เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565 พระสุธีรัตนบัณฑิต,ดร. (สุทิตย์ อาภากโร) เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suthito Aphakaro ความว่า MCU Buddhist Social Innovation Will Come by Design Thinking มหาวิทยาลัยมหาจุฬา โดยพระเดชพระคุณพระธรรมวัชรบัณฑิต องค์อธิการบดี และประชาคมมหาจุฬา มีความปรารถนาที่จะสร้างสรรค์ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันที่สร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจ ปัญญา และคุณธรรม โดยมีงานที่สำคัญ ๆ 2 -3 ประการ คือ
1.การสร้างสรรค์ความรู้จากพระไตรปิฏก หรือหลักการทางพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อให้สังคมได้นำหลักการไปสู่การพัฒนาสังคม โดยมีหลักสูตรที่หลากหลาย เช่น พระพุทธศาสนา ปรัชญา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ การพัฒนาสังคม จิตวิทยา มีหลักสูตรตั้งแต่ประกาศนียบัตร ปริญญาตรี-เอก
2. การพัฒนาเชิงพื้นที่ เนื่องจากมหาจุฬา มีวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ 45 แห่งทั่วประเทศ จึงจำเป็นต้องพัฒนาท้องถิ่นให้เติบโตไปด้วยกัน เช่น การพัฒนา อบต. ชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้
3. การพัฒนานวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติไปสู่ ประเทศที่มีรายได้สูง เนื่องจากไทยติดกับดักการพัฒนาประเทศมานาน จึงจำเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ให้มากขึ้น ผ่านการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย
ดังนั้น สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ จึงได้พัฒนาโครงการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ (MCU Creative and Innovative University) เพื่อพัฒนานวัตกร และพุทธนวัตกรรม ให้เกิดขึ้นภายใน 3 ปี ดังนี้
1 ) อาจารย์ นักวิจัย ที่สามารถเป็นนวัตกร by Design Thinking จำนวน ปีละ 50 รูป/คน
2) นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 50 ผลงาน/ปี
3) และผลงานวิจัยอื่นๆ จำนวน 50 ผลงาน/ปี รวมทั้งการเป็นแม่ข่ายพุทธนวัตกรรมสร้างสรรค์
วันที่ 3-5 ตุลาคม 2565 จึงเป็นการเริ่มต้นการคิดนวัตกรรมสร้างสรรค์ ณ วัดสุทธิวราราม และอาคาร KX (Exchange Knowledge Center) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประเทศไทยร่ำรวยวัฒนธรรม และกำลังพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ คิด สร้างพุทธนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บนพื้นฐานสังคมแห่งความเป็นธรรม
Leave a Reply