“กรมปกครอง” แจง มีการปล่อยข้อมูลเท็จ บิดเบือน หวัง “ไทยพุทธ-มุสลิม” แตกแยก

วันที่ 28 พ.ค. 65  เพจข่าว  “MTODAY” ได้โพสต์ข้อความว่า  กรมการปกครอง ชี้แจง กรณี มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ที่ทำให้เกิดความแตกแยกทางศาสนา รัฐบาลชุดปัจจุบัน ออก พ.ร.บ. คุ้มครองศาสนาอิสลาม 10 ฉบับ รวมทั้ง ให้งบประมาณก่อสร้าง มัสยิดหลายแห่ง และ ตั้งเงินเดือนให้อิหม่าม ยืนยันเป็นข้อมูลเท็จ

ตามที่ปรากฏข่าวสารทางสื่อออนไลน์ ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปว่า ศาสนาอิสลามกำลังยึดครองประเทศไทย อ้างว่า รัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองศาสนาอิสลาม ซึ่งเมื่อรวมกับกฎหมายอิสลามที่มีอยู่เดิม จึงมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามถึง 10 ฉบับ มีมัสยิดเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก มีการก่อสร้างมัสยิดใหญ่ที่สุดในเอเชีย สร้างห้องละหมาดไว้ตามที่สาธารณะต่างๆ รวมทั้งมีการรื้อทำลายวัดในศาสนาพุทธไปหลายแห่งนั้นกรมการปกครอง จึงชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย ดังนี้ ปัจจุบัน ประเทศไทยมี พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องศาสนาอิสลาม จำนวน 4 ฉบับเท่านั้น ได้แก่ 1.พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 2.พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 3. พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 และ 4. พ.ร.บ.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545

ทั้งนี้ไม่ปรากฏว่ามี พ.ร.บ.คุ้มครองศาสนาอิสลามแต่อย่างใด และรัฐบาลชุดปัจจุบัน มิได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม จะมีก็แต่เพียงการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. 2524 เพื่อโอนภารกิจการส่งเสริมกิจการฮัจย์ให้กรมการปกครองดูแลเท่านั้น ดังนั้น ประเด็นที่กล่าวหา ว่า มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองศาสนาอิสลาม และมีกฎหมายอิสลาม จำนวน 10 ฉบับ จึงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จสำหรับมัสยิดเป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลาม เช่นเดียวกับ วัดในพระพุทธศาสนา หรือ โบสถ์ในศาสนาคริสต์ ซึ่งสร้างขึ้นตามศรัทธาของศาสนิกชน ที่นับถือศาสนานั้นๆ โดยกฎหมายไม่ได้บังคับว่า ต้องจดทะเบียนกับทางราชการทุกแห่ง แต่หากประสงค์จะจดทะเบียนให้เป็นนิติบุคคลเพื่อจะถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ก็ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น วัด ก็ดำเนินการตามพระราชบัญญัติสงฆ์ พ.ศ. 2505 หรือ การสร้างโบสถ์ในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 หรือ มัสยิด ก็ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540ปัจจุบัน ประเทศไทยมีมัสยิดที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 จำนวน 3,965 แห่ง ซึ่งจากการจัดเก็บสถิติย้อนหลัง 6 ปี (พ.ศ.2555-2560) พบว่า มีมัสยิดขอจดทะเบียนเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 32 แห่ง ซึ่งสร้างขึ้นตามศรัทธาของชาวไทยมุสลิม มิใช่การสนับสนุนของรัฐบาลชุดปัจจุบันแต่อย่างใด

ส่วนประเด็นที่กล่าวอ้างว่า การสร้างวัดต้องทำประชาพิจารณ์ ส่วนการสร้างมัสยิดไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ ก็ต้องพิจารณาว่า กฎหมายกำหนดให้ต้องมีขั้นตอนดังกล่าวหรือไม่

ดังนั้น ประเด็นที่กล่าวอ้างถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม และการสร้างมัสยิด จึงเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ และบิดเบือน เพื่อสร้างกระแสให้เกิดความเข้าใจผิดต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งผู้นำเข้า หรือ เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

สำหรับข้อมูลอันเป็นเท็จ ที่มีการเผยแพร่ อาทิ รัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างมัสยิด และมัสยิดกลางประจำจังหวัด จำนวนหลายแห่ง ตลอดจนตั้งเงินเดือนโต๊ะอิหม่าม เดือนละ 18,000 บาท และ คณะกรรมการประจำมัสยิดมีเงินเดือนทุกคน

Leave a Reply