“เจ้าคณะภาค 6” อธิบายหลักการตั้ง “ฐานานุกรม” หลังเปิดอ่านข้อคิดเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา

วันที่ 29 ตุลาคม 2567 หลังจากเว็บไซต์ข่าว “Thebuddh” ได้เผยแพร่ ความคิดของ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้หารือข้อกฎหมายกรณีการแต่งตั้งฐานานุกรม ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์รัตนโกสินทร์ศก 121 (พ.ศ. 2445) เสนอไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นว่า เป็นการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั่น ผลสรุปข้อคิดเห็นของคณะกรรมการกฤษฎี คือ แต่งตั้งไม่ได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.การปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2445 ถูกยกเลิกไปแล้ว และ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนด เกี่ยวกับการแต่งตั้งฐานานุกรมของพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ไว้ จึงไม่สามารถแต่งตั้งฐานานุกรมโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ รัตนโกสินทร์ศก 121 ได้

กลุ่มไลน์พระสงฆ์มีการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นนี้หลากหลายทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เนื่องจากหลายรูปมองว่าเจ้าคณะปกครองระดับจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ จำเป็นต้องมีลูกมือหรือทีมงานที่เป็น “ฐานานุกรม” ไว้ ในขณะที่หลายรูปเสนอว่า ควร แก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2505 ใหม่ เพื่อให้คงฐานานุกรม พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งปกครองคณะสงฆ์ไว้ ดัง พ.ร.บ.การปกครองคณะสงฆ์ 2445  บางรูปตั้งถามว่า  กรณี ในการแต่งตั้งฐานานุกรมของ พระราชาคณะชั้นสามัญ เอาฐานอำนาจมาจากที่ใด

พระธรรมวชิโรดม เจ้าคณะภาค 6 ได้อธิบายในประเด็นดังกล่าวไว้ว่า

1.พระภิกษุ ยังตั้งฐานานุกรม ตามพระบรมราชโองการได้ปกติ

2.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบ คือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ถามไป (โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยกเรื่องขึ้นปรึกษา มหาเถรสมาคมแล้ว มหาเถรสมาคมท่านให้ พศ. ไปถามกฤษฏีกา) ถามในกรณี “การตั้งฐานนานุกรมของเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ เช่น .. เจ้าคณะอำเภอ.. เจ้าคณะจังหวัด.. เมื่อได้ดำรงตำแหน่งแล้ว ยังมีสิทธิ์ ตั้ง“ฐานานุกรม” ในช่องสิทธิ์ของ จอ./ จจ./ อยู่ไหม..??

“กฤษฏีกา” ตอบว่า “ไม่ได้”  เพราะ  “ฐานานุกรมประเภทนี้”  ถูกยกเลิกไปแล้ว..( ยกเลิก ตาม มาตรา 3 ของ พ.ร.บ. รศ 121 และ พ.ร.บ. 2484…ส่วน “ฐานานุกรม”  ตามพระบรมราชโองการในสัญญาบัตร/ หิรัญบัตร/ สุพรรณบัตร/ ยัง มีอยู่ปกติ

พระธรรมวชิโรดม ได้ อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า  รัฐธรรมนูญ/ พ.ร.บ./ กฎ/ ข้อบังคับ/ ระเบียบ/ คำสั่ง/ มติ/ ประกาศ/  จารีต-ประเพณี/ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช/ สัญญัติสงฆ์/ บาง Case.. ( ย้ำนะครับ ..บาง Case) ก็สงเคราะห์เข้าใน “จารีต-ประเพณี”เช่น การเล่นกีฬาหรือ การชกมวย.. นักมวยต่อยคู่ชกตาย.. ไม่ถือเป็น“ความผิดอาญา”ซึ่งการ“ยินยอม”กันแบบนี้ เรียกว่า“จารีตประเพณี”

กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2บัญญัติว่า “เมื่อไม่มีกฏหมายที่จะยกมาปรับคดีได้..ให้วินิจฉัยตาม”จารีตประเพณี“…. อาจเทียบเคียงตามนี้ .. ครับ..

Leave a Reply