เปิดดู..นิตยภัตพระสงฆ์-ระเบียบ “กองทุนวัดช่วยวัด”

          “มีข่าวว่าผอ.สนง.พุทธศาสนาแห่งชาติ จะหักเงินนิตยภัต เจ้าคณะพระสังฆาธิการ 2 เดือน เข้ากองทุน “วัดช่วยวัด” คนไม่รู้มองเผิน ๆ เหมือนจะดีนะ พระมีส่วนร่วม แต่จริง ๆแล้ว พระมีกองทุนวัดช่วยวัดอยู่เป็นร้อยล้านบาทหักกันทุกปี ๆ แต่เงินนั้นไปไหน ทำไมไม่เอามาช่วย ตอนนี้เขาเดือนร้อนกันทั่วละ รูปที่โดนหักเกิดเดือดร้อนหลักละ ยิ่งไม่เดือดร้อนไปใหญ่หรือ ฟังเสียงพระบ้าง พุทธชาติอะ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พระเราอย่าได้เฉยแชร์วนไป อย่ายอมเขาทุกเรื่อง ไม่งั้นก็ต้องยอมอยู่ร่ำไป…”

         ปรากฎการณ์ตั้งคำถาม “กองทุนวัดช่วยวัด” เงินหายไปไหนจากพระสังฆาธิการกระหื่มโซเซียล หลังจากเมื่อวานนี้มีสื่อสิ่งพิมพ์ฉบับหนึ่งลงออนไลน์โดยอ้างคำพูดของ นายณรงค์ ทรงอารมณ์  ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พูดถึงมาตรการช่วยเหลือพระ-เณรที่ไม่สามารถออกไปบิณฑบาตในช่วงนี้ว่า แบ่งการดำเนินการ 2 ส่วน คือ พระสงฆ์ทั่วประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนวัดช่วยวัด โดยพระสงฆ์จะร่วมสละเงินนิตยภัต 2 เดือน (เงินเดือนพระ)  หรือไม่รับเงินเดือนสงฆ์จำนวน 2 เดือน เพื่อนำเข้ากองทุนและจัดสรรให้กับวัดที่เดือดร้อน นำไปดำเนินการจัดทำภัตตาหารถวายพระ-เณร ต่อไป  ส่วนที่ 2 นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำรวจวัดที่ได้รับผลกระทบไม่สามารถออกไปบิณฑบาตได้ โดยจะจัดทำแผนเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้ความช่วยเหลือต่อไป

       ก่อให้เกิดความงุนงงสงสัยในหมู่พระสังฆาธิการทั่วไป รวมทั้งคณะกรรมการมหาเถรสมาคมด้วย เพราะเกี่ยวกับเรื่องการหักนิตยภัตจำนวน 2 เดือนนั้น มหาเถรสมาคมยังไม่ได้มีมติออกมา ก่อให้เกิดกระแส ตั้งคำถามในหมู่พระสงฆ์ทั่วไป

       ล่าสุดวันนี้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ชี้แจงว่า ไม่มีแนวคิดเก็บเงินนิตยภัตพระ 2 เดือน เพื่อช่วยวัดที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  ย้ำกองทุนมีอยู่แล้ว มาจากการบริจาคของพระสังฆาธิการ  

       สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติขอเรียนว่า น่าจะเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ซึ่งกองทุนวัดช่วยวัดมีมานานแล้ว และที่มาของกองทุนนี้มาจากความสมัครใจของคณะสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย ที่ต้องการตั้งกองทุน เพื่อให้การช่วยเหลือวัดและพระสงฆ์ สามเณร ที่ประสบภัย

       “..ดังนั้น ที่เข้าใจกันว่า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะเก็บเงินนิตยภัตพระ จำนวน 2 เดือน จึงไม่มีมูลความจริง..” 

      สำหรับนิตยภัตพระสงฆ์หรือเงินเดือนพระสงฆ์เมื่อปี 2555 มีการปรับใหม่ ดังเอกสารแนบ

 

 

             ส่วนกองทุนวัดช่วยวัด เกิดขึ้นมาก่อน 2545 ก่อนที่จะเกิดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติด้วยซ้ำไป

            ดังเอกสารปรากฎหลักฐานว่า นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ รองอธิบดีกรมการศาสนา รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อ้างถึงมติมหาเถรสมาคมที่ 436/2545 กราบทูลให้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รับกองทุนวัดช่วยวัดไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ซึ่งต่อมาพระองค์ก็รับกองทุนไว้ช่วยวัดไว้ในพระอุปถัมภ์

       ต่อมาในปี 2546 คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย (กองทุนวัดช่วย) ได้มีมติหลักการในการหาเงินเข้ากองทันไว้ ดังนี้

        1.ขอรับบริจาคนิตยภัตจากพระสังฆาธิการทุกระดับ 1 เดือน โดยกำหนดเดือนมกราคมของทุก ๆ ปี

        2.จัดให้มีการแสดงธรรมเทศนาในวันอาสาฬหบูชาพร้อมกันทุกวัน ทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมปัจจัยเข้ากองทุน

        3.จัดงานทอดผ้าป่าที่ท้องสนามหลวงในวันวิสาขบูชา

        4.ให้วัดทุกวันจัดทอดผ้าป่าเพื่อรวบรวมปัจจัยส่งเข้ากองทุน

        5. ตั้งตู้รับบริจาคในวัดต่าง ๆ ตามที่เจ้าคณะภาคเห็นสมควร เช่น วัดพระปฐมเจดีย์ วัดโสธรวราราม เป็นต้น

       รายละเอียดังปรากฎตามเอกสารด้านล่างนี้

        ต่อมาในปี 2561 มีการออกมติระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยกองทุนวัดช่วยวัด พ.ศ…. มีทั้งหมด 7 หมวด 23 ข้อ ลงนามเห็นชอบประกาศ เมื่อวันที่ 20 เดือนมกราคม 2562 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม

      รายละเอียดระเบียบกองทุนดังเอกสารแนบ

        สำหรับกองทุน “วัดช่วยวัด” ที่มีพระสงฆ์ตั้งคำถามว่ามีจำนวน “นับร้อยล้านบาท” นั่น อยู่ที่ไหน ใครคุมเอาไว้ และใครมีอำนาจเบิกจ่าย ทำไมในห้วงเวลาที่สมเด็จพระสังฆราชมีพระดำริให้ตั้งโรงทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากไวรัสโคโรนาหรือโควิด 19 นี้ยังไม่นำออกมาใช้ ทำไมในขณะที่พระภิกษุ-สามเณรกำลังประสบกับมหาอาพาธภัยขนาดนี้จึงไม่นำออกมาใช้ ..เงินยังอยู่ครบหรือไม่อย่างไร..ขอให้พระสังฆาธิการทุกรูปร่วมกันตรวจสอบ เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์ คือ เงินคณะสงฆ์ทั้งสังฆมณฑล..

***********************

Leave a Reply