พระหนุนนักเรียนร.ร.วัดสาลีโขภิตาราม ปลูกผักปลอดสารพิษ สร้างความมั่งคงทางอาหาร

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2564 เฟซบุ๊กPhraMaha Adun Moonphol ได้โพสต์ข้อความว่า

ชื่อโครงการ : โครงการเศรษฐกิจพอเพียงปลูกผักปลอดสารพิษทางอาหารของนักเรียนโรงเรียนวัดสาลีโขภิตาราม

โดย: พระมหาอดุลย์ อาสโถ

ประชากร : นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6

ปัญหา : เพื่อลดการใช้จ่าย ของ นักเรียนผู้มีรายได้น้อย ลดการใช้จ่ายและมีเงินออมเพื่อการศึกษาในอนาคต ซึ่งมีหลักการและเหตุผลเพื่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารในโรงเรียน เกษตรในโรงเรียนเป็นการดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหารเช้า และอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

ทฤษฎี : โดยมีการปลูกผัก การเลี้ยงปลา เป็นการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการนำเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบการผลิตอาหารของโรงเรียน มีการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล การพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียนให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในโรงเรียน ชุมชน และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามกลุ่มวัยเด็ก วัยเรียน วัยทำงานและวัยผู้สูงอายุ มีการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขภาวะทั้งพื้นที่ที่บ้าน โรงเรียน สถานที่ทำงาน ศาสนสถาน พื้นที่สาธารณะ และชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านการเกษตร และสร้างเจตคติที่ดีด้านสุขภาวะต่อเด็กในโรงเรียน และผู้ปกครองในชุมชน อาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งต่อการดำรงสุขภาวะที่ดีของประชาชน

ผลลัพท์และเป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนวัดสาลีโขถิตาราม ได้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมเกษตร ปลูกผักไว้กินเองเพื่อมีผักที่ปลอดสารพิษ ทั้งเมื่อเช้าและมื้อเที่ยง

ผลลัพท์ที่ได้ : โรงเรียนได้วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ/กิจกรรม นักเรียนได้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม และจัดการอาหารเช้าและอาหารกลางวันในโรงเรียน โรงเรียนได้แก้ปัญหาการขาดอาหาร มีการปลูกผักยกแคร่ การเพาะเห็ด การเล้ยงไก่ เลี้ยงปลา เป็นการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของโรงเรียน

ครูและนักเรียนมีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในโรงเรียน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค มีการสร้างพื้นที่ต้นแบบสุขาวะในโรงเรียน สถานที่ทำงาน และชุมชน เป็นการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านการเกษตร โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบและการทำเกษตรในโรงเรียน

Leave a Reply