แจกซิมแก้จน…คิดได้แต่ล้าหลัง?

SIM cards

@ ช่วงนี้อาจจะมีลามปามไปพูดเรื่องนั้นเรื่องนี้บ้างตามปะสา ตั้งแต่เรื่องเล็กๆไปถึงเรื่องใหญ่ บางเรื่องเรื่องสังคม บางเรื่องก็เป็นเรื่องจริยธรรมความควรไม่ควร

ผมเห็นและอ่านข่าวบ้านเมืองบ้างกีฬาบ้าง ดารา นักร้องบ้างปะปนกันไปเผื่อว่าจะได้เท่าทันสังคมกับเขา ไม่ตกจากกรอบที่สังคมคาดหวังเอาไว้ว่า ผู้รู้ ต้องรู้ในสิ่งที่คนอื่นก็รู้ หากไม่รู้ในสิ่งที่คนอื่นไม่รู้ก็เท่ากับเป็น “ผู้ไม่รู้อยู่เหมือนเดิม”

สมัยนี้ผมว่าการรู้เท่าทันข่าวคราวบ้านเมืองนั้นเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะในหมู่นักเผยแผ่ นักวิชาการที่รักทั้งหลาย ที่จะมามัวอ่านคัมภีร์แนวอนุรักษ์ตีความเชิงรักษาเนื้อความอย่างเดียวคงรักษาฐานความเชื่อของคนรุ่นใหม่เอาไว้ไม่ได้ เพราะพวกเขาจะไม่เข้าใจเรื่องราวที่เรากำลังจะสื่อสารออกไป

ดังนั้น ในฐานะนักวิชาการรุ่นใหม่ๆเลยต้องหัดพูดในร่วมสมัยเข้าไว้ และที่สำคัญต้องรู้จัก “การตีความเรื่องเก่าให้เข้ากับเรื่องใหม่ๆให้ได้”ถ้าไม่รู้จักการตีความล่ะก้อ คงจะมีอาการแบบ “ชกกันคนล่ะมุม” ล่ะ คือต่างคนต่างพูดต่างคนต่างอธิบายสุดท้ายก็คือไม่เข้าใจกัน พอไม่เข้าใจกันเท่านั้นแหละ

ความเชื่อมั่นมันก็จะไม่เกิด ความต้องการที่จะเรียนด้วยอยู่ด้วยมันก็จะไม่มี อาการที่เรียกว่า “อยากเข้าไปนั่งใกล้” มันจึงไม่เกิด ดังนั้น ชาวพุทธที่เป็นนักเผยแผ่ต้องรู้จัก “พูดเรื่องที่ยากให้กลายเป็นเรื่องที่ง่าย เมือนจุดเทียนในห้องมืด เหมือนหงายของที่คว่ำ ” เป็นต้น ประเภทมาแบบพูดคนเดียวเล่าคนเดียวเข้าใจคนเดียวจบเกมส์รับตังค์กลับวัดนี่ล่ะก้อ รับรองไปได้ไม่เกินสามงาน จบเห่…

ดังนั้น นักเผยแผ่ก็ดี นักวิชาการก็ดี ต้องรู้จักการเสพข้อมูลข่าวสารให้ดี พระพุทธเจ้าทรง “ให้รู้จักเลือกสรร คัดสรรข่าวสาร” หรือที่เรียกว่า “ธรรมวิจัย”คือคัดแยกว่าข่าวอะไรควรเสพหรือดูข่าวอะไรไม่ควรดู และข่าวอะไรควรเอามาเล่าต่อได้หรือไม่ได้

แต่เท่าที่เห็นทุกวันนี้นักเผยแผ่เราก็เกินเลยโดยเฉพาะนักเทศน์แหล่แถวภาคกลางหลวงพี่เล่น “ร้องเพลงกลางงาน” เลยก็มีฟังไปฟังมานึกว่าทศพลมาเองเลย คือ ผมเองก็ทราบดีว่าบางเรื่องเป็นวัฒนธรรม แต่เลี่ยงที่จะเอาเพลงของชาวบ้านมาร้องก็ได้ นักแหล่ภาคอีสานก็ใช่ย่อย ร้องไห้เสียงอ่อนเสียงหวาน สะอึกสะอื้น ปริ่มหัวใจจะขาด ฟังไปฟังมาก็นึกไปว่านี่เรากำลังฟังละครคณะเกศทิพย์เมื่อสามสิบปีก่อนอยู่แน่ๆ ประเภทนี้ก็เกินไป คือหาไอ้ที่พอดีไม่ค่อยได้

เรื่องแบบนี้ผมว่าต้องระมัดระวังคนรุ่นใหม่เกิดมาเขาจะซึมซับรับเอาเป็นความเชื่อส่วนตัวว่าพระเณรทำแบบนี้ได้ไม่ผิด ผมว่าควรให้อยู่ในกรอบสำหรับการแสดงออกแบบว่าให้พอดีพองามก็คงจะพอ คือ ถ้าเกินไปเขาก็ว่า ช้าไปเขาก็ไม่ฟัง ดังนั้น ต้องให้พอดีพองาม ถ้าเรามาจบลงตรงคำว่าพอดีพองามนี้ผมว่า มันก็พอฟังได้ไม่มีอะไรเสียหายนัก

แวบมาที่จั่วหัวไว้ว่า “แจกซิมแก้จน คิดได้แต่ล้าหลัง” ข้อนี้ผมไม่ได้ว่าใครแต่มีคนโพสต์ให้อ่าน ผมก็เลยพยายามคิดให้เป็นคุณกับเจ้าของความคิดว่า เออน่ะ เขาคงจะมีเกร็ดอะไรดีๆอยู่บ้างน่ะ แต่เมื่อฟังๆจากผู้เกี่ยวข้องแล้วก็ได้คำอธิบายสั้นๆว่า “แจกซิมให้ประชาชนค้นหาช่องทางทำกินจะได้ไม่จน” อืม ผมว่านะแบบนี้พูดไปก็เท่านั้น เดี๋ยวนี้เรามีนโยบายให้ ปชช.หางานทางเน็ตทางโทรศัพท์แล้วเหรอ ผมว่ามันคิดช้าไปไหมครับ ประชาชนเขาใช้ซิมหางานมาสิบกว่าปีแล้ว จนตอนนี้เขาเบิก ถอน โอนกันทางแอพพลิเคชั่นกันแล้วครับเจ้านาย….พูดมากไม่ได้ครับ มันเจ็บคอ..

ขอบคุณครับ

Cr.FB-Naga King,ภาพจาก http://www.ninethaiphone.com/?p=32133

Leave a Reply