วันที่ 31 ตุลาคม 2565 ที่วัดโฝวกวงซัน(Fo Guang Shan) ประเทศไต้หวัน ดร.ณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการพิจารณาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ และเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการดำเนินการพิจารณางบประมาณเพื่อการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงการที่ได้สัมภาษณ์กับมติชนทีวี ประเด็นเห็นด้วยหรือไม่กับการพรรคก้าวไกลที่ออกมาชงกฎหมาย ให้พระเลือกตั้งได้และ จะสนับสนุนในกฎหมายนี้อย่างไรในฐานะที่ทำงานด้านศาสนา และ อยู่ฝ่ายค้านด้วยกันนั้น ตนได้เปิดเผยว่าหากใช้คำว่าว่า “ชง กฎหมาย ให้พระเลือกตั้งได้” จะเห็นด้วย 50% เห็นด้วยเพราะคืนสิทธิ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ไม่เห็นด้วยเพราะใช้คำนี้จะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง และมีผู้ไม่หวังดีออกมาต่อต้าน จะให้เหมาะควรใช้คำว่า “แก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ คืนการตัดสิทธิ์ห้ามพระเลือกตั้ง”
เชื่อหรือไม่ว่าประเทศไทย เคยให้สิทธิ์พระเลือกตั้งได้ และภาพในประวัติศาสตร์ว่าเคยเห็นพระออกมาเลือกตั้งไหม ตั้งแต่ตั้งประเทศไทย ตั้งแต่กฎหมายแผ่นดินนี้ ตั้งแต่พระเจ้ามังราย ได้เขียนกฎหมายมังรายศาสตร์ ต้นฉบับที่เอามาพัฒนาต่อในสมัยกรุงศรีอยุธยา จนกฎหมายรัตนโกสินทร์ตราสามดวง ก็ไม่มีเขียนว่าพระห้ามยุ่งการเมือง
จนกระทั้งรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่คณะราษฎรถวายต่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบสมบูรณายาสิทธิราช มาเป็นระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากระกษัติย์เป็นประมุข ก็ให้พระเลือกตั้งได้
อย่างไรก็ตามจุดหันเหและเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นพระห้ามเลือกตั้ง เริ่มในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที 8 (ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญ 20 ฉบับ) การที่พระเลือกตั้งไม่ใช่เขียนกฎหมายใหม่ เหมือนสุราก้าวหน้า แต่เป็นการแก้คำหรือตัดคำในกฎหมาย กฎหมายที่บัญญัติ
ต้องขอย้อนกับไปนิดว่าใครเป็นคนกำหนดว่าพระสงฆ์ห้ามเลือกตั้งและเกิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า เหตุที่พระสงฆ์ห้ามเลือกตั้งเพราะกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ปี 2475 เข้าใจว่าล้อมาจากฝรั่งเศส หรืออเมริกา ไม่ได้ห้ามพระสงฆ์เลือกตั้ง โดยบัญญัติว่า
“มาตรา 14 ราษฎรไม่ว่าเพศใดเมื่อมีคุณสมบัติดั่งต่อไปย่อมมีสิทธิออกเสียงลงมติเลือกผู้แทนหมู่บ้านได้ คือ
1. มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
2. ไม่เป็นผู้ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ
3. ไม่ถูกศาลพิพากษาให้เสียสิทธิ์ในการออกเสียง
4.ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย”
ช่วงที่จอมพลถนอม กิตติขจร จากคณะปฏิวัติเป็นนายกรัฐมนตรี(2501-2516) ได้แก้รัฐธรรมนูญให้พระสงฆ์ถูกจำกัดสิทธิ์”ห้ามเลือกตั้ง” ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญปี 2511 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 และจัดการเลือกตั้งทั่วไป โดยมีนายทวี บุญยเกตุ เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ
(ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502) ได้มีรัฐพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511 นอกจากนั้น ยังได้มีการประกาศใช้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอีก 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 และพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน พ.ศ. 2511 จากนั้นรัฐบาลได้ประกาศกำหนดวันจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 ในรัฐธรรมนูญ 2511 ได้บัญญัติว่า
“มาตรา 8 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ
(1) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(2) หูหนวกและเป็นใบ้ ซึ่งไม่สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้
(3) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
(4) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
(5) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยคำพิพากษา”
ผลการเลือกตั้ง พรรคสหประชาไทย ที่มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค ได้รับเลือกมาเป็นที่หนึ่ง โดยได้ ส.ส.ทั้งหมด 76 คน (จะเห็นว่าเป็นวิธีเดียวกันกับปัจจุบัน)
ทั้งนี้ได้ส่งต่อมาจนถึง รัฐธรรมนูญ 2560 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี มีข้อความบัญญัติว่า
“มาตรา96 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ”
กฎหมายมาตราดังกล่าว ขัดทั้งกฎหมายรัฐธรรมมนูญหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ในมาตรา 27 มาตรา 31 และมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญซึ่งระบุว่า คนไทยมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน และ กฎหมายระหว่างประเท ว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยได้ลงนามเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539
จะเห็นได้ว่าประชาชนเข้าใจมาตลอดว่าการที่ไม่ให้พระสงฆ์เลือกตั้ง อาจเกิดจากพระสงฆ์หรือผู้ปกครองให้กำหนดในรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อสืบไปถึงต้นสายปลายเหตุปรากฎว่ามาจากฝ่ายเผด็จการ บัญญัติรัฐธรรมนูญเพียงเพื่อหวังชนะการเลือกตั้งนั่นเอง เพราะหลังจากที่คณะปฏิวัติปกครองประเทศมาจนถึงจุดคับขัน เพื่อที่จะต่ออำนาจให้สามารถรักษาอำนาจต่อไปก็เขียนรัฐธรรมนูญ “ไม่ให้พระเลือกตั้ง” ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 และรัฐบาลภายหลังก็ไม่ได้แก้ข้อความพระห้ามเลือกตั้ง จนมาจนถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบัน พ.ศ.2560 ก็ลอกข้อความมาจากเดิม ควรถึงเวลาแล้วหรือไม่ว่าควรให้สิทธิ์พระให้เสมือนกันนานาอารยประเทศ ส่วนว่าพระท่านจะไปเลือกตั้งหรือไม่ ลองเอาแบบไต้หวันที่รัฐธรรนูญให้สิทธิพระเลือกตั้งได้ และพระท่านตกลงกันเองว่าจะไม่ไปลงคะแนนเสียงกันเอง ความยำเกรงจากฝ่ายการเมืองที่มีต่อพระในมิติการสนับสนุนงบประมาณรวมถึงโครงการต่างๆ จึงมากกว่าประเทศที่รัฐธรรมนูญปิดกั้นไม่ให้พระเลือกตั้ง ความเจริญรุ่งเรื่องในพระพุทธศาสนาของไทยจึงอาจสู้เขาไม่ได้
Leave a Reply