ป.ป.ช. แถลงคดี “เงินทอนวัด” เฉพาะไตรมาสแรกรออัยการสูงสุดพิจารณาอีก 6 วัด

วันที่ 28 ก.พ. 65 ณ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. ) นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสํานักงาน ป.ป.ช. พร้อมด้วยนายนิติพันธุ์ ประจวบเหมาะ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. รองโฆษกสํานักงาน ป.ป.ช. และนายภูเทพ ทวีโชติธนากุล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. รองโฆษก สํานักงาน ป.ป.ช. ร่วมแถลงข่าว “ป.ป.ช. แถลงผลงานด้านปราบปรามการทุจริต ไตรมาสแรก” ปี 2565 ชี้มูลคดีที่สำคัญจำนวน 8 คดี ซึ่งมีทั้งอดีตรัฐมนตรี ข้าราชการชั้นสูง ในส่วนของเงินทอนวัด” ซึ่งสำนวนคดีส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุด มีรายละเอียดังนี้

1.ชี้มูลความผิดข้าราชการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ คดีทุจริตการ เบิกเงินงบประมาณอุดหนุนการบูรณปฏิสังขรณ์วัดของสํานักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ (คดีเงินทอนวัด) จํานวน 6 วัดรวมมูลค่าความ เสียหายทั้งสิ้น 39,000,000 บาท ดังนี้

1.1. เรื่องกล่าวหา นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ เมื่อครั้งดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับพวก ทุจริต การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนการบูรณปฏิสังขรณ์วัดที่จัดสรรให้กับ วัดชุมนุมพระ ตําบลหนองฝ้าย อําเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ในปีงบประมาณ 2557

@มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ชี้มูลอาญาและวินัย – ส่งสํานวนให้อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 – อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุด – มูลค่าความเสียหาย 2,000,000 บาท

1.2. เรื่องกล่าวหา นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ เมื่อครั้งดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับพวก ทุจริต เงินอุดหนุนการบูรณปฏิสังขรณ์วัดและการพัฒนาวัดที่ได้จัดสรรให้ วัดดอนชัย ตําบลสันปูเลย อําเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ประจําปี งบประมาณ 2557

@มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ชี้มูลอาญาและวินัย – ส่งสํานวนให้อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 – อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุด – มูลค่าความเสียหาย 2,000,000 บาท

1.3. เรื่องกล่าวหา นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ เมื่อครั้งดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับพวก ทุจริต การเบิกจ่ายเงินงบประมาณอุดหนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ได้จัดสรรให้ วัดพระศรีเจริญ ตําบลหัวตะพาน อําเภอหัวตะพาน จังหวัดอํานาจเจริญ ประจําปีงบประมาณ 2550 ถึง 2552 , ปีงบประมาณ 2554 ถึง 2555, ปีงบประมาณ 2557 และปีงบประมาณ 2559

@มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่  20 ธันวาคม 2564 ชี้มูลอาญาและวินัย – ส่งสํานวนให้อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 – อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุด – มูลค่าความเสียหาย 17,000,000 บาท

1.4. เรื่องกล่าวหา นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ เมื่อครั้งดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับพวก ทุจริต เงินอุดหนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ได้จัดสรรให้ วัดหันสัง ตําบลหันสัง อําเภอ บางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจําปีงบประมาณ 2557

@มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ชี้มูลอาญาและวินัย – ส่งสํานวนให้อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 – อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุด – มูลค่าความเสียหาย 1,000,000 บาท

1.5. นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ เมื่อครั้งดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับพวก ทุจริต การเบิกจ่ายเงินงบประมาณอุดหนุนการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ได้จัดสรรให้ วัดราชบูรณะ ตําบลท่ามะพลา อําเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ประจําปี งบประมาณ 2555 ถึง 2557

@มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ขี้มูลอาญาและวินัย – อยู่ระหว่างเตรียมจัดส่งสํานวนให้อัยการสูงสุด ในวันที่ 4 มีนาคม 2565 – มูลค่าความเสียหาย 15,700,000 บาท

1.6.  เรื่องกล่าวหา นายพนม ศรศิลป์ เมื่อครั้งดํารงตําแหน่งผู้อํานวยการ สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับพวก ทุจริตเงินอุดหนุนการ บูรณปฏิสังขรณ์วัดและการพัฒนาวัดที่ได้จัดสรรให้วัดญาณเมธี ตําบลดงขุย อําเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ประจําปีงบประมาณ 2558

@มติคณะกรรมการ ป.ป.ช.

คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 ชี้มูลอาญาและวินัย – ส่งสํานวนให้อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 – อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุด – มูลค่าความเสียหาย 2,000,000 บาท

ทั้งนี้การชี้มูลความผิดทางอาญาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่ถือเป็นที่สุด ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคําพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด

สำนักงาน ป.ป.ช. ได้เปิดเผยต่อว่า มีเรื่องกล่าวหาที่ค้างสะสมมาจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 2,767 เรื่อง และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม 2564 – มกราคม 2565) เรื่องที่รับใหม่ จำนวน 236 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 3,003 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 246 เรื่อง คงเหลือ 2,756 เรื่อง ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งเป้าหมายดำเนินการแล้วเสร็จ ไว้ 1,667 เรื่อง

โดยเป็นเรื่องกล่าวหาที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม 2564 – มกราคม 2565) จำนวน 189 เรื่อง แยกเป็นชี้มูลความผิดทางอาญา 82 เรื่อง ชี้มูลความผิดทางวินัย 2 เรื่อง ชี้มูลความผิดทางวินัยและอาญา 102 เรื่อง ชี้มูลว่าร่ำรวยผิดปกติ 3 เรื่อง

ในส่วนของการประเมินมูลค่าความเสียหายของคดีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นั้น พบว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติชี้มูลความผิดในคดีต่างๆ รวมทั้งสิ้น 189 คดี สามารถคิดประเมินมูลค่าความเสียหายของคดีโดยประมาณ 152,811,052.00 บาท

หากจำแนกข้อมูลตามหน่วยงานของผู้ถูกชี้มูลความผิดแล้ว พบว่า ลำดับที่ 1 คือ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ลำดับที่ 2 คือ กระทรวงมหาดไทย ลำดับที่ 3 คือ กระทรวงศึกษาธิการและรัฐสภา

Leave a Reply