“สุวิทย์”นำคณะตรวจเยี่ยม “ม.สงฆ์ มจร” มอบ 4C นำพระไตรปิฎกถ่ายทอดความรู้ ช่วยพัฒนาปัญญามนุษย์ศตวรรษที่ 21 รับมือปัญญาประดิษฐ์
วันที่ 6 มกราคม 2563 เวลา13.00 น. พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมผู้บริหาร 37 รูป/คน ร่วมต้อนรับคณะ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ห้องประชุม 401 อาคารสำนักงานอธิการบดี มจร พร้อมกล่าวต้อนรับความว่า
“รอบ 132 ปี ของ มจร ที่ผ่านมา มีการเดินตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย มีการผลิตบัณฑิตและบริการสังคมเป็นสำคัญ เรามีงานวิจัยที่มีเป็นนวัตกรรมสามารถต่อต่อยอดเป็นการฝึกอบรมบริการสังคมตอบโจทย์สังคมและประเทศ ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางสังคม เรามีการจัดวิสาขบูชาโลกสร้างเครือข่ายบุคคลทั่วโลกในการทำงานร่วมกัน โดยวิสัยทัศน์ของมหาจุฬาจะยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยของโลก จะต้องมีการพัฒนาอาจารย์ในด้านสายวิชาการ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยจะนำไปสู่การพัฒนาสังคม”
หลังจากนั้น ดร.สุวิทย์ ได้มอบนโยบายให้แก่มหาวิทยาลัยความโดยสรุปว่า ในยุคปัจจุบันการสร้างองค์ความรู้ผ่านงานวิจัยเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการผลิตบัณฑิต เพราะสิ่งนี้คือการสร้างคนให้เป็นประชากรที่ดีต่อไปของประเทศ ซึ่งภายในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีพันธกิจที่สำคัญและแตกต่างจากมหาวิทยาลัยทั่วไป คือมีการเน้นในเรื่องการพัฒนาจิตใจ อีกทั้งมหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนัยะสำคัญต่อประเทศในการกระตุ้น เรื่องปัญญามนุษย์ Human Wisdom และเรื่องของจิตใจ ซึ่งมองว่า ในช่วงศตวรรษที่ 21 การศึกษาจะเป็นวิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งทำให้ฐานลูกค้าของมหาวิทยาลัย ไม่ใช่แค่บัณฑิตเท่านั้น มหาวิทยาลัยยังสามารถขยายฐานลูกค้าเป็นกลุ่มบุคคลวัยทำงาน หรือวัยผู้สูงอายุและสำคัญอย่างยิ่ง โครงการวัดประชารัฐสร้างสุข (บวร) บ้าน วัด โรงเรียน เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรยึดถือปฏิบัติต่อไป
และสิ่งสำคัญของมหาวิทยาลัยอีกสิ่งหนึ่ง คือการให้ประชาชนกลับมาเป็นปกติสุข และในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยควรยึดหลัก 4c ได้แก่ concept คือพุทธศาสนา content คือการที่มหาวิทยาลัยนำพระไตรปิฎกไปถ่ายทอดความรู้ได้ context บริบท ทำอย่างไรให้คนศตวรรษที่ 21 ทำให้หันมาสนใจ หลักธรรม เข้าใจถึงบริบทได้ communication การสื่อสารหลักธรรมให้เข้าไปอยู่ในใจมนุษย์ได้
ในปัจจุบัน สังคมเริ่มความพอดี และปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวการทำลายปัญญามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญญา หากมหาวิทยาลัยสามารถคิดโจทย์ศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้ง เปลี่ยนจาก me society เป็น we society ให้เป็นสังคมของเราได้จะเป็นสิ่งที่ดีและพัฒนาประเทศและโลกได้อีกมาก
โลกในแห่งอนาคต การใช้ชีวิตจะเป็นวงจร เรียนเพื่อทำงาน ทำงานเพื่อใช้ชีวิต ใช้ชีวิตแบบยาวนานขึ้นก็ต้องเรียน เปลี่ยนเป็นวงจรชีวิตในยุคศตวรรษที่๒๑ ซึ่งมหาลัยจะต้องทำให้คนมีชีวิตอย่างเปนปกติสุขในวงจรชีวิตในศตวรรษที่ 21 ให้ได้ และถ้ามหาวิทยาลัยมีบทบาทภาระชัดขึ้น ทบทวนช่องว่างของยุทธศาสตร์ และสร้างเพื่อเติมเต็มในส่วนที่ขาด พัฒนายุทธศาสตร์ และทำวิจัยเป็น grand challenges ว่าคนทั้งโลกกำลังเผชิญอะไร การสร้างโจทย์วิจัยมาช่วยแก้ปัญหา เราต้องดำเนินการไปในทิศไหน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งเป็นวาระของชาติและวาระของโลก
จากนั้นร่วมกันถ่ายภาพหมู่ มอบของที่ระลึกและเยี่ยมชมสถานที่ภายในมหาวิทยาลัย และร่วมปลูกต้นไม้บริเวณศาลาการเปรียญ วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศจากนั้นเดินทางกลับ ในเวลา 16.00 น.
Cr.เพจกองสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Leave a Reply