รัฐสภา ( ส.ส. + ส.ว.) ไม่ปฏิรูปประเทศ…ได้ไหม?

                 เลือกตั้งทั่วไปส.ส.ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อให้ได้ ส.ส.500 คน

                 เลือก ส.ว. ที่คสช.ต้องเคาะขั้นตอนสุดท้ายให้ได้ 250 คน จากนั้นก็ทูลเกล้าฯรายชื่อ

ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง

                 เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 256

                 ถามว่า รัฐธรรมนูญจะแก้ไขเพิ่มเติมได้ไหม?

                 ตอบ…. แก้ไขได้

                 ขั้นตอนและกระบวนแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

ในหมวด 15 ว่าด้วย “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ”

                ซึ่งแก้ไขยาก

               เมื่อรัฐธรรมนูญยังไม่ได้แก้ไขก็ต้องปฏิบัติไปตามรัฐธรรมนูญ

               รัฐธรรมนูญในหมวด 16 ว่าด้วย การปฏิรูปประเทศ ไม่ได้เขียนไว้ลอยๆ

แต่ได้วางแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดแจ้ง คือ

              ประการแรก  ให้วุฒิสภามีหน้าที่และอำนาจติดตาม เสนอแนะและเร่งรัดการปฏิรูปประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่งมีกฏหมายแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ และกฏหมายการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ โดยแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศได้ประกาศใช้แล้ว

               ประการที่สอง  ทุก 3 เดือน คณะรัฐมนตรีจะต้องมารายงานแจ้งความคืบหน้าในการ

ดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภา

               ประการที่สาม ร่างกฏหมายที่จะตราขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามหมวด 16    ว่าด้วยการปฏิรูปประเทศ รัฐบาลต้องเสนอและพิจารณาในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา

             นี่ย่อมความว่า รัฐบาลชุดใหม่มีภารกิจผูกพันภาคบังคับที่จะต้องเดินหน้าเรื่องการปฏิ รูปประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนปฏิรูปประเทศ 11 แผน รวมทั้งแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ช้านี้

วมเป็นแผนปฏิรูปประเทศ 12 ด้าน / 12 แผน

            รูปการณ์จะออกมาในลักษณะว่า ทุก 3 เดือน นายกรัฐมนตรีจะนำทีมคณะรัฐมนตรี

มายืนอภิปรายชี้แจงในประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนฯกับวุฒิสภาถึงความคืบหน้าว่า   การปฏิรูปแต่ละแผนไปถึงไหน  หน่วยงานภาครัฐหน่วยงานใด ดำเนินการตามแผนแต่ละเรื่องไปอย่างไร ฯลฯ

           จากนั้นประธานรัฐสภาจะเปิดให้ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาล  ฝ่ายค้านและส.ว.สลับกัน

อภิปราย  นายกฯและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็จะลุกขึ้นชี้แจง

          เนื่องจากแผนปฏิรูปประเทศมี 12 แผน  การประชุมต้องใช้เวลามากพอสมควร วันเดียวคงไม่ครบทุกแผน ต้องเพิ่มวันประชุมพิจารณาเรื่องนี้

          รัฐธรรมนูญออกแบบไว้เช่นนี้ ย่อมหมายถึงว่า รัฐบาลหลังเลือกตั้งจะต้องมีนายกฯชื่อ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา เพราะเป็นผู้เริ่มต้นและดำเนินการเรื่องปฏิรูปประเทศมาตลอดเกือบ 5 ปี

          การซักถาม หรือการแสดงความไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งรัฐ ธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ ก็จะถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง

         การเมืองเรื่องการปฏิรูปประเทศจะเข้มข้น ดุเดือดอย่างแน่นอน

ซึ่งจะออกรสชาติตั้งแต่ช่วงรณรงค์หาเสียงการเลือกตั้ง

การเมืองไทยไม่มีอะไรแน่นอน บางที่สิ่งทีวิเคราะห์วิจารณ์กันไว้อาจพลิกผันก็ได้

/////////////////////////////////////

ผู้เขียน :  บุญเลิญ  ช้างใหญ่  

คอลัมน์ : ฟันธง     

 

 

 

 

 

Leave a Reply