“อดีตผู้ว่าสตง.” ร้องสภาฯ สำนักงานพุทธฯ จ้างอดีต ผอ.พศ.ส่อไปในทางไม่สุจริตและเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องหรือไม่ 

วันที่ 7 กันยายน 2565  เวลา 13.30 น.ที่อาคารรัฐสภา นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง) พร้อมคณะเดินทางมายื่นหนังสือต่อ .ดร.นิยม. เวชกามา  ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร  พร้อมด้วย ดร.เพชรวรรค วัฒนพงศศิริกุล  รองประธานคณะกรรมาริการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม  นางพรเพ็ญ  บุญศิริวัฒนกุล ประธานคณะอนุกรรมาธิการพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ พร้อมคณะ  เข้ารับหนังสือร้องเรียน เรื่อง ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจ้าง พ.ต.ท.พงศ์พร  พราหมณ์เสน่ห์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  ส่อไปในทางไม่สุจริตและเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องหรือไม่

นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีกระแสข่าว การจัดจ้าง พ.ต.ท.พงษ์พร พราหมณ์เสน่ห์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งเกียรติอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 ในตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติด้านกฎหมาย โดยขออนุมัติจ่ายค่าตอบแทนในการปฎิบัติงานให้แก่ผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ รายเดิมต่อเนื่องมานั้น

บัดนี้พบว่า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เสนออนุมัติจัดจ้าง พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ในตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ด้านกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 นั้น เป็นการกระทำอันฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และวิธีปฎิบัติในการจ่ายค่าตอบแทนในการปฎิบัติงานให้แก่ผู้ที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ของกรมบัญชีกลาง ฉบับลงวันที่ 2 เมษายน 2561 โดยพบว่า มีการขออนุมัติจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคคล ซึ่งส่อไปในทางไม่สุจริต เอื้อประโยชน์พวกพ้อง ทำให้ราชการได้รับความเสียดาย ดังนี้

1. เป็นการที่ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ เสนอแต่งตั้งตนเองเพื่อเป็นที่ปรึกษาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ด้านกฎหมาย ตามบันทึกข้อความ ฉบับลงวันที่ 1 ตุลาคม 2562

2.มีการกล่าวอ้าง ข้อมูลอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับเหตุผลที่ต้องจ้าง ความจำเป็น ภารกิจนั้น เพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปฎิบัติงานในโครงการนั้นต่อไป มิใช่โครงการต่อเนื่อง ที่มีความซับซ้อน หรือที่มีความขาดแคลนบุคคล ที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยมีการรายงานสถานะคดีอันเป็นเท็จ การดำเนินคดีบางคดีถึงที่สุดแล้ว และบางคดีได้ดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์แล้ว ส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มิจำเป็นต้องดำเนินการใด ๆอีก ย่อมเป็นหน้าที่ขอพนักงานอัยการดำเนินคดีต่อไป และอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลแล้ว

3. พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ถูกร้องเรียนและตกเป็นจำเลย ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี กรณีตลาดเฉลิมโลก จึงเป็นบุคคลซึ่งไม่ต้องด้วยคุณสมบัติขัดต่อระเบียบข้อ 2.3 ซึ่งต้องได้รับความไว้วางใจสำคัญเป็นพิเศษ อาศัยความซื่อสัตย์สุจริตของผู้ปฎิบัติงาน

4. มีการต่อสัญญาจ้างต่อเนื่องกันมาโดยไม่มีกำหนด ขอบเขตภารกิจ กรอบเวลาสิ้นสุดโครงการที่ชัดเจน ไม่ปรากฎว่ามีการถ่ายทอดความรู้ทางด้านกฎหมาย ไม่จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการต่อได้ เป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับนิติกร บุคลากรของหน่วยงาน

5. ไม่สามารถตรวจสอบ การดำเนินงานและการประเมินผลงาน ที่ผ่านมาอย่างโปร่งใส ว่ามีการปฎิบัติงานเหมาะสมกับภารกิจ โครงการ และปฎิบัติงานเต็มเวลาราชการหรือไม่ เพียงใด

6 .ไม่มีคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ เกี่ยวข้องกับงานด้านพระพุทธศาสนา การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ทำให้เกิดความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดิน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตามระเบียบวิธีการงบประมาณ

ซึ่งทั้ง ดร.นิยม เวชกามาเลขานุการคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ดร.เพชรวรรควัฒนพงศศิริกุล  รองประธานคณะกรรมาริการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม  และ นางพรเพ็ญ  บุญศิริวัฒนกุลประธานคณะอนุกรรมาธิการพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ได้กล่าวว่าหลังจากนี้ไปเรียกหน่อยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มาชี้แจงถึงเหตุผลในการจ้าง พ.ต.ท.พงศ์พร  พราหมณ์เสน่ห์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต่อไป

Leave a Reply