(ชมคลิป) จีนพบ”เตียงหินอ่อนขาว” สลักภาพพุทธศิลป์ในสุสานคู่รัก 1,400 ปี

             “เตียงหินอ่อนขาว” ในสุสานคู่รัก 1,400 ปี เผยพลวัตศาสนายุคจีนโบราณ และลัทธิความเชื่อจากเปอร์เชียที่เตียงหินอ่อนในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยเมื่อกว่า 1,400 ปีที่แล้ว ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน (แฟ้มภาพซินหัว)

ภาพแกะสลักตามความเชื่อศาสนาพุทธและลัทธิความเชื่อจากเปอร์เชียที่เตียงหินอ่อนในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยเมื่อกว่า 1,400 ปีที่แล้ว ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน (แฟ้มภาพซินหัว)
    สำนักข่าวซินหัว, 6 ม.ค. — เมื่อไม่นานมานี้คณะนักโบราณคดีจีนค้นพบสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยา อายุ 1,400 ปี พร้อมเตียงหินอ่อนสีขาวแกะสลักภาพพุทธศิลป์ผสมผสานกับลัทธิความเชื่อของชาวเปอร์เซีย

เจียวเผิง ผู้อำนวยการฝ่ายการขุดสำรวจ สังกัดสถาบันวิจัยวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดี กล่าวว่าสุสานก่ออิฐแห่งนี้มีความเก่าแก่ย้อนกลับไปถึงยุคราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618) ตั้งอยู่ในเขตหลงอันของเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน    เตียงหินอ่อนแกะสลักภาพวิถีชีวิตประจำวันของเจ้าของสุสาน รวมถึงเรื่องราวทางศาสนาผ่านรูปปั้นที่มีลักษณะของลัทธิโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) อันเป็นศาสนาของชาวเปอร์เซียโบราณ และภาพดอกบัวแบบศาสนาพุทธ

เตียงหินอ่อนที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยาที่ตกทอดจากยุคราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618) ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน (ภาพจาก ไชน่า เดลี่)
เตียงหินอ่อนที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยาที่ตกทอดจากยุคราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581-618) ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน (ภาพจาก ไชน่า เดลี่)

ฐานของเตียงหินอ่อนในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุย ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน (ภาพจาก ไชน่า เดลี่)

              ฐานของเตียงหินอ่อนในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุย ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอน                    กลางของจีน (ภาพจาก ไชน่า เดลี่)

เจียวกล่าวว่าเตียงหลังนี้เผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเทคนิคการแกะสลักในยุคราชวงศ์สุย และมีนัยสำคัญยิ่งยวดต่อการศึกษาพัฒนาการ วิวัฒนาการรูปทรง และการใช้เตียงหินตามลำดับฐานะในสุสานจีน

      ข่งเต๋อหมิง หัวหน้าสถาบันฯ กล่าวว่าร่างที่นอนอยู่บนเตียงเป็นบุรุษนาม “ชีว์ชิ่ง” และมีร่างหญิงผู้เป็นภรรยานอนอยู่เคียงข้างด้วย โดยคำจารึกบนหลุมฝังศพบอกเล่าตัวตนและเรื่องราวชีวิตของบุคคลทั้งสอง

ภาพแกะสลักตามลัทธิความเชื่อจากเปอร์เชียผสมกับพุทธศิลป์ที่เตียงหินอ่อนในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยเมื่อกว่า 1,400 ปีที่แล้ว ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน (แฟ้มภาพซินหัว)
   ภาพแกะสลักตามลัทธิความเชื่อจากเปอร์เชียผสมกับพุทธศิลป์ที่เตียงหินอ่อนในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยเมื่อกว่า 1,400 ปีที่แล้ว ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน (แฟ้มภาพซินหัว)

         ขณะเดียวกันคำจารึกดังกล่าวยังกลายเป็นหลักฐานใหม่ของการศึกษาพัฒนาการตัวอักษรจีนและการเขียนพู่กันจีนในยุคราชวงศ์สุย

         ข่งเสริมว่าตระกูลชีว์อาศัยอยู่ในภูมิภาคหลงซี ซึ่งปัจจุบันคือมณฑลกานซู่ของจีน โดยภูมิภาคหลงซีเป็นส่วนสำคัญของเส้นทางสายไหมโบราณ และได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากยุโรป เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง

        “เตียงหลังนี้และภาพแกะสลักอีกนับสิบที่เกี่ยวพันกับศาสนาพุทธและลัทธิโซโรอัสเตอร์เป็นหลักฐานของการแลกเปลี่ยนระหว่างอารยธรรมระหว่างโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซึ่งมีนัยสำคัญต่อการศึกษาการผสานรวมทางกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนา”

       อนึ่ง สถาบันฯ เริ่มต้นขุดสำรวจสุสานแห่งนี้ในเดือนเมษายน 2020 โดยค้นพบโบราณวัตถุมากกว่า 120 รายการ ซึ่งรวมถึงเครื่องหินและเครื่องปั้นดิน

จารึกลายมือเขียนด้วยพู่กันจีนบนแผ่นป้ายในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุย ที่เก่าแก่กว่า 1,400 ปี ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน (แฟ้มภาพซินหัว)
           จารึกลายมือเขียนด้วยพู่กันจีนบนแผ่นป้ายในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุย ที่เก่าแก่กว่า 1,400 ปี ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน (แฟ้มภาพซินหัว)
ก็อปปี้จารึกลายมือเขียนด้วยพู่กันจีนบนแผ่นป้ายที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุย ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน (ภาพจาก ไชน่า เดลี่)
            ก็อปปี้จารึกลายมือเขียนด้วยพู่กันจีนบนแผ่นป้ายที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุย ในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน (ภาพจาก ไชน่า เดลี่)
เครื่องเคลือบรูปตุ๊กตาที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน (ภาพจาก ไชน่า เดลี่)
เครื่องเคลือบรูปตุ๊กตาที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน (ภาพจาก ไชน่า เดลี่)

เครื่องเคลือบที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน (แฟ้มภาพซินหัว)
เครื่องเคลือบที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน (แฟ้มภาพซินหัว)

frameborder=”0″ scrolling=”no” width=”640″ height=”360″>

เครื่องเคลือบที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน (แฟ้มภาพซินหัว)

           เครื่องเคลือบที่พบในสุสานโบราณของคู่สามี-ภรรยายุคราชวงศ์สุยในเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของจีน (แฟ้มภาพซินหัว)

                                                         

frameborder=”0″ scrolling=”no” width=”640″ height=”360″>

******************************

ขอบคุณ : โดย: ผู้จัดการออนไลน์

 

Leave a Reply