ความยากจนปนมายา

………ประเทศไทยพยายามแก้ปัญหาความยากจน รัฐบาลไม่รู้กี่คณะแล้วที่ผ่านมาก็ยังกำหนดนโยบายแก้ปัญหาความยากจนไม่ได้ ที่ผ่านมารัฐบาลนิยามความยากจนที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน

…….มาถึงรัฐบาลนี้นี้ดูนิยามความยากจนจากเกณฑ์วัด ‘ความจน’ ตามนโยบายรัฐบาล คสช. พบว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม เห็นชอบอนุมัติโครงการประชารัฐสวัสดิการ การช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) โดยผู้ที่จะขอรับสิทธิ์ได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้คือ

 

@ เป็นผู้ว่างงาน หรือ ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี

@ ต้องไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝากธนาคาร, สลากออมสิน, สลาก ธ.ก.ส., พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ หรือมีได้แต่จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 1 แสนบาท

@ ต้องไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือ มีได้แต่ต้องไม่ใหญ่โต คือ ถ้ามีบ้านพร้อมที่ดิน หรือ ทาวน์เฮาส์ ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา ส่วนห้องชุด (คอนโด) ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร

@ ส่วนเกษตรกรที่มีที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่

……ความยากจนของรัฐบาลนี้ค่อนข้างโรแมนติคมาก เพราะนิยามความยากจนจากความไม่พอ ไม่ใช่ความไม่มี และใช้นโยบายแจกเงินเพื่อสนองความไม่พอ ไม่ใช่แก้ความไม่มี เป็นการแก้ปัญหาความยากจนแบบมาม่า ไวไว นโยบายจานด่วนสร้างความนิยมเฉพาะหน้า ตอกย้ำให้คนจน ต้องจนทั้งตัวและจนทั้งใจ ฝรั่งมาอยู่เมืองไทยมีที่แค่ผืนหนังยังสร้างสรรค์จนกลายเป็นแผ่นดินทองได้ ก็รัฐทำไมไม่เริ่มที่ให้คนมีที่ทำกินเพื่อเลี้ยงตัวให้ได้ก่อน สร้างความรู้ให้คนสามารถเลี้ยงตัวเองได้จากผืนดินที่มี แปลงที่นายทุนมาเป็นที่คนจนทำไมไม่ทำ คนไทยว่างงานแต่ตลาดแรงงานว่างคน ต่างชาติครองสัดส่วนแรงงานมากกว่าคนไทย เพราะระบบการจัดการมันพิกลพิการ เริ่มต้นแก้ความยากจนที่ระบบโครงสร้าง กล่าวคือ กฎหมาย ระบบราชการ ระบบสวัสดิการ ที่มันพิกลพิการก่อนดีมั้ย

 

……นโยบายแก้ปัญหาความยากจนของรัฐ อย่าพยายามทำคนจนตัวให้กลายเป็นคนจนใจ แต่ต้องสร้างความเป็นธรรมเชิงโครงสร้างที่ส่งเสริมให้คนจนเป็น “จนแต่ต่อสู้” <เพื่อให้เขาจนตัวแต่รวยโอกาส> แบบนี้จะแก้ปัญหาความยากจนได้ยั่งยืน

Cr.FB-Boonlert Chuaythanee

Leave a Reply