“ราชบัณฑิต” เฉลย “พระพุทธศาสนาอยู่ได้ 5000 ปี “ สูตรนี้มาจากไหน??

วันที่ 22 เมษายน 2568  หลังจากมีคลิปออกมาพูดถึงอายุของพระพุทธศาสนาอยู่ได้ ๕๐๐๐ ปี มี พระภิกษุ นักวิชาการ นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ออกมาเสนอความคิดไปต่าง ๆ นานา  จนเกิดความสับสนในสังคมชาวพุทธว่า ความคิดของใครที่ถูกต้องกันแน่

ศ.พิเศษ ดร.บรรจบ บรรณรุจิ  ราชบัณฑิต ได้เฉลยข้อสงสัยในเฟชบุ๊คส่วนตัวว่า  หลังจากที่ได้ตั้งคำถามว่า ’พระพุทธศาสนาอยู่ได้ ๕๐๐๐ ปี  สูตรนี้มาจากไหน ?“  ก็มีพระคุณเจ้าให้ความเห็นเป็นการเฉลยคำถามมาหลายท่าน มี ๒ ท่านที่น่าสนใจ คือ  ท่านผู้ใช้นามว่า อนันต์นัทธ์  พุทธพงศ์  กับ  ท่านผู้ใช้นามว่า พระก้องภพ ฐิตญาโณ (Kongpop thitanano Bhikkhu)

@ ท่านแรก ท่านอนันต์นัทธ์ ได้ให้ความเห็นว่า “•ข้อความพระดำรัสนี้มีความหมายว่า  ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน  เวลาผ่านไป ๕๐๐ ปี ก็จะไม่มีพระอรหันต์บรรลุปฏิสัมภิทา  แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช  ในระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่  ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์สุกขวิปัสสกอยู่ ,  ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี

ก็ยังมีพระอนาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ,ก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี,ก็ยังมีพระโสดาบันอยู่ สรุปว่า ปฏิเวธสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี แม้ปริยัตติสัทธรรมก็จะดำรงอยู่ได้  ๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน  โดยอ้างอรรถกถาวินัยปิฎก ภาค ๓/๔๐๓/๔๐๐-๔๐๗,  อรรถกถาสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ภาค ๓/๕๑/๒๖๕”

@ ท่านที่สอง ใช้นามว่า พระก้องภพ ให้ความเห็น ไว้ในเพจของท่านว่า

“คำว่า “พระพุทธศาสนาอยู่ได้ ๕๐๐๐ปี” เป็นความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่ชาวพุทธ โดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว พม่า และกัมพูชา

แต่คำทำนายนี้ ไม่ได้ปรากฏตรง ๆ ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับดั้งเดิม  (เช่นของสำนักพิมพ์มหามกุฏฯ หรือสยามรัฐ)

อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้มีที่มาจากคัมภีร์อรรถกถา คัมภีร์อ้างอิง และคัมภีร์พุทธโบราณบางฉบับ ซึ่งตีความหรือขยายจากพระไตรปิฎกในภายหลัง  ที่มาของแนวคิด “พระพุทธศาสนาอยู่ได้ ๕๐๐๐ ปี”:

ถ้าเรามุ่งไปแค่ ๕๐๐๐ ปีเป็นที่สุด ก็เป็นอันได้คำตอบชัดเจนว่า  แนวคิดที่ว่า ‘พระพุทธศาสนาอยู่ได้ ๕๐๐๐ ปี’ มาจากพระอรรถกถาจารย์  สรุปแล้วก็คือ เกิดแนวคิดในยุคพระอรรถกถาจารย์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เพ่งไปที่ื พระพุทธโฆสะ (หรือที่นักเรียนบาลีสายเถรวาทมักเรียกท่านว่า ‘พระพุทธโฆษาจารย์ ‘ ซึ่งสันนิษฐานว่า ท่านมีชีวิตอยู่หลังพระพุทธเจ้านิพพานได้ ๙๐๐ ปีเศษ

คำทำนายนี้ ไม่ได้ปรากฏตรง ๆ ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับดั้งเดิม (เช่นของสำนักพิมพ์มหามกุฏฯ หรือสยามรัฐ)

อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้มีที่มาจากคัมภีร์อรรถกถา คัมภีร์อ้างอิง และคัมภีร์พุทธโบราณบางฉบับ ซึ่งตีความหรือขยายจากพระไตรปิฎกในภายหลัง ที่มาของแนวคิด “พระพุทธศาสนาอยู่ได้ ๕๐๐๐ปี”:

ที่มาของแนวคิด “พระพุทธศาสนาอยู่ได้ ๕๐๐๐ ปี”:

๑.อรรถกถา และคัมภีร์ชั้นหลัง

   – ในอรรถกถา เช่น คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี และ คัมภีร์มหาวงศ์ (ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในลังกา) ได้กล่าวถึงการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาไว้ว่า  “พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ครบ ๕๐๐๐ ปี”  โดยแบ่งเป็นช่วง ๆ เช่น ช่วงพระอรหันต์มาก, ช่วงนักปฏิบัติ, ช่วงนักท่องจำ ฯลฯ   พอพ้น ๕๐๐๐ ปี พระธรรมก็จะค่อย ๆ เสื่อมลง เหลือเพียงเปลือกของศาสนา

๒.พระพุทธพยากรณ์ในคัมภีร์ทำนายยุค

   – มีคัมภีร์ชั้นหลังบางฉบับในฝ่ายเถรวาท เช่น ปฐมสมโพธิ อนาคตวงศ์  เวสสันดรชาดกฉบับคำกลอน, ที่เล่าถึงคำทำนายพระพุทธเจ้าไว้ว่าพระธรรมวินัยของพระองค์จะดำรงอยู่ ๕๐๐๐ ปี ก่อนจะสิ้นสูญ  จากนั้นโลกจะว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา จนกว่าจะมีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่คือ “พระศรีอริยเมตไตรย์”

๓. หลักการตีความแบบเชิงเปรียบเทียบ

   – มีผู้สันนิษฐานว่า “๕๐๐๐ ปี” อาจไม่ได้หมายถึงตัวเลขที่ตายตัว แต่หมายถึง **ระยะเวลาที่ยาวนานมาก**

   – หรือเป็น **สัญลักษณ์ของการเตือนใจ** ให้ชาวพุทธตั้งใจศึกษาปฏิบัติธรรม ไม่ให้พระศาสนาเสื่อมสูญเร็ว

-สรุป:ประเด็น | รายละเอียด

|**มีในพระไตรปิฎกไหม?** | ไม่มีระบุชัดเจนในพระไตรปิฎกบาลี |

|**มาจากไหน?** | คัมภีร์อรรถกถา, คัมภีร์ทำนาย, พระพุทธพยากรณ์ชั้นหลัง |

|**หมายความว่า?** | เป็นคำเตือนให้ชาวพุทธช่วยกันรักษาศาสนาให้ยั่งยืนที่สุด

ซึ่งก่อนหน้านี้ “พระเมธีวัชรบัณฑิต” ผอ.วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) ก็ได้โพสต์แสดงทัศนะในเด็นการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา ๕๐๐๐ ปี ว่า

คำว่า “ศาสนา” ที่หมายถึง “ธรรมวินัย” นั้น อันตรธานที่พระพุทธโฆษาจารย์ผู้ซึ่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่าท่านเป็นพระอริยบุคคลได้ขยายความหมายของคำว่า อันตรธาน ในวินัย จูฬวรรค เล่ม 7 นั้น หากวิเคราะห์บริบทของเนื้อหาดีๆ ท่านหมายถึง “พระวินัย”

ส่วนคำว่า “ศาสนา” ในความหมายของธรรมะ ที่เป็นหลักการ หรือคำสอนนั้น ก็ยังคงมีปรากฏ และรอให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงได้ตลอดเวลา ทั้งพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้ายืนยันในคัมภีร์พระไตรปิฏกในสูตรต่าง ๆ อย่างน้อย ๔ พระสูตร

๑:ธรรมนิยามสูตร

ไม่ว่าตถาคตจะเกิดหรือไม่ก็ตาม ธรรมะก็ยังมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย จะบังเกิดขึ้นก็ตาม จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว

๒:มหาปรินิพพานสูตร

ตราบใดที่พุทธบริษัทยังเจริญในอริยมรรค ตราบนั้นโลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์

๓:ปริหานสูตร

ผู้มีอายุ เพราะสติปัฏฐาน ๔ ประการที่บุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม

๔:มหาสติปัฏฐานสูตร

บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ ปี พึงหวังผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี หรืออย่าว่าแต่จะเจริญสติปัฏฐานใช้ระยะเวลา ๗ ปีเลย แม้เจริญเพียง ๖ ปี ลดลง มาตามลำดับถึง ๗ วัน ก็สามารถบรรลุอรหัตตผล หรืออนาคามิผลได้

ทั้งนี้ วิญญูชนทั้งหลาย ย่อมจักสามารถศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมในบริบทอื่นๆ แล้วเทียบเคียงดูเถิด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้าน ทั้งบาลีและอรรถกถา ส่วนตัวมองเห็นว่า พระสูตรทั้งสามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นั้น ย่อมอำนวยให้ผู้ปฏิบัติทั้งหลายเจริญในธรรมได้ทุกเวลาและนาที..

Leave a Reply