“ดร.กนกวรรณ”รมช.ศธ.ร่วมเสวนาออนไลน์ทิศทางในการพัฒนาคณะครุศาสตร์ในวิถีใหม่ 60 ปี คณะครุศาสตร์ “มจร” ชมมีเสน่ห์สามารถบูรณาการหลักพุทธธรรม ช่วยพัฒนาครูยุคใหม่ ทำหน้าที่เป็นโค้ชได้ดี ประธานสภาคณบดีครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยเสนอรัฐบาล จัด WiFiฟรีทั่วประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม 2564 มีการเสวนาออนไลน์ทิศทางในการพัฒนาคณะครุศาสตร์ในวิถีใหม่ : New Normal เนื่องในงาน 60 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) โดยมีวิทยากรร่วมแสดงความเห็นประกอบด้วย ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ รศ.ดร.สุรพล สุยพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มจร ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.สมชัย ศรีนอก อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มจร
ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ความเป็นเสน่ห์ของคณะครุศาสตร์ มจร คือบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาครูในยุคใหม่ ครูไม่ว่าจะยุคใดจะต้องมีความดีความเก่ง ครูต้องปรับการสอนเป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้คือ FA และครูยุคใหม่ต้องเป็นโค้ช จัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย เสน่ห์ของครุศาสตร์คือ การบูรณการหลักพุทธธรรมในการพัฒนาครูอย่างมีมาตรฐาน
รศ.ดร.สมบัติ นพรัก ประธานสภาคณบดีครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิสะท้อนว่า จะต้องจะปรับตัวทุกมิติในการพัฒนาครูยุคใหม่ ถ้าปรับไม่ทันจึงยากที่อยู่ในรอดในยุคปัจจุบัน ยิ่งยุคนี้ในประเทศไทยเข้าไปสู่สังคมผู้สูงวัย ปัจจุบันจำนวนผู้เรียนลดลงเพราะโครงสร้างประชากร ไม่รู้จะเรียนไปทำไม ครุศาสตร์จะต้องปรับเป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์หรือหลักสูตรระยะสั้น เราต้องไม่ผลิตครูที่ไม่สอดรับกับความต้องการของสังคม กระทรวงศึกษามีรูปแบบการสอนแบบออนไลน์ จึงควรมี WiFi ฟรีทั่วประเทศเพื่อให้เด็กนักเรียนเข้าถึงและใช้อินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว
รศ.ดร.สุรพล สะท้อนว่า เราพูดสองเรื่องคือ นวัตกรรมและเทคโนโลยี จะต้องเอามาช่วยพัฒนาครุศาสตร์โดยมีทิศทางที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของ มจรคือ พระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ครุศาสตร์ถือว่าเป็นศาสตร์สมัยใหม่จะต้องมีการบูรณาการกับพระพุทธศาสนา ครุศาสตร์มีความพิเศษเพราะหลอมรวมกับพระพุทธศาสนานำไปสู่การปฏิบัติ มีการพัฒนาฝึกจิตของครูให้มีสุขภาพจิตดีเพื่อนำไปสู่การพัฒนาจิตใจของเด็กนักเรียน ครุศาสตร์ มจร จะต้องพัฒนาจิตใจของครูให้มีความเข้มแข็ง โดยครุศาสตร์ มจรจะต้องมีอัตลักษณ์ในการพัฒนาทางด้านจิตใจที่มีความเข้มแข็ง สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรระยะยาว เป็นหลักสูตรเสริมสร้างสุขภาพจิตของผู้คนในสังคม การจัดการศึกษาควรจัดเพื่อตอบสนองผู้สูงอายุเป็นหลักที่ทันสมัย ซึ่งคนมาเรียนปริญญาโทเอกมากกว่าปริญญาตรี แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุเข้ามาเรียนรู้ เราต้องจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัย มจร จึงควรจัดหลักสูตรที่นำไปใช้ได้จริงโดยเอารายวิชาต่างๆ สามารถนำไปปฏิบัติได้เลยมิใช่เรียนเพื่อรู้แต่ควรเรียนเพื่อนำไปปฏิบัติได้จริง สายครุศาสตร์จะต้องพัฒนาเป็นหลักสูตรระยะสั้น เช่น สอนจิตวิทยาครูควรนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง กระบวนการเรียนรู้การสอนยุคใหม่ครุศาสตร์ต้องเป็นผู้นำหน้าในมหาจุฬาจนคณะอื่นจะต้องมาเรียนรู้
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร.วิทยากรต้นแบบสันติภาพ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร ศิษย์เก่าครุศาสตร์ พธ.บ.53 ได้ร่วมแสดงความเห็นด้วยว่า ยุคปัจจุบันหลักสูตรถ้าไม่ปรับตัวให้เหมาะกับยุคของดิจิทัลจะถูกดิสรัปชั่น ซึ่งจะมีหลักสูตรอื่นเข้ามาแทนที่ โดยหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจะต้องมีการปรับให้สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน โดยเนื้อหาคำสอนของพระพุทธศาสนามีความดีความงามความจริง แต่ต้องปรับวิธีการนำเสนอให้เหมาะสมตาม S-M-C-R จากการเสวนาล่าสุดมีการพูดถึง #เพจเด็กอยากทำกิจกรรม ซึ่งมีการตั้งคำถามว่า สิ่งใดที่โรงเรียนจัดให้แล้วแต่เด็กไม่อยากได้ คำตอบคือ วิชาพระพุทธศาสนาหรือวิชาศีลธรรม เป็นคำตอบที่ต้องกลับมาทบทวนว่า เพราะเหตุใดวิชาพระพุทธศาสนาหรือวิชาศีลธรรมจึงเป็นคำตอบของเด็กนักเรียนที่ไม่อยากเรียน จึงทำให้นึกถึงคณะครุศาสตร์ มจร ต้องกลับมาทบทวนประเด็นทางสังคม ว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร วิธีการแก้ไขควรจะเป็นอย่างไร เรียกว่า ถ้าปรับคือรอด ถ้าเงียบคือร่วง
จึงเสนอว่าควรมีการโฟกัสกรุ๊ปครั้งยิ่งใหญ่ ภายใต้คำว่า #จัดหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนาอย่างไรให้โดนใจคนยุคดิจิทัล ระดมมุมมองจากผู้มีความเชี่ยวชาญเชิงทฤษฎีและเชิงการปฏิบัติในด้านต่างๆ ประกอบด้วย ด้านพระไตรปิฎก ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านจิตวิทยา ด้านการโค้ช ด้านวิทยากรฝึกอบรม ด้านการออกแบบกิจกรรม ด้านพุทธสันติวิธี ด้านFA-AL และด้านพระพุทธศาสนา เป็นต้น รวมถึง นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา พระธรรมทูต พระสอนศีลธรรม พระวิทยากรฝึกอบรม พระธรรมวิทยากร วิทยากรกระบวนการ ผู้แทนสพฐ.กระทรวงศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครูสอนวิชาพระพุทธศาสนา ผู้ปกครอง นักเรียน เพื่อมาช่วยสะท้อนมุมมองในการมองว่าการสอนพระพุทธศาสนาอย่างไรให้โดนใจคนยุคดิจิทัล จะต้องฟังบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง บุคคลที่จะได้รับผลกระทบจากการสอนวิชาพระพุทธศาสนาและมีความเชี่ยวชาญ โดยที่ผ่านมาสพฐ.ได้มีการปฏิรูปการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนซึ่งมีการตอบโจทย์ ภายใต้คำว่า #การเรียนการสอนที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน ในโรงเรียนของ สพฐ. ทั่วประเทศ
พระปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า การปรับหลักสูตรจะต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งเป็นการตอบโจทย์บุคคลทุกช่วงวัย สอดรับกับกระทรวงใหม่ โดยคำสำคัญในยุคปัจจุบันในหลักสูตรระยะสั้น มีคำว่า ดิจิทัล นวัตกรรม การโค้ช ดิสรัปชั่น กระบวนการFa การสอนแบบAL การออกแบบกิจกรรม พุทธบูรณาการ ศตวรรษที่ 21 เจเนอเรชั่นGen #สติสมาธิเป็นฐาน คำถามคืออะไรเป็น Nanodegree วิชาพระพุทธศาสนา วิชาพระพุทธศาสนาไม่ถูกDisruption วิธีการสอนต่างหากที่ถูกดริสรัปถ้าไม่ปรับตัว ทำให้นึกถึงผลการวิจัยเกี่ยวกับความรู้พบว่า ความรู้มีอายุเพียง 2-7 ปี เท่านั้นเอง แสดงว่า #ความรู้ที่เราเรียนมามีวันหมดอายุ แปลว่าสิ่งที่เราเรียนมาเมื่อ 7 ปี ที่แล้ว ความรู้ของเราเก่าแล้วต้องอัพเกรดความรู้ของตนเอง ตั้งคำถามว่า ทำไมเราจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตเทรนที่มาแรงมากเรียกว่า Nanodegree หมายถึงการเรียนเพียงแค่สิ่งที่เราต้องใช้ในการทำงานหรือจำเป็นต่อชีวิต ต่อไปจึงไม่จำเป็นต้องเรียนถึง ๔ ปีเหมือนในปัจจุบัน เพราะเป็นการเรียนที่เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก โดยเราใช้ความรู้เพียงแค่นิดเดียวจากที่เราเรียนมา จึงเกิดคำว่า Nanodegree ขึ้นมาด้วยการเรียนเฉพาะสิ่งที่จะใช้งานและมีความจำเป็นต่อชีวิตเท่านั้น เพราะเป็นความรู้ที่มีความสดใหม่อยู่เสมอ เช่น ความรู้ด้านของปัญญาประดิษฐ์ AI ความรู้ที่สามารถประกอบอาชีพให้ดีขึ้น ทำให้เราต้องตระหนักว่า การเรียนรู้จะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
ทำให้ทักษะมีความสำคัญมากในยุคปัจจุบันก่อนจะพูดถึง ReSkill จึงจำเป็นต้องพูดถึง UpSkill ก่อนเพราะ UpSkill เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับทักษะเดิมของเราที่มีอยู่ ส่วน ReSkillเป็นการเปลี่ยนทักษะใหม่ สาเหตุทำไม ReSkill จึงมีความสำคัญในยุคปัจจุบันเพราะเกิดคำว่า Disruption ขึ้นมา โดยดิสรัปชั่นจะทำต่างๆ ไม่แน่นอน ซึ่งแปลว่า ทุกอาชีพมีความเสี่ยง ทุกชีวิตมีความเสี่ยง การที่เราอยู่กับทักษะเดิมๆ จะทำให้เรามีความเสี่ยงมาก จึงต้องReSkillตามเทรนที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ตามDisruptionที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ แต่เราจะมีแค่ ReSkill อย่างเดียวไม่ได้ จึงจะต้องเพิ่มคุณค่าในเชิงลึกของทักษะเข้าไปด้วย วิธีในการเลือกเรียนในยุคที่คอร์สออนไลน์เกิดขึ้น เราต้องตั้งเป้าหมายก่อนว่าเราจะเรียนรู้อะไร เอาไปใช้ทำอะไร ผู้สอนเป็นใคร มีผลงานจริงหรือไม่ เป็นสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญน่าเชื่อถือ ในยุคปัจจุบันจึงต้องเรียนรู้ 3 ทักษะคือ #ทักษะทางเทคโนโลยี สามารถทำให้เราทำงานในยุคปัจจุบันที่มีความเชื่อมโยง #ทักษะทางด้านCreativity จะทำให้เราเอาชนะระบบ สามารถคิดในสิ่งที่คนอื่นและหุ่นยนต์คิดไม่ได้ และ #ทักษะทางด้านSoft Skill เป็นทักษะที่เพิ่มมูลค่าให้กับตัวเรามากที่สุด เพราะทำให้เราสามารถสื่อสารกับคนอื่น สร้างคุณค่าให้กับทีม คุณค่าภายในจิตใจ จึงถึงเวลาที่เราจะต้องเรียนรู้ เพราะความรู้เพิ่มรวดเร็วมาก ถ้าเราไม่ปรับตัวเราจะถูกDisruptionอย่างแน่นอน
พระปราโมทย์ กล่าวอีกว่า ดังนั้น จึงตั้งคำถามอะไรเป็น Nanodegree ในวิชาการสอนพระพุทธศาสนาหรือสาขาอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนาและสาขาอื่นๆ ควรมีการปรับและพัฒนาเป็นหลักสูตรระยะสั้น เพื่อตอบโจทย์พระสอนศีลธรรมและครูสอนวิชาพระพุทธศาสนารวมถึงสาขาอื่นๆ เมื่อถึงนึกการสอนต้องนึกถึงครุศาสตร์ มจร ถือว่าเป็นจุดแข็งจุดเด่นที่ควรได้รับการพัฒนาต่อไป การสอนพระพุทธศาสนาหรือสาขาอื่นๆ อาจจะถูก Disruption ถ้าไม่ปรับตัวในตอนนี้และไม่ออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะกับเด็กยุคดิจิทัล จึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการมองเพื่อการพัฒนาในฐานะศิษย์เก่าครุศาสตร์ โดยสรุปผู้ทรงคุณวุฒิสะท้อนว่า บทบาทครูยุคใหม่ควรเป็นโค้ช โดยในทิศทางการพัฒนาครุศาสตร์ในอนาคตจะต้องมองถึงเสน่ห์ในการบูรณาการหลักพุทธธรรม เพราะความโดดเด่นในด้านการพัฒนาครูจะต้องพัฒนาด้านจิตใจเป็นฐาน เพราะนึกถึงครูต้นแบบด้านคุณธรรมจะต้องนึกถึงครุศาสตร์มหาจุฬา แต่เราต้องฝึกความเป็นอัตลักษณ์ครูพัฒนาจิตใจของครูให้มีความเข้มแข็ง รวมถึงเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสม ผลิตครูเพื่อสอนคน โดยความเป็นเสน่ห์ของคณะครุศาสตร์มหาจุฬาคือบูรณาการหลักพุทธธรรม ซึ่งประธานสภาคณบดีครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทยเสนอWiFiฟรีทั่วประเทศเพื่อการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตต่อไป
Leave a Reply