พระไทยร่วมอินโดฯจัดถก! นักศาสนศาสตร์เอเชีย ฟื้นฟู’ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์’

วันที่ 8 ส.ค.2562 เฟซบุ๊ก Phramaha Boonchuay Doojai ได้โพสต์ข้อความว่า “Congress of Asian Theologians (CATS) IX” เป็นตัวแทนพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเพียงหนึ่งเดียว เข้าร่วมการประชุมนักศาสนศาสตร์แห่งเอเชีย ครั้งที่ 9 เรื่อง “ความปรองดอง การเริ่มต้นใหม่ และการฟื้นฟู: ตัวบ่งชี้อันศักดิ์สิทธิ์และกฎเกณฑ์แห่งมนุษย์” (Congress of Asian Theologians – CATS-IX on Reconciliation, Renewal, and Restoration: Divine Indicative and Human Imperative) ระหว่างวันที่ 05 – 10 สิงหาคม 2562 ณ เมืองเมดาน จังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย

การประชุมครั้งนี้ จัดโดยสภาคริสเตียนแห่งเอเชีย (Christian Conference of Asia – CCA) โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้เป็นเวทีสำหรับนักศาสนศาสตร์ในเอเชีย ได้มีส่วนร่วมในการแสวงหาวิธีการทางศาสนศาสตร์รวมถึงสหวิชาวิชาการในหลากหลายมิติ การริเริ่มสร้างสรรค์กระบวนทัศน์ใหม่ สำหรับนำไปสู่การปรองดอง การเริ่มต้นใหม่ และการฟื้นฟู ในบริบทแห่งเอเชีย มีนักศาสนศาสตร์กว่า 120 รูป/คน จากหลากหลายประเทศในทวีปเอเชียเข้าร่วมประชุม

กำหนดการประชุม นอกจากจะมีนักศาสนศาสตร์ในคริสต์ศาสนาเข้าร่วมการประชุมเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังได้เชิญนักเทวศาสตร์จากศาสนาฮินดู ศาสนาอิสลาม และพระพุทธศาสนาเข้าร่วม เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศาสนาที่แตกต่าง ว่ามีแนวคิดและวิธีการปฏิบัติอย่างไรในเรื่องการปรองดอง การเริ่มต้นใหม่ และการฟื้นฟู อันจะเป็นประโยชน์ที่จะได้เห็นมุมที่แตกต่าง ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานต่อไป

“การปรองดอง” แม้จะเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงและเป็นที่เข้าใจกันเป็นอย่างดี ในแวดวงแห่งการจัดการความขัดแย้ง ในขณะที่ในแวดวงศาสนาอาจไม่ค่อยจะให้ความสำคัญมากนัก จนกลายเป็นว่า “การปรองดอง” เป็นหน้าที่และบทบาทของนักจัดการความขัดแย้งเท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับเรื่อง “สุขภาพ” ที่ในแวดวงศาสนาก็จะมองว่าเป็นเรื่องของ “หมอ” เท่านั้น ไม่มีอะไรที่ศาสนาจะเข้าไปเกี่ยวข้อง อย่างที่พบหลายครั้งที่บอกว่า “วัด” ต้องช่วยดูแลไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย “วัด” ก็จะบอกว่า ไม่ใช่หน้าที่วัด แต่เป็นหน้าที่ของ “อสม.”

ในความเป็นจริง “ศาสนา” กลายเป็นแหล่งที่มาสำคัญของความขัดแย้งเสียเอง เพราะความขัดแย้งมีที่มาสำคัญอยู่ 3 ทาง ลัทธินิยมอุดมการณ์ (ทิฏฐิ) การต่อสู้ช่วงชิงอำนาจ (มานะ) และ การแย่งชิงผลประโยชน์ (ตัณหา) ซึ่งในแง่ “ลัทธินิยมอุดมการณ์ (ทิฏฐิ)” เองนั้น ความเชื่อถือใน “ลัทธิศาสนา” (Religion) เคยเป็นตัวชูโรงที่สำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้ง เกิดสงครามและความรุนแรง ในของยุคก่อน ๆ ในทวีปยุโรป และระหว่างยุโรปกับตะวันออกกลาง นี่ยังไม่รวมถึง “ลัทธินิยมแห่งเผ่าพันธุ์” (Racism) ที่นำไปสู่สงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในหลายภูมิภาคทั่วโลก

ในขณะที่ “การปรองดอง การเริ่มต้นใหม่ และการฟื้นฟู” เป็นหลักการสำคัญของทุก ๆ ศาสนา ที่สามารถนำมาสู่ตีความในบริบทสังคมใหม่ ปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่ความความปรองดอง การเริ่มต้นใหม่ และการฟื้นฟู ทั้งภายในจิตใจแห่งปัจเจกชนและผู้คนในสังคม ได้รับการตอบรับที่ดี ได้รับความเคารพในศักดิ์ศรี มีชีวิตที่สงบสุข เกิดสามัคคีในหมู่ชน

แม้ว่าหลักการอันเป็นแหล่งที่มาของ “การปรองดอง การเริ่มต้นใหม่ และการฟื้นฟู” จะแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นหลักการแห่งพระประสงค์ของพระเจ้า หรือหลักการอันเป็นกฎแห่งธรรมชาติ แต่จุดหมายปลายทางเป็นสิ่งเดียวกัน นั่นคือ “สันติสุข” ของสังคม

ในทางพระพุทธศาสนา “การปรองดอง การเริ่มต้นใหม่ และการฟื้นฟู” เป็นไปตามหลักการอันเป็นกฎแห่งธรรมชาติ ที่มนุษย์จะต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาติดังกล่าว ด้วยความเชื่อว่า “มนุษย์ เป็น “สัตว์ที่มีความสามารถในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง”

เปลี่ยนแปลงตนเองจาก “ปุถุชน” เป็น “พุทธะ – ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” ได้

ฟื้นฟู “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ที่มีศักยภาพในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง จากที่ถูกกระทำให้เชื่อว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตได้ อันเนื่องมาจากการเกิด (วรรณะ) และ

ด้วยศักยภาพในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง มนุษย์สามารถฝึกความอดทน ข่มใจ ไม่ฝังแค้น แต่พัฒนาคุณธรรมที่สำคัญ คือ “การให้อภัย” อย่างไม่มีเงื่อนไขได้

หากไม่ฝึกฝนพัฒนาตนเองเพื่อลด “ทิฎฐิ มานะ และตัณหา” ก็อย่าหวังว่าจะนำองค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกนี้ ให้ข้ามพ้นจาก “ความขัดแย้ง” ได้เลย

ขอบคุณภาพ และศึกษาเพิ่มเติมที่:
Chuleepun Srisoontorn
Sirirat Pusurinkham
Pradit takerngrangsarit
http://cca.org.hk/…/cca-invites-applications-for-the-congr…/

Leave a Reply