“เจ้าคุณประสาร” ตอกกลับ “สุรพศ” “เจ้าคุณประสาร” หรือ พระราชวัชรสารบัณฑิต ได้ตอบกลับ อ.สุรพศ ทวีศักดิ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้พูดถึง มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ในเชิงทำนองว่าเสียดายภาษี ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ส่งความปรารถนาดีไปถึง อ.สุรพศ ทวีศักดิ์ (นักปรัชญาชายขอบ) “อาตมาได้อ่านบทความโดยละเอียดของอาจารย์ที่เขียนลงในเฟชบุ๊ค โดยผ่านทางสื่อ Thebuddh และ Siampongsnews. ที่ออกเผยแพร่แล้ว อ่านหลายรอบและชั่งใจอยู่นานว่าจะเขียนอะไรถึงอาจารย์บ้างไหม เพราะปกติแล้วเมื่อมีใครกล่าวหรือเขียนอะไรที่พาดพิงมาถึงอาตมาโดยตรง อาตมาไม่เคยที่จะตอบโต้ใดๆเลยไม่ว่าจะเป็นอาจารย์สุรพศ อาจารย์สมฤทธิ์ ลือชัย หรือท่านอื่นๆอีกหลายท่านก็ตาม อาตมาถือคติตามพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า สพฺพตฺถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง แต่คราวนี้จำต้องเขียนถึง จะนิ่งเฉยเหมือนที่ผ่านมาคงไม่ใช่ที่ เพราะอาจารย์เจตนากล่าวพาดพิงถึงสถาบันการศึกษาสงฆ์ในทางเสียหาย ใช้ศัพท์ใช้แสงแรงและถ้าเดาไม่ผิดคำว่า “ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์บางรูป” คงหมายถึงอาตมา “พระราชวัชรสารบัณฑิต” หรือ “เจ้าคุณประสาร” ใช่หรือไม่? ในบทความที่อาจารย์พูดมานั้น อาตมาขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยแยกแยะออกเป็นประเด็น ๆดังนี้ 1.ยุคก่อนมีภูมิปัญญาพุทธ ค่อนข้างที่จะมีบทบาทชี้นำสังคมไทยทั้งที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่ได้รับงบอุดหนุนจากภาครัฐด้วยซ้ำไป และได้ยกบุคคลหลายรูปหลายท่านเป็นแบบอย่าง ในเรื่องนี้นั้นอาจารย์สุรพศ ดูอาจจะมีเจตนาดูหมิ่นดูแคลนมหาวิทยาลัยสงฆ์มากไปหรือไม่ อาตมาอยากถามอาจารย์ว่ามองเช่นนั้นจริงๆ ใช่ใหม ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วอาจารย์เองก็เป็นผลิตผลมาจากระบบการศึกษาสงฆ์และมหาวิทยาลัยสงฆ์จนเป็นตัวเป็นตนมาได้ถึงทุกวันนี้ จึงอยากเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามนี้ก่อน และถ้าหากว่าทัศนะเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็แสดงว่าอาจารย์ได้ละเลย หรือมองไม่เห็นบทบาทที่เป็นรูปธรรมในผลผลิตของมหาวิทยาลัยสงฆ์ มองไม่เห็นเลย เมื่อมีมุมมองเช่นนี้อาจารย์ก็เลยกล่าวหาคลุมและเหวี่ยงแหไปหมดจนแทบไม่มีอะไรที่เรียกว่าเป็นส่วนดีให้สังคมได้เห็นกันบ้างเลย อาตมาจึงจะไม่ขอยกตัวอย่างตัวบุคคลและงาน ทั้งด้านการวิจัย งานวิชาการ พุทธนวัตกรรมและอื่นๆอีกมากมายที่บ่งบอก หรือ เป็นตัวชี้วัดว่าท่านเหล่านี้มีภูมิปัญญาพุทธ และมีบทบาทในสังคมไทยมากน้อยแค่ไหนในเวลานี้ เพราะเมื่อเอ่ยชื่อเสียงเรียงนามไปแล้วไปแล้วท่านเหล่านั้นก็จะถูกจับลงมาในวงสนทนาวงนี้ด้วยเพราะฉะนั้นในชั้นนี้นั้นยังไม่อยากทำเช่นนั้น จึงขอจำกัดวงไว้ก่อน ข้อเท็จจริงแล้วหลายท่าน หลายคนในยุคใหม่ ซึ่งเป็นผลผลิตของมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้ ยืนยันได้ว่ามีมีองค์ความรู้ มีบทบาท มีฐานะที่เป็นพึ่งทางภูมิปัญญาพุทธ ทั้งในระดับหมู่บ้าน ไปจนถึงระดับประเทศ ระดับนานาชาติ เสียดายนะที่อาจารย์มองไม่เห็น ด้วยอาจจะสายตาสั้นไปนิดหนึ่ง 2.ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์ (ซึ่งก็มีแค่ 2 แห่งเท่านั้นคือ มจร กับ มมร) ได้รับงบจากรัฐ และมีวิทยาเขตมากมาย แต่ไม่ปรากฎผลงานภูมิปัญญาพุทธที่สังคมรู้จักเลย ข้อนี้อาจารย์สุรพศ รู้หรือไม่ว่าวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ที่มีอยู่ครอบคลุมทั่วประเทศในเวลานี้นั้นเขา มีพันธกิจทั้งที่เป็นพันธกิจตามกฎหมาย และพันธกิจเฉพาะ อย่างไรบ้าง วิทยาเขตใดที่มีวิสัยทัศน์โดยมีตัวชี้วัดวิสัยทัศน์ ในระดับลุ่มน้ำโขง วิทยาเขตใดมีตัวชี้วัดวิสัยทัศน์ในระดับภูมิภาคอินโดจีน วิทยาลัยสงฆ์ใดมีตัวชี้วัดวิสัยทัศน์ระดับท้องถิ่นและโดยภาพรวม เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานตามแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยแล้ว ผลลัพธ์การทำงานในภาพรวมจะตอบวิสัยทัศน์ในระดับมหาวิทยาลัย และประเด็นสำคัญทุกส่วนงานดังที่ได้กล่าวมาแล้ว “จัดการศึกษาตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาอุดมศึกษาโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีตัวชี้วัดที่บ่งบอกถึงความสำเร็จ อาจารย์เคยดูสิ่งเหล่านี้ใหม ใส่ใจในรายละเอียดพวกนี้หรือไม่ (วันไหนเข้าไปบรรยายลองเดินไปถามเด็กๆที่เขารับผิดชอบงานประกันในมหาวิทยาลัยราชภัฎของอาจารย์ดูก็ได้) และผลผลิตที่เป็นบัณฑิตออกมานั้นสนองตอบอะไร เป็นไปตามยุทธศาสตร์ใดใน5 ยุทธศาสตร์และทั้งหมดนี้จะสามารถเรียกโดยภาพรวมได้ว่าอำนวยประโยชน์ให้กับสังคม ประเทศชาติได้หรือไม่ หรือสนองตอบภูมิปัญญาพุทธในแบบของอาจารย์สุรพศได้ไหม? 3.ไม่มีนักวิชาการที่โดดเด่น ที่มีบทบาทปัญญาชนสาธารณะนำเสนอพุทธธรรมในเชิงก้าวหน้ารวมทั้งโครงสร้างของพระพุทธศาสนากับรัฐที่คนรุ่นใหม่ตั้งคำถามมากขึ้นๆ ในเรื่องนี้เป็นทั้งการเล่นคำและการวัดคนที่จะต้องให้เหมือนกับตน เล่นคำคือหาคำที่สละสลวยมาพูดมาว่าให้ เล่นคำให้เพราะ ให้น่าเชื่อถือ ส่วนคนที่เหมือนกับตนนั้นวัดจากคำว่า นำเสนอพุทธธรรมในเชิงก้าวหน้า เริ่มจากในกระบวนการคิดของอาจารย์สุรพศที่อาจจะบังเอิญไปเหมือนใครบางคน ในบางท่าน อาตมาคิดว่าอาจารย์ก็มีสิทธิคิด มีสิทธิทำ มีสิทธิเหมือนใครได้ไม่ผิดหรอกแต่อย่าด้อยค่าคนอื่น ถ้าคนอื่นคิดและทำไม่เหมือนตนก็ไปด้อยค่าเขา ในทางศาสนา พระพุทธศาสนา และการเมืองนั้นอาจารย์อย่ามองว่า ถ้าแบบนี้(อาจารย์ชอบใช้คำว่าอนุรักษ์นิยม กับ หัวก้าวหน้า)ไม่มีประโยชน์ ด้อยค่า ไม่ส่งเสริมประชาธิปไตย ไม่นำพาความเจริญรุ่งเรือง ต้องคิดก้าวหน้า แท้จริงแล้วทั้งหลักการและวิธีปฎิบัติของอาจารย์นั้นอาตมามองว่าอาจารย์เองก็ยังสับสนกับคำว่า “อนุรักษ์นิยม” “ความคิดก้าวหน้า” “นอกกรอบ” “ก้าวร้าว” “ให้ร้าย” “ความจริง” และ “ข้อเท็จจริง” ลองคิดให้ดีเขาไม่มีความโดดเด่นจริงๆหรือเพราะเขาคิด เขาทำไม่เหมือนเรา ส่วนโครงสร้างพระพุทธศาสนากับรัฐที่คนรุ่นใหม่ตั้งคำถามมากขึ้นๆ นั้น เห็นจะมีแต่อาจารย์กระมังที่พยายามดิ้นรนในการพูด เขียน เสนอแนวคิดและแสวงหาแนวร่วมในทฤษฎี “ศาสนาแยกออกจากรัฐ” แต่ก็น่าเสียดายที่อาจารย์พูดและเจาะจงให้น้ำหนักในเรื่องนี้เฉพาะพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเท่านั้นโดยอาจารย์ละเลยที่จะพูดถึงอีกหลายศาสนาในประเทศไทยหรือถ้าจะพูดถึงก็ดูจะน้อยมาก เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น เพราะอะไร ถ้าลองได้เป็นผู้กล้าแล้วต้องกล้าในทุกสมรภูมิ อย่ายึกๆยักๆแบบกล้าๆกลัวๆ 4. ส่วนข้อที่แดกดันว่าเสียดายภาษีนั้น ทุกข้ออาตมาได้อธิบายมาหมดแล้วจึงบอกได้ว่า “เสียดายได้รับงบน้อยไป” เรามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งอาจจะได้รับงบน้อยไป ไม่เช่นนั้นเราจะทำอะไรได้ไพศาลกว่านี้ ข้อสุดท้ายที่บอกว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์“บางรูป”รวมทั้งเหยียดว่าขาดความรู้ทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ (เข้าใจว่าในเรื่องแนวคิดเชิงอนุรักษ์ เรื่องคบพรรคการเมืองเพื่อออกกฎหมายอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ธนาคารพุทธ เป็นต้น) เพื่อไปถกกับคนรุ่นใหม่นั้น ถ้าตราบใดยังไม่เอ่ยชื่อ แม้จะรู้โดยนัยก็ตามอาตมาก็ยังไม่ขอพูดถึง รอจนกว่าจะเอ่ย และขอยืนยันว่าในชีวิตไม่เคยฟ้องร้องใคร ไม่เคยคิดจะค้าความกับใคร สบายใจได้ เราต้องปฎิสัมพันธ์กันในเชิงวิขาการ ไม่ใช่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ถ้าอยากเอ่ยก็เอ่ยได้จะได้อธิบายความกันอีกต่อไป จริงๆ แล้วอาตมากับอาจารย์นั้นความสัมพันธ์ในวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม เป็นปกติแม้จะมีวิวาทกันในครั้งนี้เป็นยกแรกก็ตาม ยังขอบคุณงานวิจัยอาจารย์ที่ยกอาตมาในหลายๆด้าน ขอบคุณที่แนะนำศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยลีดส์ที่มาทำวิจัยในเมืองไทยให้มาพบ มาสนทนาด้วย แต่ในหัวข้อนี้นั้นเราเห็นต่างกันแน่นอน ต่างกันมากด้วย ส่วนใครจะอนุรักษ์นิยม ใครจะหัวก้าวหน้าก็ว่ากันไปเพราะในครั้งนี้นั้นอาตมาก็พยายามที่จะไม่ให้ถูกชกอยู่ฝ่ายเดียว เดี๋ยวกรรมการก็จะจับแพ้ เพื่อสถาบันสงฆ์ เพื่อมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็จำต้องเดินออกมาจากมุมทั้งที่รู้ว่าจะเปียกปอนแต่ก็ต้องทำทั้งที่ได้บำเพ็ญขันติบารมีมานมนาน จำนวนผู้ชม : 8,260 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ปลัดมหาดไทย เผย UN เตือน จาก “ภาวะโลกร้อน” สู่ “ภาวะโลกเดือด” ทุกคนคือผู้นำ ต้องร่วมกันแก้!! อุทัย มณี ส.ค. 16, 2023 วันที่ 16 ส.ค. 66 เวลา 09.30 น. ที่ห้องแคทลียา 1 โรงแรมรามา การ์เด้นส์… มท.1 ประชุมหารือร่วมสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย และผู้ว่าฯ สระบุรี ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการจังหวัดต้นแบบ “PPP – สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ : เมืองคาร์บอนต่ำ” อุทัย มณี ต.ค. 18, 2023 วันนี้18 ต.ค. 66 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย… กว่า 2 ล้านคนสอบธรรมศึกษา สร้างสังคมอุดมปัญญาวิถีพุทธ อุทัย มณี พ.ย. 29, 2019 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ แม่กองธรรมสนามหลวง เป็นประธานเปิดสอบธรรมศึกษา… 19ก.ย.!ธรรมกายมอบถุงยังชีพช่วยอุทกภัยอุบลฯ 1,000 ชุด อุทัย มณี ก.ย. 20, 2019 วันที่ 19 กันยายน 2562 พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต (ป.ธ.9,ดร.) เจ้าอาวาสวัดป่าอุบลแก้ว… “เจ้าคุณ ว.วชิรเมธี-วู้ดดี้” นำคณะเฝ้า “องค์ทะไล ลามะ” รับพระวรธัมโมวาท “เมตตา คือ จริยธรรมสากลสำหรับคนทั้งโลก” อุทัย มณี พ.ย. 12, 2022 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เพจพระเมธีวชิโรดม - ว.วชิรเมธี… สภาอุตสาหกรรมภาคกลางหนุนโครงการเพชรบุรีฟู้ดวัลเลย์((Petchburi Food Valley) อุทัย มณี พ.ย. 26, 2022 “อลงกรณ์”เดินหน้าผลักดันต่อเล็งดึงการลงทุนจากในประเทศและดูไบ… วาทะเจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี : ‘ผมไม่หนี ถ้าไม่ตายไม่ขอเลิกทำความดี’ อุทัย มณี ม.ค. 18, 2019 จากเหตุการณ์เมื่อ 18 ม.ค.2562 เวลา 20.30 น. คนร้ายจำนวน 10 คน ใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด… “มจร วิทยาเขตนครสวรรค์-สมาคม อบจ.” ร่วม MOU พัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง อุทัย มณี ต.ค. 12, 2022 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 นายบุญชู จันทร์สุวรรณ นายกอบจ.สุพรรณบุรี… ข้าราชการมหาดไทยวัยเกษียณ ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำแปลง “โคก หนอง นา ” สร้างสุขได้อย่างยั่งยืน ปลัด มท.เยี่ยมให้กำลังใจพร้อมชื่นชมพึ่งพาตนเองได้อย่างยอดเยี่ยม อุทัย มณี เม.ย. 19, 2023 วันนี้ 19 เม.ย. 66 เวลา 14.00 น. ที่แปลงโคก หนอง นา กลันทาปันสุข หมู่ที่… Related Articles From the same category พุทธบุตรธรรมยาตรา 1,139 รูป จุดประทีปหมื่นดวง ถวายพระพรชัยมงคลแด่เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566 พระปริยัติวรคุณ เจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง… จังหวัดเชียงใหม่จัดกิจกรรม “จิตอาสาพัฒนาชุมชนเอามื้อสามัคคี” เฉลิมพระเกียรติ ฯ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 น. นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่… “เณรภานุวัฒน์” ชาวบัวใหญ่อายุน้อยสุด สอบป.ธ.8ได้ ป.ธ.9นาคหลวงอยู่แค่เอื้อม วันที่ 12 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่พระพรหมโมลี กรรมการมหาเถรสมาคม… เด้ง! ผอ.สนง.พระพุทธกาฬสินธุ์ เซ่นเรื่องวุ่น “สงฆ์กาฬสินธุ์” วันที่ 15 พ.ย. 64 จากกรณีคณะสงฆ์ จ.กาฬสินธุ์(ธรรมยุต) และศิษยานุศิษย์เคลื่อนไหวคัดค้านมติมหาเถรสมาคมที่มีคำสั่งถอดถอนพระเทพสารเมธี… พ่อเมืองขอนแก่น ขับเคลื่อนการสร้างความมั่นคงทางอาหาร “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ปันสุข” สู่การพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืน วันนี้ (29 ส.ค. 67) นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น…
Leave a Reply