ฟังอีกด้านตัวตน “อาจารย์ยัพ” บุคคลผู้เป็นตำนานแห่งมอญ “บ้านทุ่งก้างย่าง” หลังจาก “ผู้เขียน” ได้เขียนเรื่องราวของ “พระธาตุเจดีย์มอญ” บ้านทุ่งก้างย่าง พร้อมกับเล่าเรื่อง “ผู้นำ”หมู่บ้านยุคนั่นมีชื่อว่า “อาจารย์ยัพ” และทั้งเขียนประวัติประเภท “เขาเล่าว่า” เป็นทหารหนีทัพของ “ก๊กมิ่นตั๋ง” ภายใต้การนำของ “เคียงไคเช็ค” เมื่อปี 2492 ซึ่งได้เขียนออกตัวไปตั้งแต่ต้นแล้วว่า “เขาว่า” และสรุปตอนท้ายด้วยว่านำไป “อ้างอิงไม่ได้” เพราะมันเป็นเรื่องเล่าจากคนที่ รู้จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เขาว่าบ้าง ฟังมาบ้าง “อาจารย์สุนทร ศรีปานเงิน” ซึ่งเป็นนักประวิติศาสตร์มอญที่น่าเชื่อถือและทั้งเป็น “บุคคลร่วมสมัย” มีชีวิตและคลุกคลีอยู่กับคนมอญที่ใกล้ชิดกับอาจารย์ยัพ หรือ นายชัยยศ ปิ่นสุกาญจน์ ได้เมตตาโทรมาเล่าว่า สิ่งที่เขียนนั้น ไม่จริง มันเป็นเรื่องเล่า พร้อมทั้งส่งรายละเอียดเรื่องจริงในมุมมองของอาจารย์สุนทร ศรีปานเงิน ซึ่ง “ผู้เขียน” ขอลงรายละเอียดพร้อมทั้งขัดเกลาสำนวนไว้ในบางประโยค บางคำไว้ดังนี้ ผมได้รู้จักกับอาจารย์ยับ (นายชัยยศ ปิ่นสุกาญจน์) เมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยการแนะนำ “นายละยีโท” ซึ่งเป็นผู้ช่วยของอาจารย์ยับในขณะนั้นพรรคมอญใหม่กำลังถูกกดดันจากทางการไทยให้ตกลงทำสัญญาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า อาจารย์ยับไม่เห็นด้วยกับพรรคมอญใหม่ทำสัญญาหยุดยิงกับพม่า และตั้งกลุ่มขึ้นใหม่เรียกว่า กองกำลังหงสา(Hongsar Command) เป็นเหตุทำให้ทางการไทยเพ่งเล็งอาจารย์ยับ และถูกจับกุมและกักขัง ในที่สุดกองกำลังหงสาก็เงียบหายไป เรื่องอาจารย์ยับนั้นผมได้ศึกษามาจากหนังสือ “แปดฝนในเมืองมอญ” ของ น.อ. อานนท์ บุญฑริกาภา และหนังสือ “မွန်နိုင်ငံရေးနောက်ခံသမိုင်း” (เบื้องหลังการเมืองมอญ) ท่านมีส่วนร่วมในกระบวนการกู้ชาติมอญตั้งแต่ต้นเมื่อปี พ.ศ. 2490 ในตอนนั้นมีกองกำลังกู้ชาติมอญชื่อว่า Mon National Defence Organization (MNDO) เมื่อ MNDO วางอาวุธให้กับรัฐบาลพม่าในปี พ.ศ. 2500 ทำให้อาจารย์ยับ น.อ.อานนท์ และ ลุงดำรงค์ ปุงบางกะดี่ (ผู้เขียน) ต้องกลับประเทศไทย เมื่อมาถึงประเทศไทย อาจารย์ยับร่วมเป็นกรรมการในการก่อตั้งสมาคมไทย-รามัญ และเช่าพื้นที่ป่าในจังหวัดกาญจนบุรี ทำสวนมะพร้าว คนมอญจำนวนมากสมัครเข้ามาเป็นแรงงาน ซึ่งต่อมา กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ทำสวนมะพร้าวบ้าง ขิงบ้าง พืชไร่บ้าง ในขณะที่เมืองมอญสมาชิก MNDO บางคนที่ไม่ยอมวางอาวุธ และรวมตัวกันตั้งองค์กรขึ้นใหม่ชื่อว่า พรรคมอญใหม่ NMSP โดยมี “นายสุจิน” เป็นหัวหน้า ต่อมาเมื่อนายพลเนวิน ยึดอำนาจจากรัฐบาลอู่นุ ในปี พ.ศ. 2505 แกนนำของ MNDO บางคนถูกจับกุมกักขังไปด้วย และเมื่อถูกปล่อยออกมาก็กลับมาร่วมกับพรรคมอญใหม่ของนายสุจิน แล้วต่อมาก็เกิดความแตกแยกกับนายสุจิน อีกนำโดยมี “นายโนนลา” เป็นแกนนำ ในขณะที่ฝ่ายมั่นคงของไทยสนับสนุนนายสุจิน ผู้นำพรรคมอญใหม่ในขณะนั้น เกิดความไม่พอใจต่อกลุ่มนายโนนลา ที่ประกาศแยกตัวออกไปจากพรรคมอญใหม่ ประจวบเหมาะกับทางการไทยจับอาวุธได้ที่ด่านป่าไม้ใกล้หมู่บ้านทุ่งก้างย่าง อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ของอาจารย์ยับ จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายมั่นคงไทยในขณะนั้นยึดที่ดินอาจารย์ยับคืน ไม่ให้เช่าที่ดินทำกินต่อไป พร้อมทั้งยัดข้อกล่าวหาอาจาร์ยัพว่า “ค้าอาวุธ” และ “ตั้งกองกำลัง” ส่วนตัว โดยมอบให้ตำรวจไปดำเนินคดี อาจารย์ถูกกักขังอยู่หลายคืน ก่อนที่ประกันตัวออกมาทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้ว อาจารย์ยัพ ไม่เกี่ยวของกับกลุ่มทหารมอญที่มีความขัดแย้งทั้งสองกลุ่มนั่นเลย… และนี้คือ “การล่มสลาย” ของหมู่บ้านทุ่งก้างย่าง ซึ่งอยู่ช่วงปีประมาณ 2526-2528 มิใช่ปี 2520-2523 ตามที่เขียน หลังจากนั้นชาวบ้านมอญบ้านทุ่งก้างย่างส่วนหนึ่งถูกส่งไปยังชายแดนตรงข้ามจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บางส่วนถูกส่งตัวไปไปยังโพธิ์สามต้นตรงข้ามอำเภอทองผาภูมิ และ อีกส่วนนึ่งไปที่บ้านมองสะเทอ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี บางครอบครัวก็หนีแตกกระเจิงออกไปจากพื้นที่ อาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียงกลายเป็น “ไทยใหม่” ดังทุกวันนี้ พร้อมกันนี้ “อาจารย์สุนทร ศรีปานเงิน” ได้ส่งหลักฐานชื่อคณะกรรมการสมาคมไทย – รามัญ ชุดแรกว่า อาจารย์ยัพเป็นคนไทย ท่านย้ำอยู่เสมอว่าท่านมี “ย่า” เป็นคนมอญ และท่านเกิดในประเทศไทย คณะกรรมการบริหารสมาคมไทยรามัญชุดแรก (พ.ศ. 2501 -2503) ประกอบด้วยพลตรีพระศัลยเวทยวิศิษฏ์ (นายกสมาคมฯ) นายตุ๊ วัชราธร(อุปนายก) นายเต็ม สุวิกรม(อุปนายก)นายสนอง รัตนวิจัย(เลขาธิการ) นายสมัย จินตกานนท์(ผู้ช่วยเลขาธิการ) นายแฝด ชื่นในกิจ(ผู้ช่วยเลขาธิการ) นายทองเก็บ พู่พันธ์(เหรัญญิก) นายคล้าย พงษ์เวท(บรรณารักษ์) นายยอด กฤชเพชร(ผู้ช่วยบรรณารักษ์) นายจำรัส ศัพทะนาวิน(ผู้ช่วยบรรณารักษ์) นายวิชัย โลจายะ(ปฏิคม) นายเฉลิม พงษ์ไพบูลย์(ปฏิคม) นายยิ่ง รัศมิทัต(ปฏิคม) นายแจ้ง ประมวลรัตน์(นายทะเบียน) นายจินดา วาทะวัชร์(ผู้ช่วยนายทะเบียน) นายเมี้ยน ปิติศิลป์(ผู้ช่วยนายทะเบียน) นายยอด ไตรติลานนท์(สารานียากร) พระบำรุงบุรีราช(กรรมการ) พันเอก อุทัย สุขทิศ(กรรมการ)นายพวน รามัญวงศ์(กรรมการ) นายเอื้อน ทองเนื้อดี(กรรมการ) เรือโท สวัสิ์ กร่างทอง(กรรมการ)นายเถลิง ชนาพร(กรรมการ) นายชัยยศ ปิ่นสุกาญจน์(กรรมการ) นายสมศักดิ์ มะยานนท์(กรรมการ) และในคณะกรรมการชุดนี้มี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นที่ปรึกษาสมาคมไทย-รามัญ ด้วย อาจารย์สุนทร ศรีปานเงิน กล่าวย้ำอีกว่า อาจารย์ยัพ หรือ นายชัยยศ ปิ่นสุกาญจน์ เป็นคนที่คุณูปการต่อชาติพันธุ์มอญมาก รักมอญมาก ท่านเป็นคนไทยเชื้อสายมอญ หลังจากหมู่บ้านทุ่งก้างย่างล่มสลายท่านก็ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับครอบครับและลูก ๆ ตอนป่วยไปรักษาตัวที่ประเทศจีนและเสียชีวิตที่นั้น และด้วยความรักมอญในวาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน ก่อนเสียชีวิตอาจาย์ยัพได้สั่งเสียไว้ว่า หลังท่านเสียชีวิตให้นำกระดูกของท่านไปฝังไว้ที่สังขละบุรี ทุกวันนี้ก็มีหลุมฝั่งศพของท่านก็ยังตั้งอยู่ ณ บ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี นี้คือมุมมองอีกมุมหนึ่งของบุคคล “ผู้เป็นตำนาน” มอญแห่งบ้านทุ่งก้างย่าง ที่ชื่อ อาจารย์ยัพ หรือ นายชัยยศ ปิ่นสุกาญจน์.. จำนวนผู้ชม : 574 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “ณพลเดช” มองจิ๊บๆ! เจ้าคณะตบท้ายทอย-เท้ายันสามเณรนั่งหลับ ต่างประเทศโหดกว่านี้เยอะ ชี้คนแชร์ภาพด่าส่อผิดพรบ.คอมฯ อุทัย มณี ม.ค. 11, 2024 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม… “สกสว.” ใฝ่ธรรม! นิมนต์ “พระมหาสมปอง” ร่วมบรรยาย อุทัย มณี ส.ค. 17, 2020 "สกสว." ใฝ่ธรรม! นิมนต์ "พระมหาสมปอง" ร่วมบรรยาย ขณะที่ กมธ.งบฯ… “เจ้าคุณประสาร” บำเพ็ญกุศลสวดอภิธรรมถวาย “พระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา” อุทัย มณี พ.ค. 08, 2022 วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 พระเมธีธรรมาจารย์ หรือ เจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… “สมเด็จพระสังฆราช” ทรงมอบพระบัญชาตั้งเจ้าอาวาสแก่ “พระพรหมดิลก” อุทัย มณี ส.ค. 28, 2024 วันที่ 28 สิงหาคม 2567 หลังจากมหาเถรสมาคมมรับทราบตามที่ที่ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว… พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำมรณภาพ สิริอายุ 102 ปี 82 พรรษา อุทัย มณี มิ.ย. 29, 2019 เมื่อเวลา 20.11 น.ของวันที่ 29 มิ.ย.2562 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง… จับตาเจ้าของฉายา “มังกรซ่อนเล็บ” อุทัย มณี ม.ค. 16, 2024 ข่าวคราวของ “อดีตพระพรหมสิทธิ” ฉายา “มังกรซ่อนเล็บ” กลับมาเป็นข่าว… ลัทธิประหลาดโผล่อีก! “สวดมนต์ภาษาต่างดาว” อ้างรักษาคนได้ อุทัย มณี ส.ค. 22, 2021 เมื่อวันที่ 22 ส.ค 64 ผู้สื่อข่าวได้รับร้องเรียนจากชาวบ้านว่า… “วัดโพธิ์ท่าเตียน” คว้ารางวัล “ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ อุทัย มณี ก.ค. 24, 2023 วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๖ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม… “เจ้าคุณ ว. วชิรเมธี” ชี้วิธีการ”หมอปลา” เพิ่มขัดแย้ง มิใช่วิธีการแก้ปัญหาทางศาสนาและสันติวิธี อุทัย มณี พ.ค. 13, 2022 วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 จากกรณี “หมอปลา” จีรพันธ์ เพชรขาว หรือมือปราบสัมภเวสี… Related Articles From the same category ‘เทวัญ’มอบนโยบายพศ.10ข้อแนะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำBig Dataบริการคณะสงฆ์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม เพจพรรคชาติพัฒนา ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า… หมดยุค “ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์” เสื่อมจริง ๆ ไม่รู้หัวใจพระคุณเจ้าที่ละเมิดพระธรรมวินัย… ทีฆายุโก โหตุ สงฺฆราชา : มงคลสมัยเจริญพระชนมายุ 94 พรรษา วันที่ 26 มิ.ย. 64 เนื่องในมงคลสมัยฉลองพระชนมายุ 94 พรรษา 26 มิถุนายน… อินเดียมอบรางวัลปัทมศรีประจำปี 2022 “ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา” ผู้เชี่ยวชาญด้านสันสกฤตศึกษาของไทย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 เพจ India in Thailand (Embassy of India, Bangkok) ได้โพสต์ข้อความและข้อความว่า… ฤกษ์วันมาฆบูชา!ยกเสาเอกก่อสร้างอาคาร สถาบันสติภาวนาเพื่อสันติภาพแดนอีสานใต้ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ที่หมู่บ้านช่อสะอาดต้นแบบ หรือหมู่บ้านสันติภาพ…
Leave a Reply