“วุฒิสภา” ลงพื้นที่แก้ปัญหา “วัดพระพุทธบาทบัวบก” ตั้งมา 107 ปี สร้างโบสถ์ไม่ได้ เพราะไม่มีโฉนดที่ดิน

วันที่ 26 มกราคม 2567 วานนี้เวลา 10.00 น. ที่ศาลาหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี วัดพระพุทธบาทบัวบก ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รองประธานคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภาคนที่ 1 ได้รับมอบหมายจาก ศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประ ธานคณะกรรมาธิการฯ ให้แก้ไขปัญหาเรื่อง การขอออกโฉนดที่ดิน 2525 ไร่ของวัดพระ พุทธบาทบัวบก โดยมี ดร.สุขอนันต์ วังสุนทร ที่ปรึกษาประจำตัว และเป็นประ ธานโครงการ “วัดยิ้ม” ขององค์การสืบสวนการทุจริต (FIO) และนางสุรางค์ เอกโชติ อดีตหัว หน้าผู้ตรวจกรมราชทัณฑ์ ผู้ที่นำคณะเข้ายื่นหนังสือร้องทุกข์ต่อ ประธานคณะกรรมาธิการ ฯ ได้เข้าประชุมร่วมกับ พระพุทธบทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก และรองเจ้าคณะอำเภอบ้านผือ และประชาชนชาวบ้านผือ จำนวนมาก

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป กล่าวว่าวันนี้ได้มาในฐานะประธานคณะกรรมการที่จะช่วยดูแลปัญหาช่วยร้องทุกข์ที่มีผู้ร้องทุกข์ร้องเรียนไป เกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินของวัด ว่ามีอุปสรรคมานานาประการ วัดตั้งอยู่ที่นี่ 100 ร้อยปี มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมาย แต่ว่าป่าไม้ กฎหมายซึ่งมาทีหลัง ได้มีข้ออาจจะขัดแย้งกัน ก็จะหาทางออกอย่างไร เราได้ประชุมคณะทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ เชิญหน่วยงาน 5 หน่วยด้วยกัน คือกรมป่าไม้ ที่ ดิน กรมอุทยาน สำนักพระพุทธศาสนาและกรมศิลปากร มาปรึกษาหารือกันว่า สภาพปัญหามันเป็นอย่างไร ตอนนี้พอจะมีแนวทางอยู่ว่า ให้ยึดกฎหมายเป็นสำคัญ ทุกหน่วยงานก็มีกฎหมาย แต่ว่ากฎหมายมันคนละฉบับนี่ มีข้อที่มองแตกต่างกันบ้าง แต่ว่าอย่างไรก็ตามในหลักของกฎ หมายก็ต้องมี ข้อยุติที่เรียกว่า ยุติธรรม ก็ต้องใช้หลักอันนั้นเป็นสำคัญ ตนก็จะประชุมอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งที่ 3 ใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า

วันนี้ที่ตนมาที่นี่ก็เพื่อที่จะดูข้อเท็จจริง และก็มากราบเยี่ยมหลวงพ่อด้วย และก็มาดูสถานที่ เท่าที่เห็นก็โดยสภาพโดยรวม ๆ แต่ว่าต้องไปดูในแง่ของข้อกฎหมาย และความเป็นไปได้ ในที่สุด เรื่องก็ต้องยุติไม่น่าจะคาราคาซังไปกว่านี้ ถ้ายุติแล้วเราอยากเห็นที่นี่ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ อาจจะเป็นป่าชุมชนแบบหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ สิงห์สาราสัตว์ที่ไม่เป็นพิษอยู่กับมนุษย์ได้จะกลับคืนมา และประชาชนก็สามารถจะใช้ประโยชน์จากวัดและจากป่าได้ด้วย

ตนดีใจที่ทางกรมศิลปากรก็จะ เสนอโครงการนี้เป็นมรดกโลก นี่ก็น่าดีใจและชาวอุดรธานีชาวบ้านผือ ทุกคนควรจะสนับสนุน ทำไปสู่จุดนั้นให้ได้ ไปสู่จุดนั้นแล้ว มันต้องผ่านด่านอะไรอีกหลายด่าน ซึ่งการทำเรื่องให้ชัดเจนในเรื่องของกฎหมาย ในเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ว่าที่ตรงนี้ใครจะเป็นคนดูแล ถึงแม้ว่าวัดเป็นคนดูแล วัดก็ถือว่าเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่งและเป็นนิติบุคคล และมีกฎหมาย พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองสงฆ์บังคับกำกับดูแลอยู่ และวัดก็เป็นกำลังที่จะสามารถดูแลป่าได้ ถ้าวัดดูแลป่าได้อุดมสมบูรณ์ขึ้นมา ไม่แพ้หรือดีกว่าเจ้าหน้าที่รัฐ เช่นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพราะมองเห็นสภาพป่าหมดไปด้วยมือของเจ้าหน้าที่ป่าไม้เป็นจำนวนมาก เรามาลองดูว่าวัดและชุมชน สามารถจะดูแลป่าได้ไหม ถ้าทำได้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ ที่จะได้มรดกโลกในอนาคต ถ้าเกิดมีธุดงคสถานของประเทศไทย จะมุมไหน จะดูโขลดหินไหน และ อันนี้เป็นความฝัน คิดว่าเป็นสมบัติของแผ่นดินเลยนะ ถ้าพูดตามภาษาทันสมัยนี่ ที่ตนพูดมาก็คือซอร์ฟพาวเวอร์

พระพุทธบทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก กล่าวว่า วัดพระพุทธบาทบัวบก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2460 เดิมชื่อวัดพระบาทภูกู่เวียง หรือวัดกู่เวียงเป็นวัดร้างเก่าแก่สมัยทวารวดี เป็นวัดเก่าแก่ในภาคอีสาน ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูพระบาท ซึ่งเชื่อมกับเทือกเขาภูพาน ที่ บ้านติ้ว หมู่ที่ ๖ ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๕๐๐ ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๒๕ ไร่ วัดนี้สร้างขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นศาสนสถาน และแหล่งอาศัยของคนโบราณมาก่อน ตามเพิงหินต่าง ๆ มักพบรอยถูกดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ภายในบริเวณวัดมีสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาส นา หลายอย่าง เช่น รอยพระพุทธบาท เสมาหิน และโบสถ์สมัยโบราณ

พระพุทธบทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก กล่าวว่า วัดพระพุทธบาทบัวบก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2,500 ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 25 ไร่ เดิมชื่อ วัดพระบาทภูกู่เวียง หรือ วัดกู่เวียง เป็นวัดร้างเก่าแก่สมัยทวารวดี ต่อมาปี พ.ศ.2459 คณะสงฆ์และชาวบ้านได้เข้ามาบูรณปฏิสังขรณ์สร้างขึ้นเป็นวัดอีกครั้งหนึ่ง โดยมีพระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ญาณสัมปันโน พระวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงในภาคนี้ เป็นผู้นำในการบูรณะเจดีย์และสร้างวัดขึ้นใหม่โดยใช้หินภูเขาเผาให้สุกผสมกับยางไม้ ยางมงและหนังสัตว์ที่เน่าและหัวกล้วยเน่ามาผสมกันนำมาก่อสร้างเสนาสน นอกจากนั้นพระคำผง พระคำเม้าได้แกะสลักลายต่าง ๆ บนองค์เจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาท ตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2460 ด้านการศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2506

โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือ พระพุทธบาทบัว บก เชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ประทับไว้โดยมีข้อ ความกล่าวอ้างถึงไว้ในตำนานพระเจ้าเลียบโลก ว่าพระพุทธองค์ได้เสด็จมาปราบนาคสองพี่น้องที่ภูกูเวียน (ภูพระบาท) เมื่อนาคทั้งสองพ่ายแพ้แล้ว ได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ประทับรอยพระ พุทธบาทไว้ 2 แห่ง คือ รอยพระพุทธบาทบัวบกแห่งนี้ และรอยพระพุทธบาทบัวบานอีกแห่งหนึ่ง ตามประวัติว่าแต่เดิมมีอุบมง (มณฑป) ขนาดเล็กสร้างครอบพระพุทธบาทไว้ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2463 พระอาจารย์สีทัตถ์ สุวรรณมาโจ ได้ธุดงค์มาพบจึงได้ปฏิสังขรณ์สร้างพระธาตุครอบใหม่ดังปรากฏในปัจจุบัน โดยใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2463 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2476 สำหรับวัดนี้ได้มีบูรพาจารย์หลายรูป อาทิ เช่น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่บุญ ขันธโชติ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่จิ๋ว พุทธญาโณได้มาธุดงค์ตามจุดต่าง ๆ ทั่วเขตแดนวัดแห่งนี้มาแล้ว

พระครูพุทธบทบริรักษ์ กล่าวต่อไปว่า อาตมาได้บวชเรียนมาตั้งแต่ พ.ศ.2511 และอยู่วัดนี้มาตั้ง แต่ปี พ.ศ.2520 ในฐานะเจ้าอาวาสรุ่นที่ 5 จนถึงปัจจุบัน ได้พิจารณาเห็นว่า วัดพระพุทธบาทบัว บก ไม่สามารถขอพระราชทานวิสุงคามสีมา อันเป็นเครื่องหมายแสดงความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่พระพุทธศาสนาสืบไปได้ เพราะการขอออกโฉนดที่ดินของวัด มีปัญหาอุปสรรคมากมาย กล่าวคือ ภายหลังที่สำนักงานที่ดิน สาขาบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้ออกมาทำการรังวัดที่ดินเป็นที่เรียบร้อย ตามคำขอรังวัด กระบวนการรังวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2565 ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 มีพื้นที่รวม 2,397 ไร่ 3 งาน 39.1 ตารางวา น้อยกว่าเดิม 102 ไร่ 60.5 ตารางวา และแจ้งว่า การรังวัดได้มีการคัดค้านจาก 3 หน่วยงานคือ กรมศิลปากร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และในระหว่างที่คณะตรวจพิสูจนสิทธิ์จังหวัดรอผลการตรวจสอบตำแหน่งที่ดินกับระวางแผนที่ทางอากาศ ประการสำคัญ ประชาชนเป็นผู้เดือดร้อน เป็นเหตุผลให้กระทบการทำมาหากิน และพื้นที่ ส.ป.ก.4-01 เดือดร้อนทั้งหมดใน 3 ตำบลใกล้เคียง อีกทั้ง ยังมีกลุ่มบุคคลเข้ามาข่มขู่ คุกคาม อาตมาภาพขอเรียนว่าวัดพระพุทธบาทบัวบก มีมติที่ประชุมคณะสงฆ์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2531 “ให้กรมศิลปากรยืมเพื่อใช้ประโยชน์โดยไม่มีกำหนด แต่จะให้ลดเนื้อที่วัดให้จำกัดกว่าเดิมไม่ได้” เป็นหลักฐาน

พระครูพุทธบทบริรักษ์ กล่าวในตอนท้ายว่า อาตมาจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการออกโฉนดที่ดินของ วัดพระพุทธบาทบัวบกเป็นกรณีพิเศษ เร่งด่วน และเป็นธรรม ถูกต้องตามหลักฐานทางราช การ ให้สอดคล้องตามกฎหมายรัฐธรรมนูญพุทธศัก ราช 2560 มาตรา 67 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระ พุทธศาสนา ความสงบสุขของประชาชน และความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติโดยรวมด้วย.

Leave a Reply