “ครัวเรือนยั่งยืน” ครัวเรือนที่มีความสุขอย่างยั่งยืน รวมกันก็จะเป็นหมู่บ้านที่มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยมี “ภาคีเครือข่ายภาคผู้นำศาสนา” ลุกขึ้นมายืนเคียงข้างฝ่ายปกครอง โดยกำหนด “พระ อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ผู้นำชาวคริสต์ประจำตำบล ทุกตำบล” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้ายว่า เราทุกคนต้องช่วยกันทำให้ No One Left Behind หรือไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ด้วยการมีทีมงาน ในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ดังที่ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ปูชนียบุคคลของประเทศไทยและชาวสงขลา ได้ยึดถือปฏิบัติและทำเป็นตัวอย่างให้พวกเราเห็น ความสำเร็จที่จะทำให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดสงขลาและประเทศไทยสำเร็จได้ ไม่ใช่แค่ทำเสร็จ ขอให้พวกเราทุกคนช่วยกันขับเคลื่อนผลักดันหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ให้เกิดขึ้น “โดยมีเป้าหมายอยู่ที่พี่น้องประชาชน” เพื่อร่วมกันถวายของขวัญที่ดีที่สุดแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นปฏิบัติบูชา ทำให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข อย่างยั่งยืนตลอดไป จำนวนผู้ชม : 765 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “มจร” ต้อนรับผู้แทนวัด “Shenzhen Hongfa Temple” หารือความร่วมมือ พุทธศาสนาในทะเลจีนใต้ อุทัย มณี พ.ย. 07, 2023 วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 พระราชวัชรสารบัณฑิต รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… มาถูกทาง! “เพชรวรรต” รับหนุน “ทฤษฎีโคกหนองนาโมเดลแนวพุทธ” เจ้าคณะ”สระบุรี-ลพบุรี” อุทัย มณี เม.ย. 29, 2023 เมื่อวันที่ 29 เม.ย.2566 เวลา 10.00 น. ที่โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ… “หมอปลา” บุกสำนัก “หลวงปู่แสง” อายุเกือบ 100 ปี พระเกจิดังยโสธร อ้าง “ลวนลามสาว” อุทัย มณี พ.ค. 11, 2022 วันที่ 11 พ.ค. 65 จากกรณีมีหญิงสาวรายหนึ่ง ร้องเรียนต่อนายจีระพันธ์… “พระกากัน” ปาฐกถาบนเวทีฉลองวันวิสาขบูชาที่ยูเอ็น วอนปลูกฝังกรุณาธรรมกับเยาวชนผ่านระบบการศึกษาไทย อุทัย มณี พ.ค. 13, 2022 วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา… ปลัดมหาดไทยโค้ชชิ่งถอดบทเรียนการบริหารงานเชิงพื้นที่ที่ประสบผลสัมฤทธิ์ (Best Practice) ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ อุทัย มณี ก.ย. 18, 2023 ปลัดมหาดไทยโค้ชชิ่งถอดบทเรียนการบริหารงานเชิงพื้นที่ที่ประสบผลสัมฤทธิ์… วธ. เปิดงานการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำศาสนามุสลิมยุคใหม่ ขับเคลื่อนสังคมพหุวัฒนธรรมไทยสู่สันติสุข มีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐาน อุทัย มณี พ.ย. 26, 2022 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 เวลา 16.00 น. นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม… เหรียญ’สุดเฮง’2559 แห่งเมืองแม่กลองเหรียญเศรษฐีมหาเฮง อุทัย มณี ส.ค. 26, 2019 เมื่อเอ่ยถึงเมืองแม่กลองจะต้องนึกถึงพระเกจิที่แก่กล้า… พช.รวมพลังจิตอาสาปลูกป่าเขาขยาย เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี อุทัย มณี มิ.ย. 06, 2021 วันที่ 5 มิถุนายน 2564 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน… ในหลวงโปรดเกล้าฯ ถวายหนังสือ “จิตตนคร -สัมมาทิฎฐิ” แด่ แม่กองบาลีสนามหลวงและคณะผู้บริหาร อุทัย มณี ส.ค. 05, 2022 วันที่ 5 มิ.ย. 65 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้… Related Articles From the same category “สำนักพุทธฯ” เตือนภัยคณะสงฆ์ถี่!! ระวังถูกแก๊งค์มิจฉาชีพลวง “เลื่อนสมณศักดิ์-รับกิจนิมนต์” วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ด้วยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้รับทราบกรณีกระแสข่าวปรากฎตามสื่อสังคมออนไลน์ว่า… มทร.ธัญบุรีเปิดภาคการศึกษาใหม่! นิมนต์พระ’มจร’รับบบิณฑบาต เมื่อเวลา 06.00น.วันที่ 28 มิ.ย.2562 พระราชวรมุนี,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต… ส.ส.เพื่อไทยอภิปรายแนะ ส่งเสริมปชช.เรียนพุทธทุกระดับชั้น พศ.ควรทำงานเชิงรุก จัดงบฯทำนุบำรุงวัด เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันนี้(6พ.ย.)… สสส.หนุนคณะสงฆ์บุรีรัมย์ จัดตั้งกองบุญ เพื่อสุขภาพพระสงฆ์ คณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคณะสงฆ์ตำบลบ้านแวง ซึ่งได้รับคัดเลือกให้พื้นที่นำร่องระดับตำบล… “มจร”รับบริจาค”กล่องห่วงใย” 100 ชุดบรรจุฟ้าทะลายโจร มอบโยมผู้ยากไร้รอบมหาวิทยาลัย วันที่ 2 สิงหาคม 2564 เวลา 14.00 น. พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)…
Leave a Reply