ความเป็นการเมืองของ “มหาเถร” โดย..สุรพศ ทวีศักดิ์ ในบ้านเรา เวลามีปัญหาว่าพระสงฆ์ยุ่งเกี่ยวการเมืองได้หรือไม่ สื่อมวลชนมักจะไปหาคำตอบจากหลักการ 2 อย่างคือ ธรรมวินัยกับคำสั่งและมติมหาเถรสมาคม แต่ธรรมวินัยบัญญัติขึ้นในบริบทสังคมโบราณที่ศาสนากับรัฐ-การเมืองไม่ได้แยกจากกัน คำสอนในไตรปิฎก (เช่นจักกวัตติสูตร เป็นต้น) ได้ให้ภาพหน้าตาของ “รัฐพุทธศาสนา” ชัดเจนว่า กษัตริย์หรือรัฐต้องปกครองโดยธรรม ต้องเข้าไปขอคำปรึกษาจากสมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สอนธรรมโอวาทแก่ผู้ใต้ปกครอง ให้การคุ้มครองอุปถัมภ์นักบวช และสนับสนุนการเผยแพร่ศาสนา แปลว่าในแง่หลักการธรรมวินัย ศาสนากับการเมืองไม่แยกจากกัน เพราะผู้ปกครองต้องใช้หลักธรรมของพุทธศาสนาในการปกครอง ต้องสอนธรรม อุปถัมภ์คุ้มครองและส่งเสริมการเผยแพร่ศาสนาของนักบวช ส่วนนักบวชก็มีหน้าที่สอนธรรมแก่ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง ดังนั้น ธรรมวินัยจึงไม่มี “เส้นแบ่ง” ที่ชัดเจนว่าศาสนาและนักบวชต้องไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง (แบบโบราณ) ส่วนในแง่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ก็มีการนำหลักคำสอนในไตรปิฎกมาสถาปนารัฐพุทธศาสนาตั้งแต่ยุคอโศกเป็นต้นมา เมื่อรัฐราชาธิปไตยของสยามไทยรับพุทธศาสนามา ก็มีการสถาปนากษัตริย์เป็นสมมติเทพ โพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าอยู่หัว มีการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะชั้นต่างๆ ในโครงสร้างระบบชนชั้นของ “รัฐพุทธศักดินา” ก็ประกอบด้วยชนชั้นปกครอง คือ กษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ ขุนนาง และพระสงฆ์ ส่วนชนชั้นผู้ใต้ปกครองคือไพร่ ทาส ในโครงสร้างเช่นนี้พระสงฆ์จึงอยู่ในการเมือง ไม่ได้อยู่นอกการเมืองหรืออยู่เหนือการเมืองแต่อย่างใด เพราะพระสงฆ์ต้องทำหน้าที่ทางการเมืองสนับสนุนการปกครองโดยธรรมของกษัตริย์ ต่อมาเมื่อมีการสร้างอุดมการณ์ “รัฐพุทธราชาชาตินิยม” ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4, รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 คณะสงฆ์ได้ถูกแยกเป็นสองนิกาย คือธรรมยุติกนิกายกับมหานิกาย และมีการก่อตั้ง “มหาเถรสมาคม” เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ ให้มีสถานะเป็น “ศาสนจักรของรัฐ” ที่ขึ้นต่อพระราชอำนาจ เพราะกษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช กรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าคณะปกครองระดับสูง รวมทั้งแต่งตั้งสมณศักดิ์ชั้นยศต่างๆ ของพระสงฆ์ ศาสนจักรในรัฐพุทธราชาชาตินิยมจึงอยู่ในโครงสร้างอำนาจทางการเมือง ที่มีหน้าที่สนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดย “ศาสน์” หรือศาสนาอันเป็นสถาบันหลักที่แยกไม่ออกจากชาติและกษัตริย์นั้น รัชกาลที่ 6 ชี้ชัดว่าหมายถึง “พระไตรรัตน์” หรือพุทธศาสนา ส่วนศาสนาอื่นๆ ย่อมอยู่ใต้ร่มของพุทธราชาตินิยม ตราบที่ไม่เป็นภัยต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อันเป็นอุดมการณ์สูงสุดของรัฐพุทธราชาชาตินิยม ดังนั้น เวลาบอกว่า “พระสงฆ์ไม่ควรเกี่ยวข้องกับการเมือง” ตามกรอบคิดศาสนจักรของรัฐจึงไม่ได้หมายความว่า “พระสงฆ์ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่แล้ว” หรือ “พระสงฆ์ต้องไม่เกี่ยวข้องการเมืองทุกกรณี” เพราะอันที่จริง พระสงฆ์ถูกกำหนดให้ “ทำหน้าที่ทางการเมือง” สนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่แล้ว ตัวอย่างปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้ศาสนจักรของรัฐ เช่น กรณีที่ ว. วชิรเมธี ออกรายการ “เดินหน้าประเทศไทย” โปรโมท “ค่านิยม 12 ประการ” ว่าคล้ายธรรมะในพุทธศาสนา จึงไม่ใช่การยุ่งเกี่ยวการเมือง แต่เมื่อพระเมธีธรรมาจารย์หรือ “เจ้าคุณประสาร” และพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโตวิจารณ์การแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19 ของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา มหาเถรฯ กลับวินิจฉัยว่าเป็นการ “ยุ่งเกี่ยวการเมือง” ดังนั้น การวินิจฉัยของมหาเถรฯ จึงมี “ความเป็นการเมือง” (the political) ในความหมายของการแยกฝ่าย แยกมิตร แยกศัตรูอย่างชัดเจน เพราะถ้าพระเณรแสดงออกทางการเมืองในทางสนับสนุนรัฐบาล สนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ไม่ถือว่ายุ่งเกี่ยวการเมือง ควรกระทำ แต่ถ้าแสดงออกในทางตั้งคำถาม วิจารณ์รัฐบาล และสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชนถือเป็นการยุ่งเกี่ยวการเมือง ไม่ควรกระทำ คำถามสำคัญ จึงไม่อยู่ที่ประเด็นว่า พระสงฆ์ยุ่งเกี่ยวการเมืองได้หรือไม่ แต่อยู่ที่ว่า ทำอย่างไรถึงจะยกเลิกระบบศาสนจักรของรัฐ ที่เป็นองคาพยพทางการเมืองของฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยเป็นศาสนจักรที่ทำหน้าที่สนับสนุนอุดมการณ์ทางการเมือง คืออุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ คำตอบก็คือต้อง “แยกศาสนาจากรัฐ” (secularization) คือ แยกศาสนาออกจากอุดมการณ์รัฐ แยกองค์กรปกครองสงฆ์และองค์กรทุกศาสนาออกจากโครงสร้างอำนาจทางการเมือง ให้ทุกองค์กรศาสนาเป็นเอกชนทั้งหมด รัฐไม่อุปถัมภ์ส่งเสริมศาสนาใดๆ แต่เป็นกลางทางศาสนาและการไม่นับถือศาสนา รักษาเสรีภาพและความเสมอภาคทางศาสนาเท่านั้น ถ้าแยกศาสนาจากรัฐได้ รัฐกับองค์กรศาสนาเอกชนก็ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน การแต่งตั้งผู้นำองค์กรศาสนา และการบริหารกิจการภายในของศาสนาไม่ใช่เรื่องของรัฐ เป็นเรื่องที่แต่ละองค์กรศาสนาจะบริหารจัดการกันเอง ผู้มีอำนาจทางการเมืองใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อสนับสนุนความมั่นคงแห่งสถานะและอำนาจของตนเองไม่ได้ นักบวชทุกศาสนามีเสรีภาพทางศาสนาและเสรีภาพทางการเมืองได้อย่างแท้จริง มีสิทธิเลือกตั้ง และมีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อสนับสนุสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยได้ เหมือนพลเมืองทั่วไป พูดให้ชัดคือ การบอกว่า “ศาสนากับการเมืองไม่เกี่ยวข้องกัน” จะ “make sense” ก็ต่อเมื่อเราใช้เกณฑ์การแยกศาสนาจากรัฐมาตัดสิน เมื่อใช้เกณฑ์แยกศาสนาจากรัฐมาตัดสิน ศาสนาจะถูกใช้เป็นอุดมการณ์ของรัฐ เป็นหลักการปกครอง การบัญญัติกฎหมาย และจะมีศาสนาจักรของรัฐที่ทำหน้าที่ทางการเมืองเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ทางศาสนาไม่ได้ ต้องถือว่าศาสนาเป็นความเชื่อส่วนบุคคลหรือชุมชนศรัทธาต่างๆ โดยเกณฑ์การแยกศาสนาจากรัฐ ถ้านักบวชหรือผู้นำศาสนาจะเข้ามายุ่งเกี่ยวการเมืองก็มายุ่งได้ภายในกรอบของระบอบเสรีประชาธิปไตยโลกวิสัย คือมีสิทธิเลือกตั้ง และเคลื่อนไหวทางการเมืองในทางสอดคล้องกับประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เช่น ศาสนาจารย์มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์เป็นแกนนำต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองของคนผิวดำในอเมริกาเป็นต้น แต่จะออกมาเล่นการเมืองเพื่อสิทธิพิเศษทางศาสนาใดๆ ไม่ได้ เช่นจะออกมาเรียกร้องให้บัญญัติ “ศาสนาประจำชาติ” ไม่ได้เป็นต้น แต่บ้านเรากลับตรงกันข้าม เวลาพระสงฆ์ออกมาชุมนุมเรียกร้อง “สิทธิพิเศษทางศาสนา” หรือเป็นสิทธิประโยชน์ขององค์กรศาสนาโดยเฉพาะ เช่น ออกมาชุมนุมเรียกร้องกระทรวงพุทธศาสนา เรียกร้องให้บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ กลับบอกว่า “ไม่ใช่การเมือง” แต่เป็น “การพระศาสนา” มหาเถรฯ ไม่ห้าม พอพระสงฆ์ออกมาสนับสนุนสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยอันเป็นหลักการสากลหรือเป็นเรื่องสิทธิประโยชน์ร่วมกันของประชาชนทุกดคน มหาเถรฯ กลับห้าม นี่คือความเป็นการเมืองของมหาเถรฯ ที่เป็นศาสนจักรของรัฐ อันเป็นองคาพยพหนึ่งในโครงสร้างอำนาจทางการเมืองของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ที่มีหน้าที่ทางการเมืองในการกำหนดให้พระสงฆ์และพุทธศาสนาเป็น “เครื่องมือ” ทางการเมืองในการสนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ วาทกรรม “ไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง” ของมหาเถรฯ จึงเป็นเพียง “มายาคติ” ที่สวนทางกับความเป็นจริงแห่งความเป็นการเมืองของมหาเถรฯ ซึ่งเป็นหลักฐานในตัวเองอย่างประจักษ์ชัดแจ้ง! แหล่งข้อมูล :https://prachatai.com/ จำนวนผู้ชม : 328 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ภาพพระราชทานตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค และ 6 ประโยค อุทัย มณี มิ.ย. 20, 2024 วันที่ 20 มิ.ย. 67 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดพระราชทานภาพถ่าย… สะเทือนวงการบันเทิงเมียนมา! ดารานักร้องดังหนีชีวิตหรูบวชชี อุทัย มณี พ.ค. 22, 2019 วันที่ 22 พ.ค.2562 สร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการบันเทิงต่างแดนอีกครั้ง… เพิ่งยกระดับ! รพ.สนามวัดสุทธิรับผู้ป่วยสีเขียวเตียงเต็มแล้ว 3 รายสาหัส อุทัย มณี ก.ค. 31, 2021 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังกรุงเทพมหานคร… เปิดยุทธการ : จาโปตาแง แก้จน คนเมืองยะลา อุทัย มณี มี.ค. 06, 2023 “ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามชายแดน” คือคำขวัญประจำเมืองจังหวัดยะลา… วัดพระศรีมหาธาตุ ชนะ..!! ศาลปกครองสั่งเพิกถอน ‘กองทัพอากาศ’ จากการใช้ประโยชน์ที่ดินราชพัสดุ อุทัย มณี มิ.ย. 04, 2021 ศาลปกครองสั่งเพิกถอน ‘กองทัพอากาศ’ จากการใช้ประโยชน์ที่ดินราชพัสดุบริเวณสุสานและฌาปนกิจสถาน… ‘มจร’มหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาชีวิตและสังคมอุดมสติ อุทัย มณี ธ.ค. 15, 2018 วันที่ 15 ธันวาคม 2561 ที่ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์… “ปลัดมท.” เผยเล็งบรรจุวิชาพลเมืองและศีลธรรม ร.ร.สังกัดมหาดไทยแล้ว อุทัย มณี ก.พ. 06, 2024 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 17.00 น. ที่อาคารรัฐสภา สัปปายะสภาสถาน… เจ้าคณะจังหวัดอุบล ฯ จับมือ “ผู้ว่าฯ” Kick off โครงการ “อารยเกษตร” เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ 72 พรรษา อุทัย มณี มิ.ย. 05, 2024 วันที่ 5 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 น. นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี… ‘บิ๊กตู่’ชวนสวดมนต์ข้ามปีนานาชาติ สักการะพระพุทธรูปสำคัญจาก13ปท. อุทัย มณี ธ.ค. 21, 2018 เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ… Related Articles From the same category มหาดไทย จับมือ Airbnb เดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจท่องเที่ยวชุมชน ภายหลังสถานการณ์การระบาดโควิด-19 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน วันที่ 26 เม.ย. 65 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย… โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเทพญาณวิเทศ ขึ้นชั้นรองสมเด็จที่ “พระพรหมวชิรญาณ” เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2563 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสถาปนาสมณศักด์… ชาวพุทธเฮ!! ครม.แต่งตั้ง “นิยม เวชกามา” เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ขับเคลื่อน “พระพุทธศาสนา -กิจการคณะสงฆ์” วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาล มีรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี… บรรยากาศคณะสงฆ์“วังเวง” ทั้ง“มส-รัฐบาล” นิ่ง?? ไม่รู้ว่าคณะสงฆ์และชาวพุทธทั่วไปมีความรู้สึกเหมือนกันหรือไม่ว่า… ฟรุ๊ตบอร์ด เห็นชอบโครงการพัฒนาลำไยอย่างยั่งยืนพร้อมรับทราบรายงานผลการบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้-ภาคเหนือ1ล้านตัน “อลงกรณ์”สั่งเร่งเดินหน้าแผนพัฒนาผลไม้ 5 ปี (2565-2570)รั บมือสถานการณ์แข่งขันใหม่…
Leave a Reply