“ต้นโพธิ์วัดสระเกศ” สำคัญไฉน?? หลังจาก “พระธรรมโพธิมงคล” เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้พัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ “ลานโพธิ์” หน้าพระอุโบสถ มีประชาชนกลุ่มหนึ่งเรียกร้องให้ทบทวน เนื่องจากเกรงว่าไปกระทบกับต้นไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะต้นโพธิ์ที่มีประวัติมาอันยาวนาน จนกระทั้งกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้เข้าไปพูดคุยกับทางวัด ต่อมาได้ให้ทางวัดระงับการปรับปรุงไว้ก่อน พร้อมกับขอให้เขียนแบบแปลนการปรับปรุงให้แน่ชัด ร่วมกันเสียก่อนแล้วค่อยดำเนินการต่อไป “ผู้เขียน” พูดตรง ๆ ว่า ไม่เคยเข้าไปเดินเล่นหรือเหยียบลานโพธิ์ดังที่ว่ามาก่อนเลย แต่เคยมองผ่านเข้าไป เห็นอยู่ลาง ๆ แบบรก ๆ แม้แต่ทางเข้าประตูวัด ก็เคยมีข่าวว่า “ต้นปาล์ม” ที่เรียงรายอยู่ข้างทางที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” หรือ สมเด็จเกี่ยว เคยปลูกไว้ก็อยู่ในข่ายถูกปรับปรุงภูมิทัศน์เฉกเช่นเดียวกัน “ผู้เขียน” พูดคุยกับบรรดามหาลาพรตศิษย์วัดสระเกศ บางราย ที่โทรมาสะท้อน มาเล่าให้ฟัง ด้วยความเป็นห่วง แต่ไม่กล้าไปพูดหรือสะท้อนกับเจ้าอาวาสหรือผู้รับผิดชอบที่ดูแลเรื่องนี้ เนื่องจาก “ไม่คุ้นเคย” ซึ่งกันและกัน “ผู้เขียน” ค้นหาข้อมูลความเป็นมาของ “ต้นโพธ์” หน้าพระอุโบสถวัดสระเกศ พร้อมกับฟังจากการบอกเล่าของ “ผู้รู้” พอสรุปได้ว่า ในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา คณะสงฆ์และพระมหากษัตริย์ ได้ปรึกษาหารือกัน ได้มีการส่งสมณทูตไปศรีลังกา เป้าหมายหลัก ก็คือ นอกจากไปตามคำขอของกษัตริย์ศรีลังกาแล้ว ก็มีเป้าหมายเพื่อไปยืมพระไตรปิฎของประเทศศรีลังกา กลับมาด้วยเพื่อมาสอบทานกับพระไตรปิฏกของไทย หลังได้มาแล้ว แต่ยังไม่ทันได้ส่งพระไตรปิฎกกลับคืน อยุธยาก็เกิดสงครามกับพม่าเสียก่อนจนเสียกรุง ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช กอบกู้บ้านเมืองได้และได้ตั้งกรุงธนบุรีได้สำเร็จ แต่ก็ยังทรงยุ่งอยู่กับการสงครามและการสร้างบ้านแปลงเมืองเป็นส่วนมากจึงยังไม่ได้นำพระไตรปิฎกไปส่งคืนก็เกิดปัญหาภายในของกรุงธนบุรี เมื่อถึงรัชกาลที่ 1 ตั้ง กรุงเทพมหานคร เรียบร้อย ทรงฟื้นฟูบ้านเมืองทุกด้าน หนึ่งในนั้นก็คือด้านพระศาสนา ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดมหาธาตุจนสำเร็จ แต่ยังไม่ทันนำพระไตรปิฎกไปคืนศรีลังกา ก็สวรรคตเสียก่อน ต่อมาถึงรัชกาลที่ 2 ทรงโปรดให้มีการนำพระไตรปิฏกไปคืนศรีลังกา โดยโปรดให้แสวงหาพระที่มีอุปนิสัยด้านวิปัสสนา ชอบธุดงค์ มีความอดทน จึงได้ พระอาจารย์ดี และ พระอาจารย์เทพ จากสำนักวัดสระเกศ ที่มีอัธยาศัยชอบธุดงค์ไปตามสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่พระนครไปนครศรีธรรมราชจนถึงใต้สุดของราชอาณาจักรจึงโปรดให้พระอาจารย์ดี พระอาจารย์เทพจากวัดสระเกศเป็นหัวหน้าคณะสมณทูตนำพระไตรปิฏกไปคืนประเทศศรีลังกา พระมหากษัตริย์ศรีลังกาทรง ปีติดีใจ ได้พระไตรปิฏกคืน จึงโปรดให้นำหน่อพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์ จากต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้มาถวายรัชกาลที่ 2 จำนวน 3 หน่อ เป็นการตอบแทน ในขณะเดียวกันเพื่่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรสยามด้วย องค์รัชกาลที่ 2 เมื่อได้หน่อต้นศรีพระมหาโพธิ์มาแล้ว ก็ทรงมีพระราชศรัทธาและเกิดปีติเป็นหนักหนา จึงเสด็จพระราชดำเนินทรงปลูกดวยพระองค์เอง เมื่อปีจอ ฉศก จุลศักราช 1176 ตรงกับพุทธศักราช 2357 ที่วัดสระเกศต้นหนึ่ง วัดสุทัศน์เทพวราราม ต้นหนึ่ง และทรงปลูกที่ วัดมหาธาตุ อีก ต้นหนึ่ง สำหรับต้นโพธิ์ลังกา ณ ลานหน้าพระอุโบสถวัดสระเกศ ต้นนี้เป็นหน่อพระศรีมหาโพธิ์สายตรงจากต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ต้นที่หนึ่งเป็นพระมหาโพธิ์ต้นที่พระพุทธเจ้านั่งตรัสรู้ พระเจ้าอโศกโปรดให้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์รุ่นที่สองไปปลูกที่ลังกา และต่อมากษัตริย์ลังกาโปรดให้นำพระศรีมหาโพธิ์รุ่นที่สามมาปลูกที่กรุงเทพ หากนับตามอายุพระศรีมหาโพธิ์หน้าโบสถ์วัดสระเกศก็เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นเหลน เท่าที่คุยกับลูกศิษย์มหาลาพรต จากวัดสระเกศ เล่าว่า พระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ จะมีบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ศรีลังกา นับถือมาก เวลามารับหน้าที่สำคัญในประเทศไทย เช่น เอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย มีหลายท่าน ต้องมากราบไหว้เสมอมา เปรียบเสมือนตัวแทนประเทศของเขา.. สรุปใจความสำคัญของต้นโพธิ์วัดสระเกศ นอกจากเป็นต้นไม้ที่พระสิทธัตถะทรงอาศัยใช้เป็นร่มเงาเพื่อแสวงหาโมกขธรรม จนตรัสรู้แล้ว ยังเป็นต้นไม้ที่องค์รัชกาลที่ 2 ทรงปลูก รวมทั้งต้นโพธิ์ต้นนี้ แสดงถึงสัญลักษณ์สื่อถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศศรีลังกาและประเทศไทย ด้วย “ผู้เขียน” พยายามที่สุดจะไม่พูดถึงว่า “การปรับปรุง” ภูมิทัศน์ตรงลานโพธิ์หน้าพระอุโบสถ “ดีหรือไม่ดี” เพราะผู้เขียนเชื่อว่า พระธรรมโพธิมงคล คงมีเจตนาดี อยากให้วัดสะอาด ดูแล้วสบายตา เกิดความร่มรื่นร่มเย็น สร้างวัดให้เป็น “ศูนย์กลางชุมชน” เป็นสถานพักผ่อนหย่อนใจ แม้กระทั้งเรื่อง “ขายตั๋ว” อาศัยหางตั๋วไปแลกของ หรือ ต้นลีลาวดี ที่เป็นต้นไม้สัญลักษณ์คู่กับภูเขาทอง ก็มีพรรคพวกมาบอกมาเล่าว่า “ถูกตัดทิ้ง” ไปแล้ว อันนี้ผู้เขียนก็ไม่ทราบเช่นกันว่าจริงหรือไม่จริง?? แต่ถ้าทั้งสองเรื่องหากเป็นจริง “ผู้เขียน” ก็คิดเช่นกันว่า เจ้าอาวาสวัดสระเกศและกรรมการวัดคงมีเหตุผลของท่าน ในขณะที่ “ชาวพุทธ” แบบผู้เขียน รวมทั้ง “ศิษย์เก่า” วัดสระเกศ ทุกคนก็มีสิทธิ์ “กระตุก” จีวรและเตือน “สติ” ท่านได้เช่นกัน..พวกเราชาวพุทธต้องคิดแบบไม่มีอคติซึ่งกันและกัน ตักเตือนซึ่งกันและกันแบบกัลยาณมิตร “วิน-วิน” แบบนี้ สังคมชาวพุทธมันจึงจะไปรอดและมั่นคง !! แม้กระทั้ง โดยส่วนตัวผู้เขียนก็เชื่อว่า พระธรรมโพธิมงคล เป็นพระสุปฎิปันโน แบบฉบับของพระรามัญ ที่เคร่งครัดพระวินัย คงไม่ทำอะไรโดยไร้เหตุผล หรือแม้กระทั้ง “พระมหาปัญญา” เลขานุการวัดสระเกศ กับผู้เขียนก็พอก็รู้จักกัน มีเบอร์โทรศัพท์ มีไลน์ ซึ่งกันและกัน!! แต่สุภาษิตไทยมีอยู่คำหนึ่งสำหรับเตือนสติได้ดีอยู่เสมอคือ “สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” เพราะฉะนั้น การพูดถึงวัดสระเกศ ภายใต้การบริหารของ พระธรรมโพธิมงคล “ผู้เขียน” มักเขียนด้วย”โปรดโปร่ง” ไม่ใส่ “ความรู้สึกส่วนตัว” ชอบหรือไม่ชอบ อาศัยหลักการที่ผู้เขียนคิดว่า “ถูกต้อง” เป็นหลักในการสื่อสาร วัดทุกวัดในประเทศไทย ผู้เขียนถือว่าเป็น “สมบัติของชาติ” เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน เป็นของส่วนรวม มิใช่ของผู้ใดผู้หนึ่ง หรือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่จะคิดทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ.. จำนวนผู้ชม : 708 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ‘พระมหาสุรศักดิ์’เกจิแห่งเมืองแม่กลอง ปลุกเสกเหรียญสุดเฮง 28 มิถุนายน 2559 อุทัย มณี ก.ค. 03, 2019 เหรียญเศรษฐีมหาเฮง ๆ"สุดเฮง!" จัดสร้างโดยชมรมกลุ่มศรัทธาท้าวหิรัญพนาสูร… “ม.สงฆ์ มจร” ร่วมมือวิทยาลัยพุทธเวียดนาม พัฒนาการศึกษาเถรวาทกับมหายาน เผยแผ่ผ่านระบบออนไลน์ อุทัย มณี ม.ค. 16, 2023 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ที่เมืองญาจาง จังหวัดคัญฮัว ประเทศเวียดนาม… ครม.ไฟเขียว ตั้ง”ณรงค์ ทรงอารมณ์”นั่ง ผอ.พศ. อุทัย มณี ม.ค. 14, 2020 วันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายณรงค์… “อธิบดี พช.” ปิดอบรมศาสตร์พระราชา ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” นำพาประเทศรอด อุทัย มณี ธ.ค. 03, 2020 "อธิบดี พช." เทิดทูนศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทฤษฎีใหม่… วัดพระธรรมกายบูรณาการบวช 3 ประเทศ กว่า 5,000 รูป สร้างศาสนทายาท-สืบอายุพระพุทธศาสนา อุทัย มณี ธ.ค. 01, 2022 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร… มท. ร่วมกับแม่บ้านมหาดไทย 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดินหน้าขับเคลื่อนกิจกรรม Change for Good สร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน อุทัย มณี มี.ค. 12, 2022 วันที่ 12 มี.ค. 65 เวลา 09:00 น. ที่ห้องประชุมแก่นเมือง ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น… สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช อุทัย มณี พ.ย. 21, 2019 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเสด็จฯทำเนียบฯ ชมไทยเป็นพหุสังคม… ศบค.มท. กำชับกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ “เทศกาลสงกรานต์หยุดยาว” ขอความร่วมมือประชาชน “การ์ดอย่าตก” อุทัย มณี เม.ย. 08, 2022 วันนี้ (8 เม.ย. 65) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร… รายงานพิเศษ: การขับเคลื่อน “โคก หนอง นา” จังหวัดนครนายก อุทัย มณี เม.ย. 28, 2021 “จังหวัดนครนายกที่ดินแพงมากเพราะอยู่ใกล้กรุงเทพเป็นจังหวัดท่องเที่ยว… Related Articles From the same category ไม่หลุดโผ!! พระธรรมโพธิมงคล ขึ้นแท่น “เจ้าอาวาสวัดสระเกศ” วันที่ 20 สิงหาคม 2564 วันนี้มีการประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม โดยมี… “วัดไทยแดนพุทธภูมิ” นำพระสงฆ์นานาชาติ ๙ ประเทศ “เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล” วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา… “นักวิชาการพุทธคนดัง” ถาม “รมต.แจ๋น” พระติดคุกฟรี รัฐจะเยียวยาอย่างไ? วันที่ 29 ม.ค. 67 นายจตุรงค์ จงอาษา นักวิชาการอิสระด้านพระพุทธศาสนา… องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาวพบ “อนุชา” จับมือไทยร่วมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 เวลา 14.00 น. ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล… ปลัด มท. ปลื้ม ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านพะกอยวา โชว์ โคก หนอง นา กักเก็บน้ำได้จริง ปลัด มท. ปลื้ม ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านพะกอยวา โชว์ โคก หนอง…
Leave a Reply