ปลัด มท.มอบนโยบาย “การบริหารจัดการน้ำและลดความเสี่ยงจากอุทกภัย” เน้นย้ำ “น้อมนำพระราชดำริ มุ่งพัฒนาคน และทำงานเป็นทีมเพื่อให้สำเร็จอย่างยั่งยืน” วันนี้ 11 พ.ค. 65 เวลา 11:00 น. ที่ห้องประชุมเฟื่องนคร ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะ ป.ย.ป.1 ร่วมมอบนโยบาย หัวข้อ “การสร้างตัวแบบนโยบายและขยายผลการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน” ในการประชุมขับเคลื่อนและบูรณาการโจทย์ภายใต้โครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (หลักสูตร ป.ย.ป.) ประจำปี 2565 โจทย์หัวข้อที่ 2 ด้านการบริหารจัดการน้ำและลดความเสี่ยงจากอุทกภัย ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะ ป.ย.ป.2 รองอธิบดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพื้นที่นำร่อง (เชียงใหม่ สุโขทัย อุบลราชธานี) รองหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ทีม Change for Good รุ่น 1 รุ่น 2 และพื้นที่นำร่อง และข้าราชการทุกกระทรวง รวมกว่า 150 คน ร่วมรับฟัง นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 70 ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำรัสและแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นแนวทางไปสู่การบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืน ทั้งในมิติการป้องกันปัญหาภัยแล้ง และการป้องกันปัญหาน้ำท่วม ยังผลทำให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังใจความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานในโอกาสต่าง ๆ อาทิ องค์ที่ 1 “… หลักสำคัญว่า ต้องมีน้ำ น้ำบริโภคและน้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำ คนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้า คนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้..” ที่ได้พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2539 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ที่สะท้อนให้เห็นว่า ถ้ามีน้ำคนก็อยู่ได้ ไม่มีน้ำฝนก็อยู่ไม่ได้ เพราะน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ องค์ที่ 2 “…เคยพูดมาหลายปีแล้ว ในวิธีที่จะปฏิบัติเพื่อที่จะให้มีทรัพยากรน้ำพอเพียงและเหมาะสม คำว่าพอเพียง ก็หมายความว่า ให้มีพอในการบริโภค ในการใช้ ทั้งในด้านการใช้บริโภคในบ้าน ทั้งในการใช้เพื่อการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ต้องมีพอ ถ้าไม่มีพอ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ชะงักลง แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่เราภูมิใจว่า ประเทศเราก้าวหน้าเจริญ ก็ชะงัก ไม่มีทางที่จะมีความเจริญ ถ้าไม่มีน้ำ..” ที่ได้พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 สะท้อนถึงวิธีการปฏิบัติที่จะทำให้มีทรัพยากรน้ำพอเพียงและเหมาะสม ทั้งในการบริโภค ในการใช้ เป็นการตอกย้ำว่า ถ้าไม่มีน้ำ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไปต่อไม่ได้ ความเจริญก็ไม่เกิด และ องค์ที่ 3 “.. เราควรพิจารณาว่า ถ้าสามารถที่จะเก็บน้ำที่ลงมาท่วม สกัดไว้ไม่ให้ลงมาท่วม ก็จะบรรเทาการท่วมและลดความเสียหาย ฉะนั้นการหาทางที่จะเก็บน้ำที่ลงมาท่วมเอาไว้ได้ สำหรับให้เป็นน้ำที่ให้คุณที่ช่วยให้มีรายได้ ก็จะเป็นการดีเป็นทวีคูณ…… การที่จะทำโครงการที่แยบคาย เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายในการท่วมนั้น และเพิ่มพูนผลิตผลในหน้าแล้ง ก็ได้ผลสองเท่าตัว คือไม่ต้องใช้เงินแก้ไข หรือบรรเทาทุกข์ของประชาชน ซ้ำจะได้ให้ประชาชนทำกินได้ เพิ่มพูนขึ้นไปเกือบสองเท่า..” ที่ได้พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2533 อันเป็นกรอบความคิด (Conceptual Framework) ที่ทรงชี้ให้เห็นถึงภัยพิบัติต่าง ๆ โดยเฉพาะน้ำท่วมและน้ำแล้ง โดยทรงยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เมื่อปี 2533 ว่า น้ำท่วมทำให้เกิดความเสียหายกับพี่น้องประชาชน ซึ่งในการแก้ปัญหาหากเร่งรัดผลักดันน้ำสู่ทะเลเร็ว ๆ ก็ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก สร้างความเสียหายกับรัฐอีก และเมื่อถึงหน้าแล้งซึ่งชาวบ้านต้องใช้น้ำ ก็ดันนำน้ำไปทิ้งทะเลเสียหมดแล้ว โดยพระองค์ทรงเตือนว่า ไม่ใช่แก้ปัญหาน้ำแล้วเอาไปทิ้ง แต่ต้องหาทางเก็บน้ำไว้เพื่อเพาะปลูกเพื่อทดแทนสิ่งที่เสียไป “นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นความโชคดีของพวกเราคนไทยทุกคนที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานในการสืบสาน รักษา และต่อยอด แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทรงมุ่งหวังที่จะให้ประชาชนคนไทยที่เป็นพสกนิกรของพระองค์ทุกคนได้รอดพ้นจากภัยพิบัติจากธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้พระราชทานพระบรมราโชบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือประชาชนให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขโดยเร็ว โดยข้าราชการทุกคน ทุกหน่วยงานต้องเปิดใจและน้อมนำเอาพระราชดำรัสและแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานไว้มาบูรณาการสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อยังประโยชน์สุขให้กับพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงแรก นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดหมุดหมายที่เกี่ยวข้องในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการภัยพิบัติเพื่อนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ของไทย ได้แก่ หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยตั้งเป้าหมายลดความเสียหายและผลกระทบ ลดความเสี่ยง และสร้างภูมิคุ้มกัน จากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญคือ 1 ป้องกันและลดผลกระทบในพื้นที่สำคัญ 2 เพิ่มศักยภาพในการรับมือของประชาชนและชุมชน 3 ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการบริหารจัดการความเสี่ยง 4 อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบ และ 5 ส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อบริหารจัดการภัย อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ตามหมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง หมุดหมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ และหมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์พัฒนาแห่งอนาคต ซึ่งหมุดหมายต่าง ๆ นี้ ล้วนสอดคล้องกับพระราชดำรัสและแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานไว้ให้กับคนไทย ทั้งเรื่องขจัดความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาความหิวโหย เรื่องน้ำท่า และเรื่องความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติ โดยกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความสำคัญและน้อมนำมายึดถือปฏิบัติในการกำหนดนโยบายและแผนสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ด้วยการมุ่งมั่น “พัฒนาคน” เพราะ “คน หรือ ทรัพยากรมนุษย์” เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ภัยธรรมชาติเป็นเพียงองค์ประกอบปัจจัยหนึ่ง ดังนั้น เมื่อคนได้รับการพัฒนา มีความรู้ มีความเข้าใจ ก็จะสามารถไปพัฒนาพื้นที่ ไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ไปส่งเสริมด้านต่าง ๆ ในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้พี่น้องประชาชนมีความสุขเพิ่มขึ้นและมีความทุกข์น้อยลง และยังได้รับการถ่ายทอดส่งต่อสู่รุ่นต่าง ๆ นำไปสู่ความยั่งยืน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านวิสัยทัศน์ มุมมอง ความเห็นเชิงนโยบาย แนวทางการขับเคลื่อนการทำงาน และการให้การสนับสนุนของกระทรวงมหาดไทย ทั้ง “ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ” เช่น การขับเคลื่อนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่เพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่เหมาะสมร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และ “ด้านการรองรับภัยพิบัติทุกรูปแบบ” เช่น การป้องกันและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่สำคัญ และการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการขับเคลื่อนแนวทางดังกล่าวมานี้เป็นระยะเวลา 2-3 ปีภายใต้งบประมาณที่จำกัด โดยน้อมนำองค์ความรู้ด้านการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ “จากนภาผ่านภูผาสู่มหานที” หรือทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ไปใช้ในการพัฒนากรมนุษย์จนเกิดมรรคผลและได้ผลที่ดี พร้อมทั้งได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ (ศจพ.) ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแนวทางฯ ดังกล่าว ด้วยการขับเคลื่อนโครงการ “การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy Model)” มีเป้าหมายเพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมรับมือภัยพิบัติ น้ำท่วม น้ำแล้ง จากการประมวลและสรุปองค์ความรู้ แบบอย่างการปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในช่วงที่ผ่านมา และจัดทำโครงการในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพอเพียง เชื่อมโยงสอดคล้องกับวาระแห่งชาติเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อนำมาเป็นกรอบและทิศทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย พร้อมทั้งการสร้างความพร้อมรับมือภัยพิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งในระดับพื้นที่ สร้างงานสร้างรายได้ สร้างความมั่นคงทางน้ำ อาหาร พลังงานให้กับครัวเรือนและชุมชน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี ตัวอย่างความสำเร็จที่เป็นที่ประจักษ์ คือ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้น้อมนำศาสตร์พระราชาฯ ด้วยการนำทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา มาพลิกพื้นที่ธรรมชาติที่ถูกทำลายจนเสื่อมโทรม เป็นภูเขาหัวโล้นเต็มไปด้วยสารเคมี หน้าแล้งมีแต่หมอกควัน หน้าฝนมีแต่โดนน้ำชะล้างดินพังทลาย จัดทำเป็นวาระแก้ปัญหาป่าไม้ และวาระการงดใช้สารเคมีทำการเกษตร เน้นทำเกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสานแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และร่วมกันกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ดำเนินการฟื้นป่า “ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” จัดทำฝายชะลอน้ำตามร่องน้ำภูเขาทุกหมู่บ้าน จนทำให้อำเภอแม่แจ่มในปัจจุบันกลับกลายมามีชีวิตชีวา พื้นที่ภูเขาเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงการส่งเสริมและฟื้นฟูภูมิปัญญาในเรื่องการทำมาหากินตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” ไปสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ “พุทธเกษตร” โดยท่านเจ้าคุณพระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม หรือท่านเจ้าคุณโซล่าร์ และท่านเจ้าคุณพระพิพัฒน์วชิโรภาส เจ้าอาวาสวัดป่าดงใหญ่วังอ้อ ที่ได้เป็นกำลังสำคัญในการน้อมนำหลักดังกล่าว ทำให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีสามารถฟื้นคืนชีวิตที่มีความสุขได้อย่างยั่งยืน “ตัวอย่างความสำเร็จเหล่านี้ เป็นรูปธรรมสำคัญที่สามารถนำไปขยายผลด้วยการบูรณาการทุกภาคส่วน ทุกกระทรวง ทบวง กรมที่มีความเกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกันแบบ Teamwork อันจะทำให้เกิดความสำเร็จทั้งในด้านการแก้ปัญหาความยากจน และช่วยสร้างสมดุลธรรมชาติ ลดปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และลดภาวะโลกร้อนได้อย่างเห็นผลอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย จำนวนผู้ชม : 420 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author วางหมากโค้งสุดท้าย! ผู้สมัครส.ส.แผ่นดินธรรม แนะแผน’เข้าใจ เข้าถึง ดึงคะแนน’ อุทัย มณี มี.ค. 05, 2019 วันที่ 5 มี.ค.2562 ดร.อดิศร หนันคำจร ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ… เสียงจากสงฆ์ธรรมยุต : ผู้ทรงศีลทรงธรรมไม่ควรถูกกระทำเยี่ยงคนธรรมดา อุทัย มณี เม.ย. 18, 2022 วันที่ 18 เมษายน 65 เฟชบุ๊คชื่อ “Sophonthamudom” หรือ พระครูโสภณธรรมอุดม… พระแนะแนวสร้างสุข สำหรับคนไทย2562 ยุคDisruption อุทัย มณี ม.ค. 07, 2019 ปี 2562 เริ่มต้นขึ้น! สวัสดีคนไทย สวัสดีความสุข ความหวัง และสิ่งที่จะเกิดขึ้น… ดร.นิยมร่วมในพิธีคืนสมณเพศ แก่อดีตพระพรหมดิลก ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีฟอกเงินทอนวัด อุทัย มณี ก.ย. 23, 2020 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563 ตามที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง… เป็นถึง “พระครู” ไม่รู้จักชั่วดี!! ตำรวจนครปฐม “จับพระครู” ส่งสึกหลังแอบคบ “เมียชาวบ้าน” อุทัย มณี ก.ค. 08, 2023 วันที่ 8 กรกฎาคม 2566 วา่นนี้ ร.ต.อ.ชัยยุทธ ร้อยเวรสอบสวน สภ.เมืองนครปฐม… ‘สมเด็จพระพุทธชินวงศ์’ ปฏิบัติศาสนกิจจวบจนวาระสุดท้าย ลมหายใจเพื่อบาลี พระพุทธศาสนา และวิปัสสนาภาวนา อุทัย มณี ก.ค. 01, 2019 วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 พระเทพสุวรรณเมธี (สุชาติ กิตฺติปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม… “ชวน”บรรยายพิเศษ”พระพุทธศาสนากับวิชาชีพนักการเมือง” นิสิตป.เอก”มจร” อุทัย มณี เม.ย. 02, 2021 วันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2564 นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร… พรรคแผ่นดินธรรมเตรียมยื่นหนังสือหน้าทำเนียบจี้นายกฯเร่งจับตัวคนร้ายสังหารพระสงฆ์ อุทัย มณี ม.ค. 20, 2019 หัวหน้าพรรคแผ่นดินธรรม นายกรณ์ มีดี เปิดเผยว่า ตนเองและชาวพุทธจำนวนหนึ่งจะร่วมกันเดินทางไปยื่นหนังสือให้รัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคณะสงฆ์และชาวพุทธในสามจังหวัดชายแดนใต้… ตักบาตรพระสงฆ์ “วัดพระธรรมกายยืนหนึ่ง”ประชาชนเกือบ 20,000 คนร่วมตักบาตรพระสงฆ์ 10,000 รูป ฉลอง 192 ปี จังหวัดกาญจนบุรี อุทัย มณี ธ.ค. 11, 2023 วันที่ 11 ธ.ค. 66 ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี… Related Articles From the same category แปลก!! วัดสร้างมา 81 ปี “ไม่มีโฉนด” ขณะชุมชนรอบวัดมีครบหมดแล้ว วันที่ 9 มี.ค. 67 วานนี้ ดร.นิยม เวชกามา ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง… “พิชิต ชื่นบาน” เข้ากราบสักการะ “กรรมการมหาเถรสมาคม” วันนี้ (13 พ.ค. 67) นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี… มือมืด “ปลดป้าย” ต้านพระครูเล็กออกแล้ว!! วันที่ 15 พ.ย. 64 จากกรณีมหาเถรสมาคม มีคำสั่งแต่งตั้งพระสังฆาธิการ … แม่กองบาลีประกาศรายชื่อครูสอนบาลี ผู้มีสิทธิเข้าอบรม รุ่น 1 – 2 ณ วัดปากน้ำ วันที่ 19 ตุลาคม 2567 สำนักแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศรายชื่อครูสอนพระปริยัติธรรม… พระพุทธเจ้ายังเสด็จโปรดให้กำลังใจ ชาวนาประสบภัยน้ำท่วม วันที่ 20 ก.ย.2562 จากเหตุการณ์ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบอุทกภัยที่หนักสุดตอนนี้คือจังหวัดอุบลราชธานี…
Leave a Reply