วันที่ 1 ธันวาคม 2564 นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นางศลิษา ภิรมย์รัตน์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดอุบลราชธานี นายกเหล่ากาชาดจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน นำจิตอาสา 904 จิตอาสาพระราชทาน และพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกิจกรรมอาสาเฉพาะกิจโครงการ โคก หนอง นา โมเดล ด้วยการจัดทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาแบบไม่กลับกอง เพื่อเป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ ณ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี ได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่บริเวณลานข้างศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ฝั่งทิศตะวันตก เพื่อใช้เป็นพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักจากผักตบชวาไม่กลับกอง เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ซึ่งถือเป็นแห่งที่ 2 ของจังหวัดอุบลราชธานี ต่อจากวัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม ซึ่งการสร้างศูนย์การเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักจากผักตบชวาไม่กลับกองในพื้นที่ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีในครั้งนี้ คาดหวังว่าจะเป็นต้นแบบเพื่อขยายผลเเละถ่ายทอดองค์ความรู้การทำปุ๋ยหมักผักตบชวาสู่พื้นที่อำเภอ ตำบล ที่มีผักตบชวา และขยายผลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ของจังหวัดอุบลราชธานี
โดยมี 2 เจ้าคุณ ที่ปรึกษา นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ อำเภอเขื่องใน และ พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้การจัดทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาแบบไม่กลับกองให้กับจิตอาสาจังหวัดอุบลราชธานี การจัดทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง เป็นหนึ่งในโครงการเพื่อขับเคลื่อนตามแนวทางพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งผักตบชวา 40 ตัน จะได้ปุ๋ยหมัก 8 ตัน ใช้ระยะเวลาหมัก 60 วัน
นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ผักตบชวา เป็นวัชพืชน้ำที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว / เมื่อโดนกระแสน้ำจะไหลขาดออกจากกัน / กระจายตัวออกเป็นส่วนย่อยๆและเพิ่มปริมาณจนหนาแน่นอย่างรวดเร็ว/ กีดขวางทางไหลของน้ำ /ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน จังหวัดจึงได้นำวัชพืชและผักตบชวา /มาทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง / เพื่อนำไปใช้ในการเกษตร / ซึ่งส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในคลอง/และลำน้ำดีขึ้น /และผลักดันให้เกิดเป็นต้นแบบชุมชน / ในการจัดการกับวัชพืชและผักตบชวา / ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน นอกจากนั้น ยังได้ประโยชน์ ได้ปุ๋ย หมักชีวภาพ สูตร 15 -15- 0 ไปใช้ประโยชน์ในชุมชนโดยประชาชนสามารถมารับปุ๋ยดังกล่าว ไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้โดยสามารถ เอาขี้วัวหรือผักตบชวามาแลกรับปุ๋ยต้นแบบที่ศาลากลางจังหวัดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ในครัวเรือนของตนต่อไป
Leave a Reply