วันที่ 20 ก.พ.2562 เฟซบุ๊ก Phramaha Boonchuay Doojai ได้โพสต์ข้อความว่า ภาวะผู้นำที่เลวร้าย (Bad Leadership)”
ช่วงเวลานี้ประเทศไทยของเรากำลังเข้าสู่โหมดสำคัญเพื่อการนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้า พัฒนาสถาพร หลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมให้พรรคการเมืองเสมอชื่อผู้สมควรเป็น “นายกรัฐมนตรี” ด้วย นั่นหมายความว่า ให้ผู้สมัครได้บอกแก่ประชาชนคนไทย ว่าใครน่าจะเข้ามาทำหน้าที่จะเป็น “ผู้นำ” ในฐานะแห่ง “นายกรัฐมนตรี” ของประเทศนี้ เห็นหน้าเห็นตากันชัดเจนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งการได้ประกาศรายชื่อออกมาแล้ว
ท่ามกลางกระแสแสวงหา “ผู้นำ” ประเทศ ก็เชื่อว่าในหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ ที่มีผู้บริหารพ้นตำแหน่งตาม วาระ ถูกให้ออกด้วยอำนาจพิเศษ (ม. 44 เป็นต้น) หรือไม่ก็อาจเกษียณอายุหรือลาออกก่อนหมดวาระ ด้วยเหตุผลประการต่างๆ ได้มีโอกาสอ่านงาน “Bad Leadership” ของ Babara Kellerman ซึ่งเนื้อหาสาระน่าสนใจยิ่งนัก ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสรรหา “ผู้นำ” ใหม่ โดยมองจากมุมด้านความเลวร้าย ด้วยเหตุผลคือ
เพื่อเตือนให้ “ผู้นำ” ที่เลวร้ายล้มเลิกในการนำไปสู่ทางที่ผิด
เพื่อสอนให้ “ผู้นำ” สอนกันเองแบบผิด ๆ และมีทายาทลูกศิษย์ดำเนินการต่อ
เพื่อให้สังคมอยู่ในภายใต้ “ผู้นำ” ที่ดีอันนำไปสู่สังคมร่มเย็นเป็นสุข (เพราะสังคมรู้ทัน)
สุดท้ายก็คือการที่จะต้องช่วยกันแสวงหา “ผู้นำ” ที่มีความ “BAD” น้อยที่สุด แทนที่จะไปหา “ผู้นำ” ที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกประการ นั่นเอง
Babara Kellerman ได้แบ่งความเลวร้ายของผู้นำไว้ 7 ประการ โดยแบ่งเป็นกลุ่มไร้ประสิทธิภาพ 3 ประการ และขาดศีลธรรม 4 ประการ รวมเป็น 7 ประการ ดังนี้
กลุ่มไร้ประสิทธิภาพ (3) ประกอบด้วย
• ไร้ความสามารถ (Incompetent) – ผู้นำและผู้ร่วมงานบางคนไม่สามารถที่จะทำ หรือสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้
• เข้มงวด (Rigid) – ผู้นำและผู้ร่วมงานบางคนไม่เต็มใจที่จะปรับเปลี่ยนนวัตกรรม ข้อมูลสารสนเทศ หรือไม่ให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงรอบ ๆ ตัว
• เจ้าอารมณ์ (Intemperate) – ผู้นำไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ และผู้ร่วมงานก็ไม่สามารถหยุดได้
กลุ่มขาดศีลธรรม (4) ประกอบด้วย
– ใจร้ายใจดำ (Callous) – ผู้นำและอย่างน้อยผู้ร่วมงานจำนวนหนึ่งมีค่าเฉลี่ย และความต้องการของผู้ร่วมงานส่วนใหญ่จะถูกปฏิเสธ
– ทุจริต (Corrupt)- ผู้นำที่ทุจริตและผู้ร่วมงานเป็นคนชอบโกหก หลอกลวง หรือขี้ขโมย พวกเขาเหล่านั้นต่างมีความเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ ด้วยผลประโยชน์ของตนและสมัครพรรคพวก
– เห็นแก่ตัว (Insular) – ผู้นำและอย่างน้อยผู้ร่วมงานจำนวนหนึ่งปฏิเสธ หรือล้มเหลวที่จะรับรู้การทำลาย การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือการทำร้ายทำลายผู้ที่อยู่นอกกลุ่มของตน
– โหดร้าย (Evil)- ผู้นำและอย่างน้อยผู้ร่วมงานจำนวนหนึ่ง ใช้วิธีการที่ชั่วร้ายในการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจของผู้ร่วมงานด้วยกันหรือบุคคลอื่นอย่างโหดร้ายป่าเถื่อน
Babara Kellerman ยังได้ให้รายละเอียดถึงคุณสมบัติย่อย ๆ ของความเลวร้ายแต่ละประเภทไว้อย่างน่าสนใจ เพื่อประกอบการพิจารณาว่า “ผู้นำ” ที่อยู่ในตำแหน่ง หรือ กำลังจะถูกสรรหา ให้ได้ผู้ที่มีความเลวร้ายน้อยที่สุด เช่น กรณีผู้นำไร้ความสามารถ (Incompetent) มี 3 ประเภท คือ
1) ทำตัวลอยเหนือปัญหา (Floater) ไม่สนใจแก้ปัญหามองปัญหาไม่เป็นปัญหา มองปัญหาเป็นเรื่องของคนอื่น
2) เป็นคนชอบขุ่นเคืองใจ (Resentful man) มองอะไร ๆ ก็ไม่พอใจบ่นออกมา แต่แก้ปัญหาไม่ได้
3) หลงตัวเอง (narcissist) บูชาตัวเองว่าดีที่สุดเก่งที่สุดคนอื่นแย่ขาดการให้คนอื่นมีส่วนร่วม
การศึกษาเรื่อง “ผู้นำที่เลวร้าย” นั้นมีประโยชน์หลายประการยิ่ง
สำหรับผู้นำ – ก็เอาไว้พิจารณาตัวเองว่าตนเองเป็นผู้นำที่ดีหรือเลวและจะยังคงความเลวร้ายต่อไป โดยคิดว่าตนเองทำถูกต้องแล้วหรือจะปรับตัวใหม่ให้เป็นผู้นำที่ดี
สำหรับผู้ร่วมงาน – ก็มีคำถามว่าท่านกำลังจะ ผลักดัน พยุงให้ “ผู้นำ” เป็นคนแย่ เลวร้าย โดยการยุแหย่หรือตอบสนองช่วยกันทำความไม่ดีต่อไป โดยเห็นแก่ความโลภ ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม หรือจะมาทำเพื่อส่วนรวมจะมาปรับปรุงตัวเอง หรือจะช่วยกันเตือนผู้นำแบบไหนดี
สำหรับบุคคลทั่วไป – ก็จะเป็นแนวในการคัดเลือก หรือสรรหา “ผู้นำ”แบบไหนดี ไม่หลงผิดไปกับ “ผู้นำที่เลวร้าย” ว่าเป็น “ผู้นำที่ดี” และเห็น “ผู้นำที่ดี” ว่าเป็น “ผู้นำที่เลวร้าย” นั้นเอง
“ผู้นำ” ไม่มีทางเดินต่อไปได้ หากขาดเสียงสนับสนุนจาก “ผู้ร่วมงานหรือผู้ตาม”
“ผู้ร่วมงานหรือผู้ตาม” จึงมีส่วนสำคัญในการกำหนด “ผู้นำ” จึงจำเป็นต้องมี “ผู้ร่วมงานหรือผู้ตาม” ที่ชาญฉลาด ด้วย
“ผู้นำ” หรือ “ผู้ตาม” ใครสำคัญกว่ากัน
ขอบคุณภาพ ข้อมูล และสามารถอ่านเพิ่มเติมที่ https://news.harvard.edu/…/kellerman-describes-decries-bad…/
http://provenleader.weebly.com/…/fsoechting_lead510_finaldr…
Leave a Reply