ครูใหญ่โรงเรียน ต.ช.ด.เดือดป่าไม้ห้ามส่งอาหารผ่านเขตป่าเข้าโรงเรียน

ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนบ้านทิไล้ป้า  ซึ่ง ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้าน ตำบล ไล่โว่ อำเภอ สังขละบุรี กาญจนบุรี เดือดเจ้าหน้าที่ป่าไม้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ผม….ครูใหญ่ ทิไล่ป้า..ณ..วันนี้ผมถือว่าผมเป็นคนไร้ซึ่งความสามารถ…เพราะไม่อาจเอา..อาหารกลางวันนักเรียนเข้าไปให้นักเรียนกินได้…เพราะป่าไม้ไม่ให้วิ่งรถเข้า..รถโรงเรียนที่ผมสร้างจากผ้าป่าของหลายคณะหลายฝ่าย…ไม่สามารถวิ่งได้…อนาคตต่อไป..คงจะโอนโรงเรียน ตชด.ไปให้หน่วยป่าไม้ดูแลก็แล้วกันนะ…ในวันที่ 17-18 ธ.ค.61 นี้ ผมต้องเอานักเรียนออกมาสอบนักเรียนพระราชานุเคราะห์ ถ้าออกมาไม่ได้ ก็ค่อยถวายรายงานสำนักพระราชวังอีกที…ในวันที่ 19 องคมนตรีท่านจะไปมอบผ้าห่มที่บ้านทิไล่ป้า..ผมเข้าไปโรงเรียนเพื่อต้อนรับท่านไม่ได้ก็ค่อยว่ากันไป…กับไอ้พวกป่าไม้…แล้วผมขอแจ้งทุกคณะทุกสายที่จะเข้าไปช่วยพัฒนาโรงเรียนบริจาค..สิ่งดี ๆให้โรงเรียน..ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป..ขอยกเลิกครับ…ต้องขออภัย..ทุกท่านครับ ..ที่ผมไม่มีความสามารถแล้วครับ ..พี่โป้..พี่วิชญ์..พี่ทองพูล…ครูเดช..และหลาย ๆท่านที่แพลนงานไว้ …ไม่ต้องเข้าแล้วครับ…ป่าไม้เขาไม่ให้เดินทางเข้าแล้วครับ..นักเรียนก็ให้มันอดตายอยู่นั่นล่ะ..เพราะผมเอาอาหารเข้าไปก็ยังไม่ได้….ก็ให้ป่าไม้แกงหน่อไม้เลี้ยงลูกหลานเอาครับ…แล้วไอ้เจ้าหน้าที่ป่าไม้…อย่าเดินผ่านโรงเรียนกรูก็แล้วกัน…แล้วจะได้ยินเสียงปืนลั่นป้ัง….รับรางวัลดีเด่น..แต่เล่นกับชาวบ้านนักเรียนแบบนี้เหรอ..ได้กรูจะจัดให้ไอ้หำ…….เดี๋ยวค่อยต่อยกสองพะนะว่า..555555555

ความเป็นมาโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นตำรวจหน่วยหนึ่งในสังกัด สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่การปฏิบัติหน้าที่มีความแตกต่างกับตำรวจหน่วยอื่น คือ ต้องตระเวนตรวจพื้นที่ตามแนวชายแดน จึงมีหน้าที่เสมือนรั้วของชาติ และเป็นแนวป้องกันด่านแรกในการปกป้องอธิปไตยของชาติไทย ทำให้ได้พบเห็นประชาชนผู้เดือดร้อนเกี่ยวกับการครองชีพและโรคภัยไข้เจ็บจำนวนมาก จึงได้ให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะสามารถช่วยได้ เช่น แจกอาหาร เสื้อผ้า ให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย แนะนำการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ยังได้พบเห็นหมู่บ้านต่าง ๆ มีเด็กซึ่งอยู่ในวัยเรียนเป็นจำนวนมากยังไม่ได้เรียนหนังสือ เนื่องจากหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบด้านการศึกษาไม่สามารถเข้าไปจัดตั้งโรงเรียนได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ป่าเขาทุรกันดาร และบางพื้นที่มีสถานการณ์ก่อการร้ายของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ดังนั้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2498 จึงได้คิดที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้น สอนหนังสือให้แก่ชาวเขาเพื่อให้เขาเหล่านั้นได้รู้ภาษาไทยจะได้ติดต่อทำความเข้าใจกันได้สะดวก และเพื่อเป็นสื่อในการเผยแพร่ความรู้และวิทยาการในการพัฒนาความเป็นอยู่ตลอดจนทำให้เกิดความมั่นคงในด้านการปกครองอีกด้วย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2499 ที่หมู่บ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2499 ซึ่งใช้ชื่อว่า “โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 1” การจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือ ในระยะเริ่มแรกไม่มีงบประมาณสนับสนุน ครูก็ต้องใช้ตำรวจตระเวนชายแดน นักเรียนก็เป็นเด็กยากจนไม่มีเงินที่จะจัดซื้อหนังสือ สมุด ดินสอ ฯลฯ เด็กเหล่านี้จึงได้รับแจกหนังสือและอุปกรณ์การเรียนจากผู้มีจิตเมตตาบริจาคผ่านตำรวจตระเวนชายแดน

bbps bbps

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 เป็นต้นมา การดำเนินการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่ตำรวจตระเวนชายแดน สำหรับจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ คือ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์และโรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ อีกทั้งในปี พ.ศ. 2507 สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ได้พระราชทานการสนับสนุนและทรงอุปถัมภ์การดำเนินงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอย่างกว้างขวาง โดยได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินที่มีผู้บริจาคถวายโดยเสด็จพระราชกุศล นำไปจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และจะเสด็จฯ ไปทรงเปิดโรงเรียนด้วยพระองค์เองทุกแห่ง อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ องค์กรภาคเอกชน ตลอดจนคณะบุคคลต่างๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลืออีกส่วนหนึ่งด้วย กิจการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจึงได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ

bbps

จากการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เยี่ยมเยียนราษฎร ได้ทรงทราบว่าเยาวชนในชนบทส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาทุพโภชนาการ ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งจะมีผลเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาด้านการศึกษาเพราะเมื่อเด็กเยาวชนมีสุขภาพไม่ดี ก็ไม่สามารถจะเข้ารับการศึกษาได้ดี จึงมีพระราชดำริให้จัดทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยให้เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2523 ต่อมาทรงมีพระราชดำริว่าเด็กนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแล้วแทบไม่มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงต่อไปได้ เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจนและขาดทุนทรัพย์ที่จะสนับสนุนได้ กอปรกับมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ห่างไกล หากต้องการที่จะศึกษาต่อก็ต้องเดินทางเข้ามาศึกษาในสถานศึกษาของอำเภอหรือจังหวัด ซึ่งก็จะประสบกับปัญหาในเรื่องที่พักอาศัยจึงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเด็กนักเรียนเหล่านี้โดยได้พระราชทานทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดี มีสติปัญญาที่จะศึกษาต่อไปได้ ให้ได้รับการศึกษาต่อจนถึงขั้นสูงสุดตามระดับสติปัญญาความสามารถและความเหมาะสม ส่วนผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาต่อไปได้ รวมทั้งพวกที่ไม่มีสัญชาติก็มีพระราชประสงค์ให้ฝึกอาชีพที่สามารถใช้ได้ในท้องถิ่นนั้น จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน จึงได้มีโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เกิดขึ้นทั้งสิ้น 8 โครงการ ได้แก่
1) โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
2) โครงการส่งเสริมสุขภาพการศึกษา
3) โครงการฝึกอาชีพ
4) โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
5) โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
6) โครงการส่งเสริมสหกรณ์
7) โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
8) โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐรวม 10 หน่วยงาน คือ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมอนามัย กรมควบคุมโรค สถาบันอาชีวะ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

bbps

เพื่อให้เด็กเยาวชนและประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร และด้อยโอกาสทางการศึกษาได้รับโอกาสเช่นเดียวกับเด็กนักเรียนในเขตเมืองหรือเขตชนบท กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้พัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานใหม่สำหรับการให้การศึกษาเด็กและเยาวชนตามแนวชายแดนและถิ่นทุรกันดาร โดยกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน คือ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดโอกาสของเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ไกลคมนาคมหรือเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคงให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เสมอภาค และมีคุณภาพตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และในช่วงเวลานั้นเอง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานคำแนะนำว่า โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนควรกำหนดปรัชญาให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอย่างแท้จริง กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนจึงได้กำหนดปรัชญาของโรงเรียนขึ้นว่า “สร้างภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต สัมฤทธิผลความมั่นคง” ซึ่งสะท้อนบทบาทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่สำคัญ 3 ประการ คือ บทบาทเป็นสถานศึกษา บทบาทเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และบทบาทเป็นหน่วยรักษาความมั่นคงปลอดภัยและรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน

      //////////////////////////////////////////////////////

ขอบคุณ : http://is.udru.ac.th/local-scholars/bpps.html

: เฟชบุ๊ค เอนก คำภิมูล

Leave a Reply