@ ที่ผมคิดและเขียนเรื่องนี้ผมไม่มีแนวคิดในเชิงการเมือง หรือแนวการบริหารแต่อย่างใดเนื่องจากผมเองได้นิยามตัวตนของผมในมิติของ “นักการศาสนา”ไม่ได้เป็นนักการเมืองหรือนักบริหาร ดังนั้น การเป็นนักการศาสนา จึงไม่ได้พูดหรือเขียนที่จะต้องตรงเป๊ะๆตามศาสตรที่เกี่ยวข้องเสมอไปเพราะแนวคิดทางศาสนานั้น บางอย่างก็ไม่ตรงกับศาสตร์ทางตะวันตกสักเท่าไหร่ ซึ่งผมเองอยากให้ท่านทั้งหลายได้มิติหรือมุมมองทางด้านศาสนามากกว่าที่จะอ่านข้อเขียนผมแล้วตีความไปทางศาสตร์ที่ท่านเข้าใจกัน
@ เรื่องผู้นำนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่มีคนพูดและเขียนมาก เนื่องจากผู้นำนั้นเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อองค์กรหรือชุมชนเป็นอย่างมาก เพราะผู้นำคือผู้ที่ถูกเลือกตั้งหรือถูกแต่งตั้งจากบุคคลหรือชุมชนก็ได้ให้ทำหน้าที่ในการนำชุมชน องค์กรให้ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งผู้นำที่ถูกเลือกแล้วนั้นจะต้องมี
(๑) อำนาจ ในการบังคับบัญชาหรืออำนาจในการตัดสินใจเพื่อนำลูกน้องให้ไปสู่เป้าหมาได้
(๒) บารมี คำว่าบารมีในทางพระพุทธศาสนาแปลตรงตัวก็คือการสั่งสมทำให้เต็ม ซึ่งในที่นี้ก็คือบุญกุศล หรือความดีต่างๆ ซึ่งคนมีบารมีโดยมากมักจะเป็นผู้นำ และผู้นำจะต้องมีบารมีด้วย
(๓) เทคนิคในการนำหรือวิธีการที่จะสามารถนำมาให้เพื่อการนำได้ ภาษาสมัยให่เรียกว่า “กุศโลบาย” หรืออุบายวิธีในการนำไปใช้เพื่อการนำหรือการบริหาร หากจะใช้คำพูดทางพระพุทธศาสนา คำว่าเทคนิคในการบริหารนี้ก็จะตรงกับคำว่าปัญญา คือจะต้องมีปัญญาไหวพริบในการบริหาร หรือรู้จักเลือกวิธีการในการนำไปใช้แก้ไขปัญหาหรือการสร้างสรรค์งานที่เกิดขึ้นได้
@ ในการเป็นผู้นำนั้น ๓ ประการที่ว่ามานั้นมีความสำคัญมาก เพราะหากจะเป็นผู้นำที่มีศักยภาพก็จะต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานใน ๓ ประการนั้นให้ครบเครื่องเลยทีเดียว หาไม่มีองค์ประกอบดั่งที่ว่าผมว่า ก็อาจจะเป็นเรื่องได้ คือไม่สามารถที่จะนำหรือบริหารคนที่อยู่ในปกครองในประสบความสำเร็จได้
@ ผู้นำที่หลากหลาย ?
เจ้านายในทางพระพุทธศาสนาหรือผู้นำนั้นโดยมากจะมีลักษณะสำคัญอยู่ ๓ ประการ คือ
(๑) เอาแต่ใจตัวเอง (อัตตาธิปไตย) ผู้นำประเภทนี้มั่นใจในตัวเองสูง เน้นเรื่องอำนาจนิยม สั่งเปรี้ยงๆต้องได้ ไม่ได้ดั่งว่ากู “ปลด”หรือไม่ก็ตั้งกรรมการสอบทันที ผู้นำประเภทนี้จัดเป็นพวก “อำนาจนิยม” โดยมากเป็นคนตรงๆชอบอะไรที่โผงผาง ไม่มีนอกมีใน
(๒) เอาใจสังคม (โลกาธิปไตย) ผู้นำประเภทนี้ไม่ค่อยมีหลักการ ไม่ค่อยมีความเชื่อมั่นในตัวเอง เหลาะแหละ ชอบตัดสินหรือปกครองลูกน้องไปตาม “กระแสนิยม”หรือกระแสสังคมโลก คือสิ่งแวดล้อมเขาว่าอย่างไรก็คล้อยตามไปกับเขาทางไหนดีก็วิ่งตามติชัดสินหรือนำไปทางนั้นเพราะตนเองไม่มีหลักการอยู่แล้ว
(๓) เอาใจพรรคพวก (คณาธิปไตย) ผู้นำประเภทนี้มีเยอะครับ เป็นพวกที่ชอบตัดสินหรือปกครองอะไรก็ตามมัก “ยึดพรรคพวก”เป็นหลักได้อะไรมาก็ให้พรรคพวกหรือคนสนิทก่อน ผู้นำประเภทนี้ก็ไม่ต่างไปจากประเภทที่ ๑-๒ เพราะไม่ค่อยมีหลักการเท่าไหร่ เพราะโดยมากเป็นพวกที่ เอาแต่ใจ นักเลงใหญ่ และเป็นเจ้าใหญ่นายโต เสียหมด (องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๒๓/๓๖๙,องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๔๐/๒๐๑,อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๗๑/๕๐๕)
กล่าวโดยสรุปคือผู้นำ ๓ ประเภทที่ผ่านมานั้นเป็นพวก”หลงอำนาจ”และใช้อำนาจในทางที่ไม่เหมาะสมอยู่เสมอ
(๔) พวกเที่ยงตรง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จัดว่าเป็นผู้นำเชิงพุทธ เป็นผู้นำที่จัดว่าเป็นผู้นำประเภทมัชฌิมา คือผู้นำสายกลางที่ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่งและมีหลักในการทำงานก็คือ “พรหมวิหาร ๔” ได้แก่ (๑) เมตตา คือความรักในลูกน้อง (๒) กรุณา ความสงสารเห็นใจลูกน้อง (๓)มุทิตา ความพลอยยินดีในลูกน้อง (๔) อุเบกขา การวางใจต่อลูกน้องในทุกสถานการณ์ (ที.ม.(ไทย)๑๐/๓๒๗/๒๕๗,องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๐/๔๑๐) ผู้นำประเภทนี้จะมีปัญญาฝึกฝนลูกน้อง เสมือนหนึ่งนายเกสีรู้วิธีในการฝึกม้าพยศ ๔ วิธี ตามที่นายเกสีได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ฝึกม้าที่ควรฝึกด้วยวิธีแบบสุภาพ๑- บ้าง วิธีแบบรุนแรง๒- บ้าง วิธีทั้งแบบสุภาพและแบบรุนแรงบ้าง”(อง.จตุกก.(ไทย)๒๑/๑๑๑/๑๖๙)
วิธีการฝึกม้าของนายเกสีก็คือ
(๑) วิธีแบบสุภาพ หมายถึงฝึกโดยวิธีที่เหมาะแก่ม้านั้น ให้กินอาหารดี ให้ดื่มน้ำมีรสอร่อย ร้องเรียกด้วยคำไพเราะ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๑๑/๓๗๐)
(๒) วิธีแบบรุนแรง หมายถึง วิธีแบบรุนแรง หมายถึงฝึกด้วยวิธีรุนแรงมีมัดขาและผูกปากเป็นต้น และด้วยวิธีการใช้ปฏักแทง การหวดด้วยแส้ และร้องเรียกด้วยคำหยาบ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๑๑/๓๗๐-๓๗๑)
(๓) วิธีการผสมผสาน ก็คือใช้ทั้งวิธีสุภาพและรุนแรงในการฝึก ไม่เน้นวิธีการใดวิธีกรหนึ่งเพียงลำพัง
(๔) วิธีแบบฆ่าทิ้ง ในกรณีที่ใช้ ๓ วิธีแรกแล้วไม่ได้ผล(อง.จตุกก.(ไทย)๒๑/๑๑๑/๑๖๙)
ผู้นำประเภทนี้โดยมากจะรู้จักใช้วิธีในการฝึกฝนลูกน้องในอัตราส่วนที่เหมาะสม คือถ้าไม่รุนแรงก็อ่อนโยนไปเลยดูที่สถานการณ์เป็นหลัก ยกเว้นที่ฝึกไม่ได้ก็ต้องฆ่าทิ้ง หรือปล่อยให้เป็นไปตามกรรม ซึ่งในผู้นำ ๔ ประเภทนั้น ประเภทนี้ดีกว่าสามประเภทแรก
@ ลูกน้องที่ดี …ควรเลือกนายอย่างไร ?
จากการศึกษาคัมภีร์พระพุทธศาสนามาจะพบว่า การที่เราเป็นลูกน้องหากมีคำถามว่าจะเลือกนายอย่างไร ผมว่าหลักการเลือกนายในทางพระพุทธศาสนาน่าจะมีดังต่อไปนี้
(๑) เลือกที่พฤติกรรม คือเลือกว่าเจ้านายนั้นมีพฤติกรรมอย่างไร มีอุปนิสัยอย่างไร ดุร้ายไหม ใจดีไหม มีเหตุผลหรือไม่ เป็นเกย์หรือเปล่า ? เพราะสมัยนี้เกย์เยอะท่าทางดีแต่เป็นเกย์ก็ เฮ่อ..หมดตูดเลยแบบนั้น
(๒) เลือกที่คำสอน เป็นการเลือกจากหลักคำสอน เช่น ครูทั้ง ๖ ในสมัยพุทธกาลนั้น ถามว่าทำไม อุปติสสะ และโกลิตะ สองสหายที่กลายมาเป็นพระอัครสาวกซ้ายขวาของพระพุทธองค์จึงไม่เลือก ๕ คนแรก ทำไมมาเลือกเฉพาะ สัญชัยเวรัฐบุตร สาเหตุที่เลือกก็เพราะเห็นว่า ๕ คนแรกสอนแบบเพ้อเจ้าไม่มีเหตุผล เช่น สอนว่าพ่อแม่ไม่มีบุญคุณไม่มีโลกหน้า ไม่มีมรรคผลนิพพาน เป็นต้น ที่เลือกสัญชัยเพราะครูคนนี้เป็นนักตรรกะวิทยา พอพูดคุยรู้เรื่องบ้าง ข้อนี้ก็เป็นการเลือกจากคำสอนหรือปรัชญาของสำนัก
(๓) เลือกที่วิธีการปกครอง เป็นการเลือกที่ดูจากวิธีการปกครองว่าการปกครองของผู้นำนั้นเป็นแบบไหน ปกครองแบบเหี้ยมโหดเกินไปไหม หรือหย่อนยานเกินไป เช่น กรณีปัญจวัคคีย์เลือกนาย คือเลือกพระพุทธเจ้าเพราะเห็นว่าพระองค์นำแบบเคร่ง ถ้าไม่เคร่งก็เลิกนับถือ แบบนี้เป็นต้น
(๔) เลือกทั้ง ๓ ข้อนั้น คือ เมื่อไม่มีผู้นำที่พึงประสงค์ก็เลือกคนที่มีอยู่นั่นแหละ แต่ต้อง (๑) รู้นิสัย (๒) เข้าใกล้ต้องระวัง (๓) ผิดพลั้งต้องหนี (๔) เก็บชีวีเอาไว้แก้ตัว ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ก็คือวิธีเลือกนายของ “มโหสถบัณฑิต”ที่ท่านกล่าวว่า นายที่ดีไม่มีมีแต่นายที่เราต้องรู้จักเขาให้ดีและอยู่ร่วมกับเขาให้ได้ คือ ลูกน้องไม่มีสิทธิ์เลือกหรอก แต่มีสิทธิ์ที่จะอยู่ร่วมอย่างไรให้มีความสุข เข้าทำนองว่า เลือกไม่ได้ก็อยู่กับที่เลือกไม่ได้นั่นแหละ เพราะนาย หรือคนที่เป็นนายนั้นเขามาแบบที่เราจำต้องอยู่ร่วมเสียโดยมากไม่ได้มาจากการที่ลูกน้องเป็นคนคัดเลือกมา เช่น พระราชาพระมหากษัตริย์ที่มีอำนาจ เราเลือกได้ที่ไหน ?
@ เดินตามผู้นำอย่างไรดี ?
เป็นข้อสุดท้ายล่ะเข้าเรื่องเสียที เมื่อ เราเลือกนายไม่ได้และจำต้องเดินตามนายที่เราไม่ได้เลือก เราจะทำอย่างไร จะเดินตามแบบไหนที่จะทำให้ชีวิตรอดปลอดภัย ผมว่า หลักการเดินตามผู้นำที่ดีในมุมมองของพระพุทธศาสนาก็คือ
(๑) ประคับประคอง การเดินตามนายข้อแรกที่เราไม่ได้เลือกมาก็คือต้องประคับประคองชีวิตเพื่อให้สามารถเข้ากันให้ได้ ที่รู้ไม่พูดที่พูดก็รู้บ้างไม่รู้บ้าง คือทำเป็นรู้บ้างไม่รู้บ้าง อย่าทำตัวฉลาดแบบรู้ทุกเรื่อง เพราะโดยมากลูกน้องที่รู้ทุกเรื่องจะกลายมาเป็นคนที่นายระแวงสงสัยว่ามันจะยึดอำนาจกูหรือเปล่าว่ะ หรือสรุปมึงเป็นลูกน้องหรือนายกูกันแน่ แบบนี้ต้องประคับประคองไปให้ได้
(๒) เรียนรู้ร่วมกัน ไม่ว่าเจ้านายจะเป็นคนประเภทไหนก็ตาม สิ่งที่ลูกน้องจะต้องทำก็คือ ปรับตัวและเรียนรู้ร่วมกันค่อยเป็นค่อยไป ถ้าสมติได้เจ้านายชีกอ หน้าหม้อ คอสั้นขยันซอย ก็ต้องเออออห่อหมกฮวกไปตาม คือไม่อยากไปหาจีบหญิงก็ต้องหัดไป แต่เมื่อไปแล้วต้องหาทางให้สติเจ้านายให้ได้ อย่าตามใจในทุกกรณีเพราะเจ้านายก็คือเจ้านายคิดว่าตัวเองใหญ่คับฟ้า แต่เราจะต้องหาช่องทำให้ได้สติให้ได้ เช่น มโหสถบัณฑิต ปล่อยให้พระราชาถูกล้อมจับโดยไม่มีการป้องกันจนพระราชากลัวจนขี้ขึ้นสมอง พอพระราชากลัว มโหสถก็ถือโอกาสสอนและขอพรตอนนั้นทันที พอพระราชารับปากจึงหาทางตีฝ่าวงล้อมออกมา เมื่อเข้าสู่ภาวะปกติก็ทวงสัญญาทันที แบบนี้เรียกว่าสั่งสอนนายให้เข็ดหลาบ เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในที่สุด
(๓) สร้างสรรค์งานใหญ่ ลูกน้องที่ดีจะต้องเอาการเอางานแม้ว่าเจ้านายจะไม่ได้เรื่องก็ตาม ไม่ใช่ว่าพอเจ้านายไม่ได้เรื่องแล้วเราเป็นลูกน้องก็หนีเอาตัวรอดเพราะเบื่อเจ้านาย ลูกน้องที่ดีต้องพาเจ้านายทำงาน สร้างงานไม่ใช่รองานที่จะมาถึงแบบนั้นไม่ใช่ลูกน้องที่ดี
(๔) แก้ไขสิ่งผิด คือลูกน้องที่ดีจะต้องหาทางแก้ไขสิ่งที่เจ้านายทำไม่ดีไว้ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับนาย เช่น นายหน้าหม้อ ก็ปรับลุ๊คนายใหม่ให้รู้จักการเข้าวัดไปปฏิบัติธรรมเสียบ้าง เจ้านายบ้าอำนาจก็ให้เห็นความเป็นอยู่ของลูกน้องตามความเป็นจริงบ้างจะได้รู้ว่าที่ออกคำสั่งมานั้นมันคือความทุกข์ของลูกน้อง แม้จะเป็นความสุขของเจ้านายก็ตาม
(๕) ยึดติดหลักการ ไม่ว่าเจ้านายจะเป็นอย่างไร ชักชวนทำความไม่ดีอย่างไรก็ตาม หรือทำลายหลัการอย่างไรก็ตาม เราเป็นลูกน้องต้องยึดหลักการเอาไว้แบบสู้กันในระยะยาวให้ได้ หลักการมันไม่ล้มทับใครหรอก แต่หลักการที่ดีจะช่วย เซฟเจ้านายเอาไว้ได้ในที่สุด ลูกน้องที่ดีอย่าเอาแค่เลียไข่เจ้านายเพียงอย่างเดียวจะต้องหัดรักษานายด้วยการรักษาหลักการเอาไว้ให้ได้ด้วย
(๖) ทรมานก็หนี ข้อนี้เป็นทางเลือกสุดท้ายที่ทำมาทั้งหมดแล้วมันไม่ดีขึ้นเลย แก้ไขอะไรไม่ได้สิ่งที่จะต้องทำก็คือ “หนี”หรือตีตัวออกห่างเพราะถ้าแก้ไขอะไรไม่ได้ก็เปลี่ยนเจ้านาย เหมือนอุปติสสะและโกลิตะ “ชิ่ง”จากสัญชัยไปกราบพระพุทธองค์ เนื่องจากอยู่ไปก็ไม่พัฒนาอะไรไม่ได้เพราะเจ้านายเอาแต่ตรรกะมาตอบวกไปวนมาอยู่อย่างนั้น สุดท้ายก็พาพรรคพวกหนีจากไปเสียเลยจะได้ “หมดปัญหา”
เอาล่ะยาวมากแล้วจบลงได้เสียที
ขอบคุณครับ
Cr.Naga king
Leave a Reply