“อนุกมธ.ส่งเสริมอุตสาหกรรม SME ไทย สภาฯ” ลงพื้นที่หารือสถาบันการเงินช่วยวิกฤตผู้ประกอบการที่ SME BANK

วันที่ 2 สิงหาคม 2565 ที่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) เขตพญาไท คณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมอุตสาหกรรม SME ไทย ใน คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงพื้นที่ดูงานและร่วมประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการSMEs เข้าถึงแหล่งทุนของรัฐ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) โดยมีแนวข้อหารือประกอบด้วย

1. การหารือแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ MEs กลุ่มเปราะบาง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ด้านการเงินในรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นและช่วย SMEs ได้ จะเกี่ยวข้องกับฝ่ายใดหรือหน่วยงานใด โดยที่ทางคณะอนุกรรมาธิการฯ จะนำไปพิจารณา อะไรคือ Pain point ของโครงการ ที่จะไม่สามารถช่วยเหลือกลุ่มที่ยังเข้าถึงแหล่งทุนไม่ได้ตามที่ทางธนาคารประเมิน

2.ความสามารถของ ธพว. หากสามารถช่วยเหลือ SMEs ได้ ควรให้กำหนดโดยกู้ได้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาทเพื่อจะได้ช่วย SME ใต้ภูเขาน้ำแข็งให้ได้จำนวนรายมากขึ้น เพื่อลดภาระของประเทศ และ สร้างGDP ให้กับประเทศ

3. การเข้าไปเร่งรัดให้รัฐฯช่วยเหลือ SMES โดยใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท หรือจำนวนหนึ่ง เพื่อจะเป็นโครงการนำร่อง ธพว.

4. กองทุนประชารัฐของกระทรวงอุตสาหกรรมปัจจุบันมีการวางงบประมาณช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างไร

5. จากโครงการของ ธพว.เช่นสินเชื่อเพื่อฟื้นฟู SMEs และสินเชื่อสร้างโอกาส เสริมสภาพคล่อง SMEs อยากให้ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อ ที่เป็นอุปสรรคใน Column 4,5 โดยพิจารณาเช่น ปี 2564 ถ้ายังสามารถปิดงบการเงินและมีกำไร ควรเพิ่มทุนให้ SMEs 3-5 เท่าของกำไร เพื่อเสริมสภาพฯเนื่องจาก SMEs ก็เป็นลูกค้า เจอกับวัตถุดิบแรงงาน รวมทั้งเงินเฟ้อสูงขึ้น

6. ในกรณี SMEs กลุ่มเปราะบางที่เกิดจากปัญหาต่างๆ ในห่วงโซ่ของปัญหา ธพว. จะมีสินเชื่อ SMES ให้SME ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐ ตามที่ผู้แทนกระทรวงการคลังได้ให้ข้อมูลต่อที่ประชุม ซึ่งคณะคาดว่าน่าจะมีโครงการช่วยเหลือ SMEs จะทำอย่างไรให้เกิด Win Win Win ทั้งในส่วนUser/SMEs/Bank (USB)

7. การคิดดอกเบี้ยโดยรวมแล้วไม่เกิน ร้อยละ 5-6 เพื่อเป็นโครงการต้นแบบสนับสนุน SMEs ประมาณ100 – 6,000 ล้านบาท จะขอหารือร่วมกันกับ ธพว. ในการเพิ่มศักยภาพ SMES

Leave a Reply