“เจ้าคุณหรรษา” ตอบคำถาม “พระช่วยน้ำท่วม” เหมาะสมหรือไม่??

วันที่ 19 กันยายน 2567 หลังจากมีการเสนอข่าวว่า การที่พระออกมาช่วยเหลือชาวบ้านน้ำท่วม ทำไมคนบางกลุ่มถึงมองว่าไม่เหมาะสมครับก่อให้เกิดดราม่าขึ้นมาในสังคมไทยทันที พระเมธีวัชรบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณหรรษา” ผอ.วิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะเป็นพระนักวิชาการและขับเคลื่อนเรื่อง “สันติวิธี”ในสังคมไทยมานาน ได้ตอบคำถามนี้ว่า

ไม่ว่าจะมองจากมุมไหนพระก็ทิ้งญาติโยมให้จมน้ำมิได้   ตัดความเป็นพระเป็นโยมออกไป ก็คงเหลือไว้แต่ความเป็นมนุษย์ เพื่อนมนุษย์ตกยากลำบาก จะให้พระนั่งเรียนปริยัติ ปฏิบัติกรรมฐาน มองชาวบ้านที่กำลังจมน้ำ จมทุกข์อยู่ในกำแพงวัดหรืออย่างไร!!!

ยิ่งพระอยู่กับชาวบ้าน เป็นลูกหลานชาวบ้าน ชาวบ้านดูแลปากท้องเกื้อหนุนท่าน  เมื่อชาวบ้านประสบอุทกภัย ในเชิงมนุษยธรรม ไม่ว่าจะมองในมุมไหน พระก็ทิ้งโยมไม่ได้ทั้งสิ้น พี่น้องผองไทยกำลังวิกฤต ขอให้ช่วยกันกอบกู้ชีวิตทุกคนที่กำลังลำบาก

หากตีความเจตนารมณ์ตามพุทธประสงค์ตามนัยดังปรากฏในมารกถาที่ว่า เธอทั้งหลาย จงเที่ยวไป เพื่อเกื้อกูลชนหมู่มาก เพื่อความสุขชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกฯ  การยกระดับจิตใจของชาวโลกถือเป็นเป้าหมายหลัก ในแต่เดียวกัน การละเลยและละทิ้งญาติโยมที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก ก็ไม่น่าจะเป็นพุทธประสงค์อย่างแน่นอน  ชาวเน็ตถก ทำไมพระช่วยน้ำท่วม แล้วมีคนบางกลุ่มบอกไม่เหมาะสม?

ขณะที่เฟชบุ๊คกิจของ นายเอนก สนามชัย ได้ตอบคำถามนี้เช่นกันว่ากิจของสงฆ์ ตาม พรบ.คณะสงฆ์ 2505 1.กิจด้านการปกครอง 2.การเผยแผ่พระพุทธศาสนา 3. การศึกษาของคณะสงฆ์ 4 .การศึกษาสงเคราะห์ 5. การศาสนสงเคราะห์ และ 6. สาธารณะสงเคราะห์

กิจทั้ง 6 ประการ ต้องปฏิบัติตั้งแต่ มหาเถรสมาคมและพระสังฆาธิการทุกระดับจนถึงเจ้าอาวาสและพระสงฆ์

ในอดีต วัดเป็นศูนย์กลางชุมชนพระเป็นที่พึ่งให้ชาวบ้านทุกเรื่องตั้งแต่เกิดจนตาย   ตั้งชื่อให้ สอนหนังสือให้ รับบวช สามเณร พระภิกษุ ดูฤกษ์แต่งงานไปสวดพุทธมนต์ในงานแต่งงาน  เจ็บป่วยมียาสมุนไพรรักษาให้  เจ็บป่วยไปสวดให้ตายต่อโลง สวด เผาให้พระเป็นทุกอย่างให้  คนปัจจุุบันไม่รู้คุณค่าของพระแล้ว จึงมาตั้งคำถาม กิจของสงฆ์

Leave a Reply