“จน -ไร้โอกาส” จึงต้อง ‘บวช’ วัดจึงเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเด็กอยากเรียน จน ไร้โอกาส จึงต้อง ‘บวช’ เมื่อการศึกษาทางโลกมีค่าใช้จ่าย วัดจึงเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเด็กอยากเรียน ของเด็กอยากเรียน1.02 ล้านคน คือเด็กอายุ 3-18 ปี ที่หลุดออกจากระบบการศึกษาไทยในปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 8.41 ของประชากรในวัยเดียวกันทั้งประเทศ เด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาอยู่ในวัยเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3) กว่า 3.94 แสนคน หรือร้อยละ 38.42 ของจำนวนเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาทั้งหมด มากสุดอยู่ที่กรุงเทพมหานคร 1.3 แสนคน จังหวัดตาก 6.5 หมื่นคน และจังหวัดเชียงใหม่ 3.6 หมื่นคน เหตุผลสูงสุดของการหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กกลุ่มนี้คือ ปัญหาความยากจน (ร้อยละ 46.70) พวกเขาไม่มีทุนทรัพย์สำหรับค่าใช้จ่ายก่อน ระหว่าง และหลังเรียน หลายคนจึงเลือกออกจากการระบบศึกษากลางคัน เพื่อตัดลดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น แม้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้เรียน ความยากจนข้นแค้นก็ยังไม่หายไปไหน ดังนั้นการศึกษาจึงยังจำเป็นอยู่เสมอสำหรับเด็กทุกคน ฉะนั้นโจทย์ของปัญหานี้คือการต้องได้เรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีค่าใช้จ่ายแฝงใดๆ เพิ่มเติมในการเข้าสู่ระบบการศึกษา เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ก็อาจจะต้องตัดทอนให้อยู่ในระดับที่ต้องใช้เงินน้อยที่สุด หรือหากไม่ใช้เลยก็จะเป็นการดี และคำตอบจะเป็นอะไรไม่ได้เลย นอกจากการ ‘บวชเรียน’ เป็นสามเณรในวัด หนึ่งในนั้นคือ สามเณรตะวัน สุวรรณรัตน์ นักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ที่เลือกออกจากระบบการศึกษาภาคสามัญตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาเข้าเรียนต่อโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เขตพระนคร เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวลง “ที่ที่ผมเรียนไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากการค่าเดินทางเป็นหลัก เพราะวัดของผมอยู่ชานเมือง ตัวผมต้องเข้าไปเรียนใจกลางกรุงเทพฯ” ครอบครัวของสามเณรตะวัน ประกอบอาชีพรับจ้างประจำและรับจ้างรายวัน คุณแม่เป็นพนักงานของปั๊มน้ำมัน ส่วนคุณพ่อมีรายได้จากการขับวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งกลุ่มรับจ้างรายวันและงานประจำนับเป็นอาชีพของผู้ปกครองที่เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษากว่าร้อยละ 47.11 และร้อยละ 27.95 ตามลำดับ รายได้จากการเป็นพนักงานประจำจากคุณแม่ ประกอบกับรายได้จากงานไม่ประจำของคุณพ่อ จึงทำให้สามเณรตะวันตัดสินใจบรรพชาเป็นสามเณรจากการชักชวนของพระอาจารย์ระหว่างการบวชภาคฤดูร้อน เนื่องจากมองว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวลงได้ ที่สำคัญคือการได้เรียนโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาทุนทรัพย์ของพ่อแม่ “ผมรู้สึกว่าตัวเองต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อลดภาระของครอบครัวลง เพราะหากผมเรียนทางโลก (ระดับมัธยมปลาย) รายจ่ายของพ่อแม่ก็จะเพิ่มขึ้นอีก และส่วนตัวผมค่อนข้างจะชื่นชอบในการเรียนพระพุทธศาสนาอยู่แล้วจึงมาบวชเรียน” การศึกษาภายในวัด หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘พระปริยัติธรรม’ มีการแบ่งหลักสูตรออกเป็น 2 แผนก แผนกแรกคือ ‘พระปริยัติธรรม แผนกสามัญ’ มีการเรียนในรายวิชาที่คล้ายคลึงกับสถาบันการศึกษาทางโลกในระดับมัธยม เช่น วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา และ ‘แผนกนักธรรมบาลี’ ที่ศึกษาเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้าจากภาษาบาลี ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามแผนกได้ตามประสงค์ “การเรียนพระปริยัติธรรมมีวิชาอื่นๆ นอกจากการเรียนภาษาบาลีด้วย อย่างภาษาไทย สังคม หน้าที่พลเมือง มีไปถึงวิชาการงานอาชีพ แล้วก็พวกวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หลักสูตรเหมือนกับโรงเรียนทางโลกเลย จะมีก็แต่วิชาพลศึกษาที่ยังไม่มีให้เรียน “ถามว่าอยากเรียนไหม หากว่าพลศึกษามันเป็นวิชาพื้นฐานที่ควรจะเรียน ผมก็อยากจะเรียนนะ แต่ส่วนตัวผมมองว่ายังไม่ได้มีความจำเป็นขนาดนั้น” ใน 5 วันของสัปดาห์ สามเณรตะวันจะต้องเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะจากดอนเมือง เข้ามายังเขตพระนคร ให้ทันเวลาเรียนที่จะเริ่มตั้งแต่บ่ายโมงเป็นต้นไปถึง 5 หรือ 6 โมงเย็นในบางวัน ใน 1 วันสามเณรจะมีเรียนใน 4 รายวิชา ส่วนวิชาบาลีนั้นเรียนสัปดาห์ละ 2 ครั้งเท่านั้น การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ที่สามเณรตะวันเรียนอยู่ มีการสอนไม่แตกต่างจากโรงเรียนในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งใช้หลักสูตรแกนกลางเดียวกันกับหลักสูตรทางโลก วุฒิการศึกษาเทียบเท่ากับวุฒิมัธยมศึกษาตอนต้นและวุฒิการศึกษามัธยมตอนปลาย สามารถเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาทั่วไปได้ และทั้งหมดนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ในอีกแง่หนึ่ง นอกจากการศึกษาสำหรับคณะสงฆ์ โดยมีเป้าหมายหลักคือการรักษาคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้ผู้เรียนนำไปปฏิบัติและนำไปเผยแผ่แก่ชาวโลกแล้ว “พระอภิเชษฐ์ สมคำศรี” ผู้อำนวยการส่วนงานบริหาร ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ข้อมูลถึงประโยชน์ของการศึกษาพระปริยัติธรรมว่า การศึกษาในรูปแบบนี้ได้โอบรับเยาวชนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาเข้ามาอยู่ในระบบอีกครั้ง “วัตถุประสงค์ใหญ่ๆ ก็คือ การเอาเยาวชนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษากลับเข้ามาอีกครั้ง เพื่อพัฒนาให้เขาเป็นเยาวชนของชาติต่อไป” การนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษายังมีลักษณะการทำงานแบบเชิงรุก เพื่อให้เข้าถึงเด็กต่างจังหวัดหรือในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงได้ยาก มีโอกาสได้เรียนหนังสืออีกครั้ง โดยการให้สามเณรที่เป็นนิสิตเคยร่ำเรียนพระปริยัติธรรมมาก่อนหน้านี้ ออกไปปฏิบัติศาสนกิจตามถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเอง เพื่อมองหาเยาวชนที่มีปัญหา และดึงกลับเข้าการศึกษาของคณะสงฆ์อีกครั้ง “ทางเถรสมาคมก็มีการทำงานเชิงรุก ทำงานบนที่สูง ลงพื้นที่ไปตามจังหวัดต่างๆ ทั้งภาคอีสาน และในกลุ่มชาติพันธ์ุ และยังมีโอกาสขยายพื้นที่การทำงานไปยังแถบประเทศอาเซียนอย่างลาว พม่า และกัมพูชา เพื่อให้เขามาเข้าสู่ระบบการศึกษาพระปริยัติธรรมของบ้านเราด้วย” อย่างไรก็ดี เมื่อถามถึงเหตุผลของการเข้าสู่การศึกษาพระปริยัติธรรมสำหรับเยาวชนไทยแล้ว พระอภิเชษฐ์ไม่ปฏิเสธว่าเกิดจากปัญหาทางเศรฐกิจและสังคม เด็กหลายคนที่เข้าเรียนเป็นกลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจ จึงขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน ความไม่พร้อมของครอบครัว รวมถึงปัญหายาเสพติด “เราพบว่าเด็กส่วนใหญ่มีปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และครอบครัว ซึ่งไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ปัญหาเหล่านี้ทำให้เขาเข้าสู่ร่มเงากาสาวพัสตร์” “ซึ่งการทำให้เด็กเหล่านี้เข้ามาอยู่ภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา ก็เป็นการบ่มเพาะปัญญา มีการให้ความรัก ความอบอุ่นแก่เขา และอบรมเรื่องของการดำเนินชีวิต เขาก็จะมีการปฏิบัติตัวที่แตกต่างไป” “ส่วนการเรียนพระปริยัติธรรมจะช่วยแก้ปัญหาความขาดแคลนเหล่านี้ได้อย่างไร ก็ต้องบอกว่าสามารถแก้ได้ในระดับที่ดีเลยทีเดียว เพราะปัจจุบันระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ทางด้านพระปริยัติธรรมสามัญ หรือโดยเฉพาะแผนกบาลีเองก็เป็นที่ยอมรับในวุฒิการศึกษา ซึ่งสามารถเรียนจนได้วุฒิที่เทียบเท่ากับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาของสถานศึกษาทางโลก ดังนั้นก็นับว่าการศึกษาทางพระปริยัติธรรมให้โอกาสกับเด็กและเยาวชนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา หรือเปิดโอกาสให้กลุ่มเปราะบางได้เข้ามาบวชเรียน ถือว่าแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้” ทั้งนี้การศึกษาพระปริยัติธรรมก็ยังคงมีปัญหาให้ต้องหาทางพัฒนาต่อ โดยเฉพาะการศึกษาพระปริยัติธรรมในแผนกนักธรรมบาลี ที่เน้นไปในการศึกษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยพระอภิเชษฐ์มองว่า การศึกษาในแผนกดังกล่าวควรมีการเพิ่มหลักสูตรวิชาทั่วไปเข้าไปด้วย เช่น ภาษาอังกฤษ ซึ่งมักเป็นรายวิชาที่ใช้ในการสอบวัดคะแนนเข้าสู่หลักสูตรของคณะต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา “พระอาจารย์มองเห็นว่า ปัญหาของการศึกษาพระปริยัติธรรมคือ การเอาวุฒิไปเทียบสอบความรู้ เช่น คณะอักษรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ก็อาจจะทำให้เราเจอกับปัญหา แต่คณะสงฆ์แผนกนักธรรมบาลีก็พยายามปรับเปลี่ยนอยู่ แต่ก็ยังเป็นรูปธรรมได้ไม่มาก “แต่หากสามเณรมีโอกาสได้ศึกษาเพิ่มเติม ปัญหาจุดนี้ก็อาจจะไม่มี” ที่สำคัญคือการดึงเยาวชนผู้ขาดแคลนการศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษาแบบพระปริยัติธรรมกับการทำงานเชิงรุกที่ได้กล่าวไป อาจทำให้เด็กที่ถูกชักชวนเข้ามาไม่ได้ศึกษาถึงหลักสูตรที่จะเข้าเรียนเบื้องต้นก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหากับเยาวชน เช่น ไม่สามารถเรียนในหลักสูตรนักธรรมบาลีได้ ทั้งนี้การศึกษาแบบพระปริยัติธรรมก็นับเป็นอีกหนึ่งเส้นทาง ที่ช่วยให้เด็ก ‘กลุ่มเปราะบาง’ ยากจน มีโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษา เนื่องจากมีหลักสูตรการเรียนที่สามารถนำไปต่อยอดเข้าสู่ระบบการศึกษาทางโลกได้ ทั้งยังไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน เยาวชนรวมทั้งผู้ปกครองจำนวนมากจึงผลักดันเยาวชนเข้าสู่การศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2565 มีสามเณรบรรพชาในระยะยาวถึง 7.3 หมื่นรูป จากปี 2563 ที่มีอยู่เพียง 3.3 หมื่นรูป ขณะที่แนวโน้มตั้งแต่ปี 2556-2562 ตัวเลขของสามเณรที่บวชในระยะยาวกับลดลงอย่างชัดเจน นอกจากวัดจะเป็นศาสนสถานสำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงกลายเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการกลับเข้าสู่การศึกษาอีกครั้งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกับสามเณรตะวัน เยาวชนที่เปลี่ยนจากระบบการศึกษาทั่วไป สู่การศึกษาใต้ร่มกาสาวพัตร์ ในวันนี้สามเณรได้วางแผนเส้นทางหลังเรียนจบไว้แล้ว “ตอนแรกผมตั้งใจจะเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพราะผมชอบกฎหมาย แต่ก็ชอบเนื้อหาพระพุทธศาสนาแล้วก็ปรัชญาชีวิตด้วย ก็อาจจะเริ่มเรียนในภาควิชาปรัชญาที่วิทยาลัยสงฆ์ ไม่ก็อาจจะเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากนั้นก็จะใช้ชีวิต เริ่มวางแผนว่าจะหางานทำ และมีครอบครัว” สามเณรตะวันทิ้งท้าย ที่มา : https://themomentum.co/ จำนวนผู้ชม : 1,031 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author สมเด็จพระสังฆราชประทานปัจจัย เพื่อฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้ประสบอุทกภัย อุทัย มณี ก.ย. 27, 2019 วันที่ 26 ก.ย.2562 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก… เปิดศึกชิง “รองเจ้าคณะอำเภอ” สงฆ์ศรีสะเกษวุ่น!! อุทัย มณี ก.ย. 16, 2021 วันที่ 16 ก.ย. 64 ปรากฏมีหนังสือคัดค้านการแต่งตั้งรองเจ้าคณะอำเภอเมืองศรีสะเกษ… “โคก หนอง นา อารยเกษตร คือคำตอบ “ความมั่นคงแห่งชีวิต” อุทัย มณี ต.ค. 06, 2024 วันที่ 6 ตุลาคม 2567 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา… กมธ.ศาสนาฯสภาฯถวายความรู้ “ข้อกฎหมาย-ทำบัญชีวัด” พระสังฆาธิการเพชรบุรี อุทัย มณี ก.ย. 24, 2021 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม… พัฒนาการชุมชนร้อยเอ็ดจัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคีปลูกสมุนไพรต้านภัย covid-19″เฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง” อุทัย มณี ส.ค. 11, 2021 วันพุธที่ 11 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. นายสุทัศน์ ชัยเทพ นายอำเภอเชียงขวัญ… “มหานิยม” พรรคเพื่อไทย เดือด!! ถาม “สำนักพุทธ” กำลังทำอะไรอยู่!! อุทัย มณี เม.ย. 27, 2024 วันที่ 27 เมษายน 67 ดร.นิยม เวชกามา อดีต ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย… คณะสงฆ์สุรินทร์ไม่ทิ้งโยม! นำเวชภัณฑ์สิ่งของมอบผู้ประสบอุทกภัยสำโรงทาบ อุทัย มณี ต.ค. 03, 2022 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 พระมหาบุญชอบ อยู่ยืน รองเจ้าคณะอำเภอสำโรงทาบ… ก.วัฒนธรรมจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระราชินี” เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2564 อุทัย มณี พ.ค. 31, 2021 วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม 2564 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม… ปลัด มท. สั่งการผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ผ่านกิจกรรม “ปลูกต้นไม้คู่ชีวิต” โดยให้นักเรียนทุกโรงเรียนในพื้นที่จังหวัด ร่วมปลูกต้นไม้คนละ 1 ต้น อุทัย มณี มิ.ย. 25, 2022 วันที่ 25 มิ.ย. 65 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… Related Articles From the same category “ณพลเดช” วอนรัฐบาลผันงบกลางสู่ภาค SMEs ชี้ช้ากว่านี้ ศก. จ่อทรุดหนัก วันที่ 2 สิงหาคม 2565 ที่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย… เจ้ายอดศึกละทางโลก!บวชในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2562 เพจ Tai Freedom - Shan Version ได้เผยแพร่ภาพพลเอกเจ้ายอดศึก… การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสนับสนุนหมู่บ้านช่อสะอาด สร้างพลังสะอาดสู่ชุมชนท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน เมื่อวันที่ 4 ก.พ.2565 ที่หมู่บ้านช่อสะอาด ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่… “ส.ส.นิยม”ถาม”เจ้าคณะแขวง “ทำไมรีบร้อนปลดเจ้าอาวาสวัดมณฑป” วันที่ 14 สิงหาคม 2564 ดร.นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย… พระราชทานราชทินนามพระธรรมปัญญาบดีวัดมหาธาตุ เป็นชั้นรองสมเด็จฯที่พระพรหมวชิราธิบดี วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา…
Leave a Reply