วันที่ 9 มี.ค.2562 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นำทีมเศรษฐกิจ แถลงนโยบาย 10 จุดเปลี่ยน เศรษฐกิจไทย สร้างชาติ ประกอบด้วย 1.ดัชนี ปิติ (PITI) หรือ prosperity index Thailand initiative ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ รวมถึงสังคม และสิ่งแวดล้อม สะท้อนความเป็นอยู่ของประชาชน 2.นโยบายคมนาคม เร่งผลักดันรถไฟฟ้าทุกสายให้แล้วเสร็จพร้อมลดค่าโดยสารไฟฟ้าในเส้นทางที่รัฐบาลลงทุนเองให้เหลือ 15 บาทตลอดสายเช่นสายสีม่วงจากบางใหญ่-เตาปูน ส่วนสายสีม่วง+สายสีน้ำเงิน ลดเหลือ 43 บาท จาก 70 บาท รวมถึงเร่งรัดรถไฟทางคู่ สานต่อรถไฟความเร็วสูง เพิ่มเส้นทางมอเตอร์เวย์เชื่อมเหนือจรดใต้ และกำหนด 12 เมืองหลักเป็นมหานครเศรษฐกิจ
3.Govtech mission หรือการปฏิรูประบบราชการให้บริการประชาชนด้วยเทคโนโลยี ปรับปรุงกฎหมายที่ถ่วงภาครัฐ ซึ่งเชื่อว่าจะเพิ่มความโปร่งใส และทำให้ประชาชนเข้าถึงง่ายขึ้น
4.ปฏิวัติเขียวอุตสาหกรรม 7 ประการ ได้แก่ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเป็น EV Global Supply chain เกษตรอินทรีย์ อุตสาหกรรมชีวภาพ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมรถไฟ การผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวล และการปลูกไม้เศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรม สร้างเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ มาตรการจูงใจทางภาษี 5.เศรษฐกิจ Hi-Touch ผลักดันไทยให้เป็นศูนย์กลางชมภาพยนตร์โลกและเป็นท่องเที่ยวพรีเมี่ยม
6.เกษตรยุคใหม่ เน้นอาหารปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นสมาร์ทฟาร์ม สร้างผู้ประกอบการทางการเกษตร ตัดพ่อค้าคนกลาง 7.แก้หนี้นอกระบบ หนี้ภาคเกษตร หนี้บัตรเครดิต โดยจะประกาศ ปี 2562 ให้เป็นปีแห่งการแก้หนี้ และร่าง พ.ร.บ.บัตรเครดิตแก้การถูกเอาเปรียบ 8.เกษียณเงินล้าน ยกระดับ กองทุนการออมแห่งชาติ ให้ทุกบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 9.คลังเข้มแข็ง ภาษีเท่าเทียม ปรับลดภาษีรายได้ไม่เกิน 2 ล้านบาทช่วย sme เพิ่มสวัสดิการกองทุนให้พนักงานเงินเดือน เก็บภาษีจากบรรษัทเทคโนโลยีข้ามชาติและ 10.No-corruption ที่เป็นภัยร้ายต่อเศรษฐกิจและการเมืองไทย โดยจะมาเปิดเผยนโยบายอีกครั้งก่อนวันที่ 24 มีนาคม
ทั้งนี้คำว่า ปิติ นี้ตรงกับบาลี คือ Pīti หมายถึง ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค แบ่งปีติเป็นห้าประเภท คือ
ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล หลั่งสารทางเพศ
ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆเป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ เสียวซ่านถึงรูขุมขน
โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก หรือปีติเป็นพักๆ ทำให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกายดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง
อุพเพคาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรง ให้รู้สึกใจฟู แสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา เหมือนลอยขึ้นไปในอากาศ
ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้
ขุททกาปีติและขณิกาปีติสามารถเข้าถึงได้ด้วยศรัทธา โอกกันติกาปีตินั้นถ้ามีมากย่อมทำอุปจารสมาธิให้เกิดขึ้น อุพเพคาปีติที่ยึดติดกับดวงกสิณ ทำให้ทั้งกุศลและอกุศลเกิดขึ้น และขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ ผรณาปีติบุคคลทำให้เกิดขึ้นในสภาวะแห่ง อัปปนาสมาธิ
ในคัมภีร์วิมุตติมรรค ยังมีการแบ่งอีกแบบหนึ่ง แบ่งปีติเป็นหกประการ คือ
ปีติเกิดจากราคะ ความอิ่มใจเพราะความชอบ หลงใหล และความอิ่มใจที่ประกอบด้วยกิเลส
ปีติเกิดจากศรัทธา ความอิ่มใจของบุคคลผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า
ปีติเกิดจากความไม่ดื้อด้าน ความอิ่มใจอย่างยิ่งของคนดี มีใจบริสุทธิ์
ปีติเกิดจากวิเวก ความอิ่มใจของบุคคลผู้เข้าปฐมฌาน
ปีติเกิดจากสมาธิ ความอิ่มใจของบุคคลผู้เข้าทุติยฌาน
ปีติเกิดจากโพชฌงค์ ความอิ่มใจที่เกิดจากการดำเนินตามโลกุตตรมรรค ในทุติยฌาน
ธรรมะที่เกี่ยวข้อง
ปีติ พบรวมอยู่ในหลักธรรมอื่นๆทางพุทธศาสนา เช่น
โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา)
องค์ฌาน ได้แก่ ในปฐมฌานประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา) ทุติยฌานประกอบด้วย ปีติ สุข และเอกัคคตา)
นอกจากนี้ ปีติยังเป็นหนึ่งในวิปัสสนูกิเลส 10 (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา)
ปีติเจตสิก
ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงปีติในลักษณะที่เป็นเจตสิก (ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า “ปีติเจตสิก” มีลักษณะดังนี้ คือ
มีความแช่มชื่นใจในอารมณ์เป็น “ลักษณะ”
มีการทำให้อิ่มกายอิ่มใจ หรือทำให้ซาบซ่านทั่วร่างกาย เป็น “กิจ” มีความฟูใจเป็น “ผล” มีนามขันธ์ 3 ที่เหลือ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์) เป็น “เหตุใกล้”
ธรรมชาติของปีตินี้ เมื่อเกิดขึ้นกับใครย่อมทำให้ผู้นั้นรู้สึกปลาบปลื้มใจ มีหน้าตาและกายวาจาชื่นบานแจ่มใสเป็นพิเศษ บางทีก็ทำให้รู้สึกซาบซ่านไปทั่วร่างกาย ซึ่งเกิด
จากปีติแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายนี่เอง และทำให้จิตใจของผู้นั้นแช่มชื่น เข้มแข็ง ไม่รู้สึกเหนื่อยหน่ายต่ออารมณ์
อาการปรากฏของปีตินี้ คือ ทำให้จิตใจฟูอื่มเอิบขึ้นมา
ปีติจะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยนามขันธ์ 3 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปีตินั้น ย่อมอาศัยสุขเวทนา เป็นต้น เป็นเหตุให้ปีติเกิด ด้วยเหตุนี้เอง บางทีเราเข้าใจว่า ปีติและสุขเป็นอันเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ แต่ความจริงนั้นปีติกับสุขต่างกัน คือ ปีติเป็นสังขารขันธ์ สุขเป็นเวทนาขันธ์ และเมื่อมีปีติจะต้องมีสุขเสมอแน่นอน แต่ว่าเมื่อมีสุข อาจจะไม่มีปีติด้วยก็ได้
…………………………..
หมายเหตุ : ข้อมูลปิติจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Leave a Reply