เพจข่าวสารศาสนาดังตั้งคำถาม..เงินนิตยภัต จะออกปีไหน!!

วันที่ 12 พ.ค. 67  เพจ ข่าวสารพระพุทธศาสนา ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 8.2 หมื่นคน ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความคืบหน้าการจ่ายเงินนิตยภัต (เงินเดือน) ของคณะสงฆ์ว่า “นิตยภัต เจ้าคณะ., เลขานุการเจ้าคณะ., เจ้าอาวาส, พระเปรียญธรรม จะออกปีไหนครับ” ซึ่งมีผู้เข้ามาคอมเมนท์เป็นจำนวนมาก บางพื้นที่ตอบว่าได้แล้ว บางพื้นที่แนะนำให้ไปตามที่สำนักงานพุทธจังหวัด เพราะเอกสารอาจไม่ครบ โดยเฉพาะพระสังฆาธิการหรือผู้ที่ได้รับนิตยภัตใหม่ ขณะที่สำนักงานพระพุทธศาสนาระบุว่า ปีงบฯ 2567 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติตั้งของบประมาณไว้ในส่วนของเงินนิตยภัต ซึ่งรวมในส่วนที่ค้างจ่ายเข้าไปด้วย รวมจำนวน 1,318,729,200 บาท

“Thebuddh” ขอนำคำคอมเมนท์จากแฟนเพจ “ข่าวสารพระพุทธศาสนา” ที่มีความหลากหลาย ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย พร้อมกับคำชี้แจง คำแนะนำ คำอธิบายว่า พระสงฆ์ต้องนำเงินไปทำอะไรบ้าง ดังนี้

อยู่ดีมีแฮง อยู่เย็นเป็นสุข  “เป็น เลข.รจอ.ปลายปี 65 ตอนนี้กลางปี 67 ละยังไม่ได้”

“อาโลโก แสงธรรมแห่งปัญญา” เจ้าอาวาส ก็ยังไม่มีเลยครับ 3-4-5 ปีแล้ว

เอกสุรัตน์ ไทยทวี…”ลดละบ้างก็ดีครับ”

พระมหาอภิชาติ สุนฺทรวาที   “เป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ”

หลวงนันต์พระผู้น้อย รจร. ตั้งมั่นสัจจริงสำนักพุทธในเขตนั้น ๆ บ่อทำงานบ้อน่อ ศรีสะเกษได้แล้วนะครับ เว้นแต่ จร./เลขา ที่แต่งตั้งบ่อทันปีงบประมาณ อดใจรอเด้อข้าน้อย..”

อำนาจ อัจฉริยเมธี  “แค่กองทุนวัดช่วยวัด แต่วัดต่างๆที่ขาดแคลนทุกสิ่งอย่าง ได้ข่าวไหมครับว่ากองทุนนี้ไปช่วย”

Arthit Kheawsonghong  “นิตยภัตได้รับมาทุกเดือนตั้งแต่มกราคม“ จากผู้ที่รับนิตยภัตเหมือนกัน เท่าที่ทราบมีการพัฒนาการจ่ายนิตยภัตแล้ว สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับนิตยภัต อาจจะเป็นเพราะกรอกแบบฟอร์มไม่ครบถ้วน? มีการอัพเดทแบบฟอร์มขอรับนิตยภัตใหม่? เอกสารไม่ถึง สนง.พุทธ? แนะนำว่าลองเช็คความถูกต้องของเอกสารให้ถี่ถ้วน และส่งถึง สนง.พุทธชาติโดยตรง จ่าหน้าซองถึง ผอ.พุทธ (นิตยภัต)..”

และแฟนเพจคนสุดท้าย “บวชเรียนเปรียญธรรม ลาดหลุมแก้ว” ตอบไว้น่าสนใจดังนี้

“เรื่องนิตยภัต ไม่ได้เป็นเรื่องแสดงถึงความโลภมากหรืออยากได้ของเจ้าคณะพระสังฆธิการเลย แต่เป็นการรักษาสิทธิ์อันพึงจะควรมีควรได้เพื้อให้เกิดประโยชน์แก่งานพระพุทธศาสนา เงินปัจจัยในแต่ละตำแหน่งนั้นมิได้มากหรือเพียงพอต่อการทำงานพระศาสนา แต่อย่างน้อยก็ได้เห็นการแสดงออกถึงการดูแลเอาใจใส่ของภาครัฐที่มีต่องานพระพุทธศาสนา อย่าลืมว่าหน่วยงานภาครัฐหลายๆส่วน เสมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า มีการอาศัยกันและกัน หลายครั้งรัฐกับวัด ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน เราต่างเดินไปเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา วัดหลายๆวัดย่อมให้การช่วยเหลือ ร่วมมือ อย่างแข็งขันขยันงาน โดยมิได้หวังผลตอบแทนใดอย่างมากมาย เพียงแค่ปรารถนาหวังให้ประชาชนได้เข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน โดยใช้พื้นที่วัดเป็นศูนย์กลาง เพราะฉะนั้นในฐานะคนทำงาน ยอกตามตรงว่า เงินนิตยภัต มิได้แสดงถึงความโลภหรือความอยากได้ของคนทำงานเลย เป็นเพียงการรักษาสิทธิ์อันชอบธรรม เพื่อให้งบประมาณแผ่นดิน เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่งานพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในทางกลับกัน แต่ละปีพระสังฆธิการจะร่วมกันสละปัจจัยหากจะเรียกเรียกว่าเอาเงินนิตยพัดนั้นแหล่ะมาเป็นปฏิพรย้อนกลับสู่สังคมส่วนรวมอีก คือ 

เดือนมกราคม สละเงินนิตยภัตเดือนแรกของปี เข้ากองทุนวัดช่วยวัด

เดือนเมษายนพระสังฆธิการร่วมบริจาคปัจจัยเข้ากองทุนมูลนิธิโรคเรื้อนโรคเอดส์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

เดือนมิถุนายน บริจาคปัจจัยมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาระดับประถม ระดับมัธยม และระดับอุดมศึกษา

เดือนกรกฎาคม ร่วมบริจาคปัจจัยกองทุนฟื้นฟูบาลี เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสงฆ์และสามเณรที่สอบได้แต่ละปี

เดือนตุลาคม ร่วมทอดผ้าป่ากองทุนเล่าเรียนหลวง และสมทบปัจจัยวันสารทไทย เพื่อการประชุมพระสังฆธิการของระดับจังหวัด

เดือนธันวาคม ร่วมปัจจัยสมทบมูลนิธิสายใจไทย 5 ธันวาคม

รวมรวมแล้วบางวัดก็ร่วมบริจาคหลากหลายแสน บางวัดก็ร่วมบริจาคหลัดหลายล้าน เพื่อคืนสู่สังคมและเป็นการสร้างมหาบารมี..

นี้ยังไม่รวมทางทั้งช่วยเหลือสาธารณะสงเคราะห์ น้ำท่วมไฟไหม้ ความยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียงหรือช่วยดูแลอีกหลายๆเรื่อง ที่คณะสงฆ์มีหัวใจเสียสละ เพราะฉะนั้นขอเป็นกระบอกเสียงหนึ่ง ที่ยืนยันว่าเงินนิตยภัตไม่ใช่การอยากได้ หรือความโลภหรือการยึดติดใดใด แต่สิ่งที่ได้มานั้นเป็นไปเพื่องานศาสนา เพราะพระสงฆ์เองก็มีการช่วยสังคม มากกว่าเงินนิตยภัตที่ได้รวมกันของแต่ละปี..”

ในขณะที่ นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้เปิดข้อมูลไว้เมื่อปลายปี 2566 เกี่ยวกับเงิน “นิตยภัต” พระสงฆ์ไว้ว่า ขณะนี้พศ.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนอัตราเงินนิตยภัตสำหรับพระสงฆ์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน นื่องจากพบว่าตั้งแต่ปี 2555 มีพระสงฆ์ที่มีสิทธิ์ได้รับเงินนิตยภัต 37,713 รูป ได้รับงบประมาณ 1,201,860,000 บาท ปี 2564 มีพระสงฆ์ได้รับนิตยภัต 44,333 รูป ได้รับงบฯ 1,225,572,400 บาท ปี 2565 มีพระสงฆ์ได้รับนิตยภัต 1,233,478,00 บาท และในปี 2566 มีพระสงฆ์ที่มีสิทธิ์ได้รับนิตยภัต 43,676 รูป ได้รับงบฯ 1,233,305,200 บาท ซึ่งจะเห็นว่าจำนวนพระสงฆ์ที่มีสิทธิ์ได้รับนิตยภัตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่งบฯที่ได้รับจะอยู่ที่ประมาณกว่า 1.2 พันล้านบาท มาตั้งแต่ปี 2555 ส่งผลให้ปัจจุบันเกิดการค้างจ่ายนิตยภัตให้พระสงฆ์ถึงจำนวน 3,973 รูป ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องของบฯในส่วนของนิตยภัตเพิ่มขึ้น โดยปีงบฯ 2567 พศ.ตั้งของบฯในส่วนของเงินนิตยภัต ซึ่งรวมในส่วนที่ค้างจ่ายเข้าไปด้วย รวมจำนวน 1,318,729,200 บาท

Leave a Reply