ตามที่ปรากฎตามสื่อออนไลน์และโซเซียล เปิดเผยเอกสารที่ออกจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยอ้างว่าเป็นหนังสือร้องเรียนผ่านทางระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)
กรณีการบิณฑบาตของพระสงฆ์ที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย เช่น การบิณฑบาตก่อนอรุณ การกลับวัดช้าเกินเวลาที่กำหนด รับบิณฑบาตมากเกินความจำเป็น หรือถ่ายเทอาหารให้บุคคลภายนอก นั่งหรือยืนปักหลักบิณทบาต บริเวณหน้าร้านค้าตลอดจนนำอาหารที่ได้รับมให้ร้านจำหน่ายต่อ รวมทั้งหวังแต่ลาภสักการะ
เมื่อบิณทบาตแล้ว อาหาร ดอกไม้ ธูปเทียนที่ได้ไม่นำกลับวัด ทิ้งไว้ข้างทาง เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่สมณวิสัย ทำให้ผู้ที่ใส่บาตร และผู้ที่พบเห็นเสื่อมความศรัทธา เป็นหตุให้เกิดความเสียหายแก่พระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคมขอเรียนว่า เพื่อเน้นการป้องกันเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว และลดปัญหาข้อร้องเรียน จึงเห็นควรนำเรื่องดังกล่าว เสนอคณะกรรมการมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบและพิจารณากำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ดังนี้
-
การออกบิณฑบาตของพระภิกษุสามเณร จะต้องออกบิณฑบาตเวลาได้รับอรุณ และไม่ควรเกินเวลา 08.00 น.
-
การบิณฑบาตโดยยืนหรือนั่งประจำที่ ตามร้านขายอาหาร หรือบิณทบาตโดยเร่ร่อนไปตามสถานที่ต่างๆ นอกพื้นที่บิณทบาตแห่งวัดตนไม่สมควรกระทำ
-
การบิณทบาต ด้วยการนั่งรับบาตร หรือนั่งในรถรับบาตรไม่สมควรกระทำ
-
สถานที่ที่เป็นแหล่งอโคจร พระภิกษุไม่ควรเข้าไปบิณทบาต
-
การบิณฑบาตไม่ควรสูบบุหรี่ สวมรองเท้า พูดคุยกันโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถ่ายเทอาหาร หรือทิ้งดอกไม้ให้กับเจ้าของร้านอาหาร หรือแย่งกันรับของปัจจัย
-
เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ไม่ควรยถา…สัพพี
ทั้งนี้ให้เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ในทุกระดับ ตลอดจนพระวินยาธิการ คอยตรวจตรา สอดส่องดูแล พระภิกษุสามณรในการบิณบาตให้เป็นไปตามหลักพระธรรมวินัย โดยยึดหลักเสขิยวัตรเป็นเกณฑ์
ตำรวจพระพร้อมลุย
พระวินยาธิการหรือตำรวจพระ เกิดขึ้นภายใต้แผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาด้านปกครอง พ.ศ.2560-2564
คณะสงฆ์ได้ออกกฏหมายว่าด้วยพระวินยาธิการ ชื่อว่าระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยพระวินยาธิการ พ.ศ. 2562”
พระเทพเวที รก.เจ้าคณะภาค 6 หนึ่งในคณะทำงานร่างระเบียบนี้ กล่าวว่า
“พระวินยาธิการ” หรือ “ตำรวจพระ” หมายถึง พระภิกษุชั้นพระสังฆาธิการ (ตั้งแต่ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ขึ้นไป)ที่ได้รับแต่งตั้งให้มาช่วยเหลืองาน ”ด้านปกครอง” คณะสงฆ์
ในกรณี ที่มีความจำเป็น ก็อาจยกเว้น ไม่จำเป็นต้องเป็นชั้น ”พระสังฆาธิการ” คือ อาจแต่งตั้ง ”พระภิกษุทั่วไป” ที่มีความรู้ความสามารถ ก็ได้..
ในการบริหารระเบียบมหาเถรสมาคมฉบับนี้.. กำหนดให้มี ”คณะกรรมการ” 2 ระดับ..
1. กรรมการระดับหน..มีเจ้าคณะหน เป็นประธานกรรมการและมีเลขานุการเจ้าคณะหน เป็นกรรมการและเลขานุการ
2. กรรมการระดับจังหวัด.. มีเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานกรรมการและมีเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ
ในกฏหมายฉบับนี้เช่นกัน.. กำหนดให้มี ”ศูนย์พระวินยาธิการ” หรือ ”สำนักงานพระวินยาธิการ” (Office of Sangha Administrative Assistant) ขึ้นเป็นกิจลักษณะ..
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ) เป็นฝ่ายทำแผนงบประมาณและนำงบประมาณมาส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของ”พระวินยาธิการ”(Sangha Administrative Assistant Officer)
“พระวินยาธิการ”เรียกชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่าหน่วย “SAAO”
อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ “SAAO” ให้บรรจุ แต่งตั้ง ได้ตำบลละ 2 รูป
เจ้าหน้าที่ ”พระวินยาธิการ” หรือ ”SAAO” มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้..
หนึ่ง ออกตรวจตรา/ แนะนำ/ ชี้แจง พระภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติตามกฏหมายคณะสงฆ์และกฏหมายอื่น ๆ ตาม ”แผนปฏิบัติการ ” (Action Plan)ของแต่ละหน่วย)
สอง ให้ ”นำ”และ ”พา” พระภิกษุสามเณรที่ฝ่าฝืนกฏหมาย ไปมอบให้ เจ้าอาวาส -เจ้าคณะผู้ปกครอง-เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง(ปลัดอำเภอฝ่ายปกครอง) หรือตำรวจ (เจ้าพนักงานสอบสวน) แล้วแต่กรณี..ว่าจะเป็นโทษด้านใด..
การลงโทษพระภิกษุที่ระเมิดพระวินัย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ หรือกฎมหาเถรสมาคม มี “โทษ” ตาม พ.ร.บ. สงฆ์ มี 3 ประเภท..
-
ต้องโทษอธิกรณ์(ผิดอาบัติ)
-
ต้องโทษจริยาพระสังฆาธิการ(กรณีเป็นพระสังฆาธิการ)
-
ต้อง โทษทางอาญา (พ.ร.บ.สงฆ์มาตรา 28,29,30..เป็นหน้าที่ฝ่ายสงฆ์และฝ่ายบ้านเมืองพิจารณา/วินิจฉัยร่วมกัน)
3. ถ้า ”นำ” และ ” พา” ไปแล้ว ขัดขืน ”ไม่ยินยอม” ไป.. ให้ขออารักขากำลังจาก พนักงานฝ่ายปกครอง(ปลัดอำเภอฝ่ายปกครอง)หรือ ตำรวจ ได้..
4. “ช่วยเหลือ” เจ้าพนักงาน(พระชั้นปกครอง)- ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองหรือตำรวจ – สืบสวนสอบสวน แล้วแต่กรณี ความผิด..
พระวินยาธิการ หรือ เจ้าหน้าที่ SAAO ต้องมีบัตรและติดบัตร ทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน..
การปฏิบัติหน้าตเองบันทึกเหตุการณ์เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วรายงานเจ้าคณะผู้ปกครองทราบ ทุกกรณี..
การดำเนินงาน ให้ร่วมมือกับ”คณะกรรมการฝ่ายปกครองของจังหวัด(ค ป พฝ่ายปกครองจังหวัด)ขับเคลื่อนงาน สนองงานเจ้าคณะผู้ปกครอง ให้เป็นไปด้วยดี..
ทั้งหมายคือ สาระสำคัญของกฏหมายลำดับรอง ชื่อ”ระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยพระวินยาธิการ พ.ศ. 2562”
+++++++++++++++++++
Leave a Reply