‘พระม.สงฆ์ มจร’แนะครูรุ่นใหม่! ใช้สติปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานพัฒนาคนยุคดิจิทัล

วันที่ 11 ก.ย. 2562 ที่ผ่านมา ที่ห้อง IMind วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณาจารย์และนักศึกษา หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา ภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพฯ ในรายวิชาพระพุทธศาสนาและศาสนาสากล จำนวน 35 คน เกี่ยวกับการสอนพระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัล และการสอนที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน

โดยสรุปสาระสำคัญว่า เราไม่ได้สอนหนังสือแต่เป็นการสอนชีวิตของครู ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน ครูดิจิทัลต้องพูดผ่านชีวิตของครูเอง ครูต้องสอนตัวรู้อย่าเพียงแต่สอนความรู้ ด้วยการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ครูในยุคดิจิทัลจึงต้องถามว่าเด็กอยากเรียนรู้อะไรมิใช่ครูอยากสอนอะไร

จึงมีการนิยามคำว่า คนดี กระทรวงอยากให้เด็กเป็นคนดี ถามว่าคนดีของกระทรวงศึกษาธิการคืออะไร? คนดีของครูผู้ปกครองคืออะไร? คนดีของเด็กนักเรียนคืออะไร? เรียนพระพุทธศาสนาในยุคดิจิทัลควรจะเรียนอย่างไร? จึงมีการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน ด้วยการถามความต้องการของเด็ก ผู้ปกครอง ครูผู้สอน พระสอนศีลธรรม เพื่อจัดทำLearning Outcome แต่ละระดับชั้น เด็กจึงมาร่วมออกแบบการเรียนการสอน คนใช้จะต้องมีส่วนร่วม ในการออกแบบ พระพุทธศาสนามีความสำคัญมาก ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงอุปถัมภ์งานพระพุทธศาสนา ตามมาตรา 67 รัฐพึงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา

ปัจจุบันโลกของเราเป็นลักษณะของ Digital World #ไว #เร็ว #แรง การเรียนการสอนจะต้องดึงให้ช้าลงผ่านสติและสมาธิเป็นฐาน ปัจจุบันชาวอังกฤษหันมาเรียนรู้เรื่องสติและสมาธิเป็นเรื่องเป็นราว จึงเกิด Mindful tech Mindful education Mindful AI Smart Mind ใครมีสติจะสง่างามตื่นรู้เบิกบานตลอด เทคโนโลยีไม่ได้เปลี่ยนโลก ใจของคนต่างหากที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันทำให้เกิด Mindful Schools โรงเรียนสติจึงตอบโจทย์ในยุคดิจิทัล คำว่า สติ จึงมี 2 ลักษณะ คือ 1) #สติเชิงรับ หมายถึง เป็นการนั่งนิ่งๆ สงบเงียบ 2) #สติเชิงรุก หมายถึง เป็นเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ผ่านเพลง ผ่านการวาดภาพ ผ่านการจัดดอกไม้ ผ่านการเคลื่อนไหว ทำให้เกิด #สตินวัตกรรม ครูต้องออกแบบกิจกรรมผ่านสตินวัตกรรม ครูจึงต้องใช้ภาษาของเด็ก เราต้องไม่ไปยัดเยียดให้เด็ก เพราะ #ความหวังดีของผู้ให้กลายเป็นฝันร้ายของผู้รับ

ดังนั้น จึงต้องมี Mindstone ปลุกให้เติบโต เปลี่ยนให้แกล้วกล้า ปลุกให้ตื่น เป็นให้เป็นฮีโร่ของเด็กคืออะไร ? เราจะต้องสอนให้พระพุทธเจ้าเป็นฮีโร่ของเด็ก ฮีโร่ในเชิงของการเป็นคนดี เชิงพฤติกรรม เชิงเป็นต้นแบบในความเมตตากรุณา พระพุทธเจ้าเป็นต้นแบบแห่งความความดี งาม ง่าย การสอนวิชาพระพุทธศาสนาจะต้องคาดเดาไม่ได้ อย่าให้เด็กสามารถจับทางหรือคาดเดาได้ #ครูในยุคดิจิทัลจะต้องมีสติเชิงรับเพื่อออกแบบการสอนสติเชิงรุกให้กับเด็กนักเรียน จึงมีคำถามจากนักศึกษาครู มศวว่า เราจะมีวิธีการสอนวิชาพระพุทธศาสนาที่มีสติและสมาธิเป็นอย่างไร? ที่ไม่ไปกระทบผู้นับถือศาสนาอื่นๆ เราจะอยู่ร่วมกับคนที่มีความแตกต่างอย่างไร ?

Cr.เฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat

Leave a Reply