มูลนิธิต่อต้านการทุจริตดึงเยาวชน ๔ ภาค สร้างการมีส่วนร่วมต่อต้านการทุจริตในสังคมไทย

เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้รับการนิมนต์จากท่าน ดร. ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์ เลขาธิการมูลนิธิต่อต้านการทุจริตเพื่อเป็นคณะกรรมการตัดสินรอบรองชนะเลิศ “เยาวชนนักพูดรณรงค์ต่อต้านการทุจริต” ณ สโมสรทหารบก ห้อง vip ๖ กรุงเทพฯ ซึ่งมีการส่งคลิปเข้าประกวด ๔ ภาค ภาคละ ๑๐ คน รวม ๔๐ คน โดยเป็นการตัดสินจากคลิปของเยาวชนนักพูดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง สืบเนื่องมาจากการจัดค่ายเยาวชนนักพูดรณรงค์ต่อต้านการทุจริต โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนประกอบด้วย โครงสร้างการพูด ศิลปะการนำเสนอ การรณรงค์ทางความคิด บุคลิกภาพ โดยมีคณะกรรมการจากภาคส่วนต่างๆ หนึ่งในนั้นคืออาจารย์สมชาย หนองฮี และท่านอื่นๆ

ถือว่าเป็นมิติของการป้องกันการทุจริต (สังวรปธาน) เพียรป้องกันการทุจริต โดยใช้คลิปใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการรณรงค์การต่อต้านการทุจริต โดยสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการสื่อสารสร้างพลังให้สังคมได้รับรู้รับทราบสร้างความตระหนักในอีกมุมหนึ่งที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง โดยมูลนิธิต่อต้านการทุจริตขับเคลื่อนเชิงป้องกันการทุจริตแบบเชิงรุก ถือว่าเดินทางตามกรอบตามแนวทางหลักการทางพระพุทธศาสนาคือ “ปธาน ๔” ประกอบด้วยการป้องกันการทุจริต การแก้ไขการทุจริต การป้องกันตามแนวทางพระพุทธศาสนา ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บุคคลไม่ควรประพฤติหน้าที่ให้ทุจริต” อาณาจักรหรือประเทศจะล้มสลายถ้ามีการทุจริต กล่าวว่า “สนิมเกิดแต่เหล็ก จะกัดกินเหล็ก” ซึ่งสภาพในสังคมไทยปัจจุบันมีการทุจริตจำนวนมากเป็นสนิทร้ายต่อประเทศ ลักษณะมือใครยาว สาวได้สาวเอา มีการแย่งอาหารกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส แย่งอำนาจกันเป็นใหญ่ นำไปสู่การขาดความสามัคคีในประเทศชาติ เป็นการละเมิดศีล ๕ ในข้อที่ ๒ คือ ถือเอาสิ่งของจากเจ้าของท่านไม่ได้ให้ ควรงดเว้นด้วยวิรัติ ถือว่าเป็นการงดเว้น ต้องมีหิริ ความละอายแก่ใจ การส่งเสริมในเรื่องศีล ๕ ของมหาเถรสมาคม จึงเป็นการต่อต้านการทุจริตนั่นเอง

สมัยอดีตมีการทุจริตในทนันชาณิพราหมณ์มีการปล้นพระราชา ฉ้อราษฏร์บังหลวง อ้างพระราชาปล้นประชาชน อ้างว่าจะไปช่วยเหลือประชาชน แต่กลับเอาไปใช้ส่วนตัว อ้างว่าเอาเงินไปเลี้ยงบิดามารดา บุตร และ ณ สวนสัตว์แห่งหนึ่งมีการทุจริตต่อหน้าที่ ในการเลี้ยงเสือ ประชาชนมาดูเสือทำไมเสือไม่อ้วน เสือผอม ทำไมเสือผอมเป็นการตั้งคำถามของประชาชน เพราะอาหารเสือโดนเบียดบัง ผู้อำนวยการสวนสัตว์ส่งผู้ตรวจการ ๓ คน มาตรวจทุจริตทั้ง ๓ คน จึงมีโครงโลกนิติว่าด้วยว่า “เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อมังสา” กล่าวว่า เบิกทรัพย์วันละบาทซื้อ มังสา นายหนึ่งเลี้ยงพยัคฆา ไป่อ้วน สองสามสี่นายมา กำกับ กันแฮ บังทรัพย์สี่ส่วนถ้วน บาทสิ้นเสือตาย เสือ หมายถึง ประเทศชาติ รวมถึงประชาชนในชาติ ผู้นำรัฐ ข้าราชการ ต้องประพฤติสุจริตธรรม ประเทศถึงจะอยู่รอด การทุจริตทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นซื้อสิทธิ์ขายเสียง ถือว่าเป็นการทุจริต สหประชาชาติจึงประกาศให้วันที่ ๙ ธันวาคมของทุกปีเป็นวันต่อต้านการทุจริตของโลก ประชาชนต้องไม่สนับสนุนการทุจริต ธรรมะที่คุ้มครองโลกคือ “หิริและโอตัปปะ” เป็นธรรมะที่ให้มนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์ เป็นธรรมะฝ่ายขาวคุ้มครองโลก หิริ หมายถึง ความละอายต่อบาป ต่อความชั่วทั้งหลาย ไม่นำร่างกายไปเปื้อนกับความสกปรก คำว่า โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป เปรียบเหมือน ถ่านไฟ อย่าได้ไปเข้าใกล้มันร้อน เมื่อหิริโอตตัปปะมีอยู่โลกจะสามารถอยู่รอดและปลอดภัย

การงดเว้นการทุจริตก็ต่อเมื่อมีธรรมะ คือ “หิริและโอตตัปปะ” เป็นหลักธรรมป้องกันการทุจริต เพราะเมื่อละอายแก่ใจ ดังคำกล่าวว่า “อดอยากเยี่ยงอย่างเสือ” เหมือนนางขุตชุตรา เป็นนางสาวใช้ของพระนางสามวดี เบิกเงินไปซื้อดอกไม้ แต่ซื้อเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เธอได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ทำให้กลับตัวกลับใจ มีความหิริภายในใจ เธอพยามสร้างอริยทรัพย์เป็นทรัพย์ภายใน “ความรู้จักพอเป็นยอดแห่งทรัพย์” เศรษฐกิจพอเพียงขององค์ในหลวง ถือว่าเป็นการป้องกันการทุจริต คือ ให้เรารู้จักพอ เพียงพอ ประมาณตนเอง ในการบริหารชีวิต เพราะถ้าไม่พอก็เกิดความโลภ

โอตัปปะเป็นความกลัว กลัวต่อการกฎหมายลงโทษอย่างมีประสิทธิภาพ กลัวต่อการตกนรก คนสมัยโบราณกลัวการทุจริต กลัวต่อผลบาปการทุจริต จึงยึด “ทำได้ดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เราปฏิบัติสุจริตย่อมมีชีวิตที่มีความสุขในโลกนี้และโลกหน้า มีพราหมณ์คนหนึ่งสมัยพระเจ้าโกศล เขาทดลองว่า ถ้าประพฤติทุจริตจะเป็นอย่างไร? ด้วยการหยิบเหรียญวันละ ๑ เหรียญ ทำเรื่อยๆ และหยิบเป็นกำมือ จนคนตะโกนว่าจับโจร พระราชาถามว่าทำไมถึงทำแบบนี้ พราหมณ์ตอบว่า เป็นการทดลองการประพฤติผิดว่าจะเป็นอย่างไร พราหมณ์จึงออกบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า

จึงขออนุโมทนากับมูลนิธิต่อต้านการทุจริตในกิจกรรมดีๆสู่เยาวชน โดยขออนุโมทนากับท่าน ดร.ประดิษฐ์ กิตติฤดีกุล ผู้ประสานงาน โครงการเยาวชนนักพูดรณรงค์ต่อต้นการทุจริต ขอชื่นชมกับกิจกรรมดีๆกับมูลนิธิต่อต้านการทุจริต โดยเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ พร้อมอนุโมทนาบุญกับ ดร.ผุสดี รุ่งเรืองผดุง ในฐานะกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริตในการประสานงานในครั้งนี้

Leave a Reply