ใครคือ ..คนจน ในมุมมองของพระพุทธศาสนา ?

@ ช่วงนี้ประชาชนรากหญ้าถูกตีตราว่าเป็น “คนจน” กันมาเกือบ ๔ ปีแล้ว เป็นการตีตราที่ทำกันเป็นนโยบายทีเดียวว่า “นโยบายเพื่อคนจน” มีการแจกบัตรคนจน แจกที่ดินคนจน เลยทำให้ช่วงนี้บรรดาข้าราขการเกษียรทั้งหลายเลยพาแห่กันมาสมัครเป็น “คนจน”เป็นเป็นแถว ส่วนตาสียายสาตามายายมีที่อยู่ไกล แม้จะจนจริงแต่ก็ไม่ได้ถูกนิยามให้เป็นคนจน อดได้เงิน ๕๐๐ บาทไปหลายครอบครัว อันนี้ถือว่าเป็นอีกส่วนหนึ่งของมิติทางสังคมบ้านเราตอนนี้

ส่วนอีกฟากหนึ่งเป็นฟาก “อภิมหารวย”ที่คนรวยทั้งหลายพากัน “แสดงออกซึ่งความรวยกันอย่างออกหน้าออกตา แบบไม่ค่อยอายใคร โดยการออกมาประกาศขาย “โต๊ะจีน” โต๊ะล่ะ ๓ ล้านบาทจำนวน ๒๐๐ โต๊ะ ถ้าขายหมดจะได้ทั้งหมด ๖๐๐ ล้านบาท แบบนี้ถ้ารวยไม่จริงคงซื้อไม่ได้หรือไม่ได้กินเป็นแน่

ประเทศเรามันเหลื่อมล้ำกันแบบนี้เองนะครับฟากหนึ่งเข้าคิวกดเงิน ๕๐๐ จนต้องมีเรื่องตบตีกันจนหัวร้างข้างแตก เพื่อแย่งคิวกดเงิน ๕๐๐ แหม..อนาถแท้ แต่อีกฟากหนึ่งแย่งกันซื้อโต๊ะจีนโต๊ะล่ะ ๓ ล้านบาทจนไม่มีขายเต็มเอี๊ยด…นี่หรือที่เขาเรียกว่า “ความเหลื่อมล้ำ”ในสังคมบ้านเรา ตัวอย่างมันชัดเจนถึงเพียงนี้แล้วเราจะต้องมาอธิบายอะไรกันอีกนักหนา

เมื่อ ๑๐ ว่าปีก่อน ยางโลล่ะ ๑๐๐ คนอีสานกลายมาเป็นเศรษฐีกันชั่วข้ามคืน มีรถกะบะขี่กันไม่เว้นแต่ละที่จะถนนไปอีสานเต็มไปด้วยรถนานาชนิดหรือหลากยี่ห้อ ประเภทที่ว่าไม่เคยมีแบบนี้มาก่อน เพราะเดิมทีสายอีสานมีแต่รถทัวร์วิ่งกันให้ควั่ก แต่เดี๋ยวนี้เหรือครับ เก๋ง กะบะครองถนนมิตรภาพไปหมดแล้ว แต่ต่อมาไม่นานเปลี่ยนรัฐบาลปั๊บยางเหลือโลล่ะ ๑๖ บาทหรือมากสุดแค่สามโลร้อย แหม..มีเศรษฐีตกสวรรค์กันเป็นแถบ แต่กิจการที่รุ่งเรืองสุดขีดก็คือ “เต้นท์รถมืองสอง” มีรถเข้ามาจอดจนล้น ไม่เชื่อไปดูกัน

พอมาถึงรัฐบาลนี้ “ความจน” มันเฟื่องฟูกันเหลือเกินครับ ขนาดว่านำเอาความจนและคนจนมาเป็นนโยบายขจัดความจน ดีหน่อยที่ไม่มีนโยบาย “ขจัดคนจน”ไม่งั้นคงแย่ไปตามๆกัน และมีเคมเปญออกมาอีกว่า “อีก ๒๐ ปีความจนจะหมดไปจากประเทศไทย” ทำไมต้องรออีก ๒๐ ปีเล่าครับ เอาสัก ๕ ปีก็พอแล้วมั้งสำหรับคนทำงาน

เอาล่ะเรื่องคนจนในเชิงการเมืองเอาไว้ก่อนเรามาคุยกันถึงเรื่อง “คนจนในพระไตรปิฎก”ดีกว่าว่าในพระไตรปิฎกมีคนจนไหม และคนจนที่ว่านั้นมันเป็นคนจนและความจนอะไร เรามาตามดูกัน

@ คนจนในพระไตรปิฎก ?

สำหรับคำว่า คนจนในพระไตรปิฎก ตรงกับภาษาบาลีว่า “ทะลิททะ” หมายถึงคนจนเข็ญใจไม่มีทรัพย์ ดังคำว่า เราคนจนจะได้ดอกไม้และเครื่องประดับจากไหนกัน (วิ.ม.(ไทย)๕/๒๗๑/๖๕) หรือไม่มีฐานะมีแต่ความยากลำบากต้องขอทานหรือไปรับจ้างผู้มทรัพย์เพื่อหารายได้มาประทังชีวิต อันนี้เรียกว่าคนจน ดังปรากฏในคำอธิบายของพระพุทธองค์ว่า

“อุทายี คนยากไร้ ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็นของตนจัดเป็นคนจน ไม่ใช่คนมั่งคั่งเลย เขามีเรือนเล็กๆ หลังหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องมุงและเครื่องประกอบอื่นๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน มีแคร่อันหนึ่งก็ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ มีข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี มีภรรยาคนหนึ่งก็ไม่สวย”(ม.ม.(ไทย)๑๓/๑๕๒/๑๖๙)

ในอินเดียสมัยพุทธกาล คนจนโดยมากเมื่อไม่มีเงินก็จะไปกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อทำงานหรือปะทังชีวิต ซึ่งการกู้หนี้ยืมสินมานี้ก็ก่อให้เกิดความทุกข์ ซึ่งความทุกข์ดังว่านี้ถือว่าเป็นความทุกข์ของ “คนจน” ดังปรากฏในพระพุทธพจน์ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้หนี้…ครั้นกู้หนี้แล้ว ย่อมใช้ดอกเบี้ย…ครั้นใช้ดอกเบี้ยแล้ว ไม่ให้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา พวกเจ้าหนี้ย่อมตามทวงเขา..เมื่อถูกเจ้าหนี้ทวง ยังไม่ให้ พวกเจ้าหนี้ย่อมติดตาม…ถูกเจ้าหนี้ติดตามทัน ยังไม่ทันให้พวกเจ้าหนี้ย่อมจองจำเขา..”(อง.ปัญจก-ฉกก.(ไทย)๒๒/๔๕/๕๐๗)

จะเห็นได้ว่าคนจนในพระไตรปิฎกนั้นหมายถึงคนที่ไม่มีทรัพย์สิน มีฐานะยากจนต้องไปกู้หนี้ยืมสินเขามาใช้ เมื่อกู้มาก็ต้องใช้เมื่อไม่มีใช้ก็ต้องถูกทวง เมื่อไม่ให้ก็ถุกจับ นี่เป็นธรรมดาของกระบวนการมีหนี้ การทวงหนี้และการถูกจับขัง ซึ่งเป็นวงจรชีวิตของคนจนในสมัยพุทธกาล ซึ่งหากพิจารณาเทียบเคียงกับสมัยปัจจุบันนี้ก็คงไม่แตกต่างกันมากนัก

@ การแก้ไจปัญหา “คนจน”ในมุมมองของพระพุทธศาสนา ?

พระพุทธองค์ทรงทราบว่าการเกิดเป็นคนจนนี้ไม่ได้สุขสบายนักเพราะต้องได้รับความยากลำบากนานับประการ ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงแนะนำรัฐให้แก้ไขปัญหาความจนให้ได้ด้วยวิธีการดังนี้คือ

(๑) สัสสเมธะ (ฉลาดในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร)
(๒) ปุริสเมธะ (ฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ)
(๓) สัมมาปาสะ (ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชนด้วยการส่งเสริมอาชีพ คือทำให้คนจนมีอาชีพให้ได้)
(๔) วาชเปยยะ (ความมีวาจาอันดูดดื่มน้ำใจ)
(๕) นิรัคคฬะ (บ้านเมืองสงบสุข ปราศจากโจรผู้ร้าย ไม่ต้องระแวงภัย บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน) ยัญ ๔ ประการแรก เป็นเหตุ ส่วนยัญประการสุดท้ายเป็นผล ((องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๑/๒๑๓, ขุ.อิติ.อ. ๒๗/๑๐๖-๑๐๘, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๙/๓๗๑-๓๗๒, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๑/๒๔๙-๒๕๒)

@ การตีความเรื่อง คนจน ในมุมมองพระพุทธศาสนา ?

อนึ่ง พระพุทธศาสนาได้มีการนำเอาคำว่า “คนจน” เป็นต้นไปตีความในความหมายของธรรมะว่า คำว่า “คนจน”ที่ว่าจนนั้นคือจนอะไร โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงตีความคำว่าคนจนเองไส้ดังนี้

(๑) คนจนคือ คนที่ไม่มีธรรมในใจ ได้แก่ ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิ… ไม่มีโอตตัปปะ… ไม่มีวิริยะ.. ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม คนแบบนี้เรียกว่า เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้..”(อง.ปัญจก-ฉกก.(ไทย)๒๒/๔๕/๕๐๗)

(๒) คนจนคือ คนที่ไม่มีโพชฌงค์ ๗ ได้แก่
๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ …
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ …๔. ปีติสัมโพชฌงค์ …
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ …๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ …
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ดังปรากฎมรพระพุทธพจน์ว่า ภิกษุ เรากล่าวว่า ‘คนจน’ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ที่บุคคลนั้นไม่เจริญ
ไม่ทำให้มากแล้ว”(สํ.ม.(ไทย)๑๙/๒๒๗/๑๕๘)

จะเห็นว่า คำว่าคนจนตามแนวทางในการตีความของพระพุทธองค์นั้น ไม่ได้หมายถึง จนทรัพย์ แต่เป็นคววามจนเพราะการไม่มีธรรมะในหัวใจหรือไม่อาจจะบำเพ็ญเพียรเพื่อให้ธรรมะเกิดในใจได้ หรืือหากจะตีความเพื่อให้เห็นภาพในปัจจุบันนี้ก็คือ ว่ากันโดยสถานะในเมืองไทยนี้ ทั้งคนจนและคนรวย หากใครก็ตามไม่มีธรรมะในหัวใจ คนนั้นแหละที่จัดว่าเป็น “คนจน”ในพระพุทธศาสนาล่ะ

ขอบคุณครับ

Cr.Naga King

Leave a Reply