ตามไปดูปฎิบัติการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ภายใต้แนวคิด..น้ำคือชีวิต หลังจาก “ทีมข่าวพิเศษ” ลงพื้นที่อำเภอเชียงของและทั่วประเทศมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 ครั้ง ๆ หนึ่งไม่ต่ำกว่า 10 จังหวัดพบว่ากระทรวงมหาดไทยนอกจากกำลังปฎิบัติการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมกล้าเจ้าอยู่หัวองค์ราชกาลที่ 5 และสืบสานต่อยอดปณิธานของกรมพระยาดำรงราชานุภาพองค์ปฐมเสนาบดีแห่งกระทรวงมหาดไทยแล้ว สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้อาณาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุข อยู่ดีกินดี ผ่านโครงการต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เห็นได้ชัดที่ “ปลัดเก่ง” สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยและข้าราชการกระทรวงมหาดไทย นอกจากสืบทอดพระราชปณิธานข้างต้นแล้ว ยังตอบสนองนโยบายของ “รัฐบาล” และขับเคลื่อนเพื่อแก้ “ความเหลื่อมล้ำ” ของประเทศไทยตามมติของ “สหประชาชาติ” ที่ร้องขอให้ทุกประเทศร่วมกันขับเคลื่อนแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ของโลกอยู่ในขณะนี้ “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า” พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่แสดงถึงพระราชปณิธานอันแรงกล้าที่จะทรงงานด้านการอนุรักษ์ป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ เพื่อสนับสนุนการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อช่วยให้พสกนิกรชาวไทยมีน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีพและการทำการเกษตร ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และในการขับเคลื่อนเพื่อการอยู่ดีกินดีของประชาชนโดยมีฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อนอย่างโครงการ โคก หนอง นา ของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งตอนนี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศนับแสนแปลง สิ่งหนึ่งอันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำ โคก หนอง นา คือ “น้ำ” คือ ให้น้ำเลี้ยงดิน และให้ดินเลี้ยงพืช “ทีมข่าวพิเศษ” เดินทางมาแล้วทั่วประเทศ “หัวใจ” สำคัญในการทำเกษตร หัวใจสำคัญในการทำ โคก หนอง นา ประชาชนทุกคนทุกจังหวัดทุกภูมิภาค เห็นตรงกันว่า “น้ำ” เป็นหัวใจสำคัญที่สุดในการทำเกษตรหรือโคก หนอง นา การที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ทำแปลงโคกหนองนา แบ่งออกเป็นสัดส่วนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 30+30+30+10 นั่นคือ ถูกต้องแล้ว และที่ถูกใจประชาชนยิ่งกว่าคือให้ปรับแปลงโคก หนอง นาได้ตาม “ภูมิสังคม” ของพื้นที่นั้น ๆ พร้อมกับเรียกร้องให้กรมการพัฒนาชุมชน สานต่ออย่าหยุด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ “อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งถือเป็น “คีย์แมน” สำคัญในการสานต่อโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” ได้บอกกับเราว่า “การต่อยอดโครงการโคก หนอง นา ที่ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการไว้ กรมการพัฒนาชุมชน สานต่อเนื่องเพราะถือว่าเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลและของกระทรวงมหาดไทยโดยกรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ ทั้ง 7 ภาคี ได้แก่ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคศาสนา และภาคสื่อมวลชน ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นขั้น เป็นตอนตามกลไกการขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา เพื่อการปฏิรูปประเทศ โดยใช้หมู่บ้านเป็นฐานของการพัฒนา มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้ทุกครัวเรือน และพัฒนาคน ให้มีความรู้และปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีอาชีพ รายได้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ ในส่วนของการพัฒนาคน ทางกรมการพัฒนาชุมชนมีเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบระดับตำบลเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชจำนวน 337 แห่ง ที่พร้อมรองรับการเรียนรู้แก่ประชาชน ไม่ต่ำกว่าปีละ500,000 คน และยกระดับแปลง ที่มีศักยภาพ มีความพร้อมทั้งด้านการให้ความรู้ ให้เป็นศูนย์พักพิง ซึ่งคาดว่าในอนาคตอันใกล้จะเกิดศูนย์พักพิงขึ้นอีกหลายแห่งและกระจายไปทุกพื้นที่ตลอดจนการส่งเสริม และการขยายผลให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวได้ ซึ่งตอนนี้หลายแปลงก็ดำเนินการไปแล้วในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยกรมการพัฒนาชุมชนเป็นพี่เลี้ยงให้..” จากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย “ทีมข่าวพิเศษ” เดินทางลงมายังจังหวัดพะเยา เพื่อติดตามการดำเนินการอำเภอนำร่องไปพูดคุยกับ “แกนนำ” สำคัญอย่าง “นายอำเภอ” ที่ถือว่าเป็น “นายกรัฐมนตรี” ในพื้นที่เพื่อให้ทราบข้อมูลว่าเขามีวิธีคิด กระบวนการทำงาน และการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างไร จึงได้รับเป็นอำเภอนำร่อง 1 ใน 10 ทั่วประเทศ “อำเภอแม่ใจ” เป็นหนึ่งในเก้าอำเภอของ จ.พะเยา มีชื่อเสียงด้านการผลิตสินค้าเกษตร ได้แก่ ลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย ซึ่งมีคุณภาพดีที่สุดในประเทศและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และที่สำคัญกว่านั้น “อำเภอแม่ใจ” มีหนองน้ำธรรมชาติชื่อว่า “หนองเล็งทราย” เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้นน้ำของ “กว๊านพะเยา” มีเนื้อที่กว่า 5 พันไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5 ตำบล ในอำเภอแม่ใจ ที่หล่อเลี้ยงชาวแม่ใจในการประกอบอาชีพเพาะปลูก ทำประมง เลี้ยงสัตว์ และทั้งใช้เป็นสถานที่ผักผ่อนหย่อนใจ “ทีมข่าวพิเศษ” ได้นัดพบกับ “พีรัช จันธิมา” นายอำเภอแม่ใจ สังเกตอำเภอไม่ว่าจะเป็นภายในอาคารและนอกอาคารดูแล้วสบายตา สะอาดสะอ้าน ไม่รกรุงรัง ทางขึ้นทางลงมีการวางต้นไม้ แจกันดอกไม้เป็นระเบียบเรียบร้อย สมกับความเป็นอำเภอนำร่อง หลังทักทายเบื้องต้นกับนายอำเภอเรียบร้อย นายอำเภอแม่ใจเล่าว่า ตนเองเป็นคนอำเภออยากจะพัฒนาที่นี่ กลับมาอยู่ที่จังหวัดพะเยา ตั้งแต่ปี 2563 ปลัดกระทรวงมหาดไทย (สุทธิพงษ์ จุลเจริญ) ได้ตั้งคำถามว่า ทำไมต้อง “Cast” เมื่อได้เข้ารับการอบรมก็ได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องของ “ศาสตร์พระราชา” เราในฐานะที่เป็นนายอำเภอต้องรู้ทุกเรื่อง เรื่องภูมิสังคมและต่อยอดในสิ่งที่เรามี ในอำเภอแม่ใจนี้เป็นแหล่งต้นน้ำ ฝั่งซ้ายคือดอยหลวง ที่มีดอยยาวสุดไปถึงเชียงราย ถึงชื่อว่า “พะเยา” ฝั่งขวาคือแม่ปลื้ม และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และมีงบประมาณในการบริหารจัดการน้ำ เราจึงได้พัฒนาหนอง ดิน ทราย 9,533 ร่อง จากเดิมเก็บน้ำได้ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ตอนนี้ทำมาได้แล้ว 4 เฟส หากเสร็จแล้วจะสามารถเก็บกักน้ำได้ถึง 30 ล้านลูกบาศก์เมตร งบประมาณจากรัฐบาลเกือบ 1,000 ล้านบาท แนวคิดตามศาสตร์พระราชา คือความ ยั่งยืน ฉะนั้นเราต้องบริหารงบประมาณที่ได้มา ให้คงอยู่รักษาให้ได้นานที่สุดเมื่อเราได้เข้าไปฝึกอบรมจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ก็เกิดความรู้สึกฮึกเหิมขึ้นมา เนื่องจากเมื่อก่อนรู้สึกว่าได้ต่อสู้มาอย่างลำบาก แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าถ้ามีผู้ที่คอยให้การสนับสนุนขบวนการต่างๆก็จะง่ายขึ้น สร้างกำลังใจให้เพิ่มขึ้น ทำให้คิดถึงเรื่องของศาสตร์พระราชาที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งการจะสร้างความยั่งยืนให้หนองเล็งทรายได้นอกจากพัฒนาหนองเล็งทรายแล้วมันต้องมีแผนการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลาย และดึงประชาชนในอำเภอ เด็กและเยาวชนให้เข้ามาร่วมให้ได้มากที่สุด “ผมได้ทำแผนที่บริหารจัดการน้ำไว้หมดแล้ว ลำน้ำหลักมี 6 ลำน้ำ เราต้องทำฝายชะลอน้ำให้เป็นไปตามศาสตร์พระราชา พระราชาเป็นน้ำ พระราชินีเป็นป่า เริ่มต้นเราทำการสำรวจว่าของเก่ามีอยู่เท่าไหร่ ฝายเก่ามีอยู่ 319 ฝาย มีทั้งเสียและยังไม่ได้รับการพัฒนา เราเริ่มทำจากจุดที่ทำได้ก่อน โดยไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินเลย เราต้องระดมภาคเรือข่ายทั้ง 7 ภาคี เริ่มจากฝายเดิมที่อันไหนเสียก็ซ่อม อันใหม่เราก็สร้างหากไม่มีงบก็ระดมงบจากองค์กรในท้องถิ่น ทำได้ 135 ฝาย ดึงกลุ่มเกษตรกรเข้ามาร่วมกับภาคีเครือข่าย ของบยุทธศาสตร์จังหวัดได้เพิ่มอีก 649 ฝายซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ ถ้าทำสำเร็จได้ทั้ง 1,103 ฝาย ฝายนั้นนอกจากช่วยกักเก็บน้ำแล้ว ยังจะดึงตะกินดิน หิน ทรายด้วย มีการตั้งกรรมการบริหารจัดการฝายไว้คอยดูแลเปิด-ปิดน้ำ ตอนนี้ยังทำแบบไม่ระบบแบบแผน ได้ทำธรรมนูญน้ำ ผมได้ใช้อำนาจตามระเบียบบริหารจัดการของนายอำเภอแต่งตั้ง “แก่เหมืองแก่ฝาย” 100 กว่าคนจากทุกสายน้ำ ร่างมาเป็นธรรมนูญแก่เหมืองแก่ฝ่ายแต่ละสายน้ำ เพื่อให้ควบคุมรื้อระบบใหม่ กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เพราะฤดูฝนจะมาช่วงกลางเดือนพฤษภาคม หลังจากได้ธรรมนูญแล้ว ให้ทีมชุดปฏิบัติการประจำตำบลที่มีปลัดอำเภอเป็นหัวหน้า ไปทำประชาคมแต่ละตำบล แต่ละหมู่บ้านว่าตามที่แก่เหมืองแก่ฝาย 100 กว่าคนนี้ ท่านโอเคมั้ย แต่เราก็ต้องมีการกระตุ้นไปเรื่อย ๆ อย่าหยุด ตอนนี้ทางเราก็เป็นตัวอย่างให้ที่อื่นได้ นำเอากฏหมาย ธรรมนูญ และความเชื่อ มาทำจึงก่อให้เกิดความยั่งยืน.” สรุปความก็คือว่า การบริหารจัดการน้ำในหนองเล็งทราย ในอนาคตนอกจากเราปรับปรุงพื้นที่ ปรับภูมิทัศน์แล้ว อนาคตตรงนั่นจะมี “พุทธอุทยาน” ด้วย ซึ่งแนวคิดนี้คณะสงฆ์ในจังหวัด ในอำเภอท่านก็เห็นชอบด้วย สนับสนุนเต็มที่ ส่วนการสร้างความยั่งยืนในฐานะอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” จะขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำตามศาสตร์ของพระราชาผ่าน 5 กิจกรรมด้วยกัน คือกิจกรรม 70 พรรษา 700 ฝาก แม่ใจร้อยใจภักดิ์เทิดไท้องค์ราชัน คือ การซ่อมสร้างฝายจำนวน 1,103 ฝาย สอง การสร้างธรรมนูญแก่เหมือง แก่ฝาย สร้างเป้าหมายสู่ความยั่งยืน ตรงนี้จะมีคณะกรรมการดูแลฝายและดูแลการเปิดปิดด้วย สาม คันนาทองคำ ทำตามคำแนะนำของ อาจารย์โก้ หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเชฐ โสวิทยสกุล ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตอนนี้เราได้ถึง 7,700 เมตรเกินเป้าหมายไปมาก เพราะตั้งเป้าไว้แค่ 700 เมตร ทำทุกตำบลเลยแต่เลือกเอาเฉพาะคนที่สมัครใจเท่านั้น ตรงนี้ก็จะเพิ่มความเขียว เพิ่มออกซิเจน เพิ่มพืชผักได้ สี่ กิจกรรมสำคัญคือ 70 พรรษาเมล็ดพันธุ์ความดี 700 ครัวเรือนสู่วิถียั่งยืน ความหมายตรงนี้ก็คือ การสร้างความมั่นคงทางอาหารนั่นเอง ซึ่งดำเนินงานตามแนวคิดของท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย และทำคันนาด้วย ตอนนั้นที่ทำก็ไม่มีงบประมาณในส่วนนี้ ก็เลยขอความอนุเคราะห์ไปที่วัด ทางคณะสงฆ์จึงให้เจ้าคณะตำบลทุกตำบล เป็นนายธนาคาร เมล็ดพันธุ์แห่งความดี จัดกองผ้าป่าเมล็ดพันธุ์ ให้ทุกภาคีเครือข่ายมาร่วมกัน ได้เกินเป้าตั้งไว้ 700 ครัวเรือน แต่ได้ทั้งหมด 753 ครัวเรือนปลูกผักทุกครัวเรือนไว้กินผัก ซึ่งตรงนี้ลดค่าใช้จ่ายและได้กินผักปลอดสารพิษกัน แต่กิจกรรมที่คิดว่าสำคัญเป็นอย่างมาก และตนเองในฐานะนายอำเภอนำร่อง ต้องขับเคลื่อนต่อเนื่อง คือ “กิจกรรมที่ 5 70 พรรษา 700 ต้นกล้าความดี วิถีพอเพียง” เน้นไปที่โรงเรียน เน้นไปที่เด็กนักเรียน ผมเรียนกว่าโครงการ 18+1 ผมมองว่าความยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา ความพอเพียง ความยั่งยืน จะเกิดขึ้นได้ มันต้องเน้นไปที่เด็กให้เขาได้ซึมซับและเรียนรู้ ด้วยการเห็นจริง ปฎิบัติจริง เด็กสมัยนี้เสาร์-อาทิตย์เล่นแต่เกมส์ เราจะทำอย่างไรให้พวกเขาเหล่านี้ซึมซับศาสตร์พระราชา จึงได้ให้คุณครูมานั่งปรึกษาหารือกัน เพื่อสร้างบุคลากรความคิด เลยเป็นที่มาของ “70 พรรษา 700 ต้นกล้า วิถีพอเพียง” แต่เนื่องจากงบก็ไม่มีอีก เราจึงขอความร่วมมือจากผู้อำนวยการของทุกโรงเรียน พาแกนนำนักเรียนแต่ละโรงเรียนไปอบรมที่ศูนย์จิตอาสาพระราชทาน เรียนรู้ฐานกิจกรรมต่างๆ ของทางกรมการพัฒนาชุมชน หรือ พช. โดยให้ผู้นำ พช. และภาคีเครือข่ายมาช่วยกันให้ความรู้แก่นักเรียน เมื่ออบรมเสร็จก็มีประกาศนียบัตรมอบให้เพื่อความภาคภูมิใจ ตอนหลังท่านปลัดกระทรวงมหาดไทยท่านทราบว่าเราทำกิจกรรมนี้ท่านจึงขอให้ไปคุยกับคณะสงฆ์เพื่อให้สามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมเข้าร่วมด้วย ซึ่งตอนนี้จึงเกิดมี 18 โรงเรียนและเพิ่ม 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมเข้ามาด้วย และตอนหลัง กศน.ขอมาร่วมแจมด้วย มันจึงเป็น 18 +1 ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมตอนนี้ได้ตั้งศูนย์จิตอาสาพระราชทานในทุกโรงเรียน มีแปลงผักทุกโรงเรียน จากนั้นแล้วก็ต้องคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนสำหรับเด็ก สำหรับโรงเรียน จึงได้มีการทำหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นมา จากแนวคิดของ “ปลูกป่าในใจคน” ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเรียกว่า “แม่ใจศึกษา” เป็นวิชาเลือก โดยมีเนื้อหา 2 อย่างคือ ประวัติความเป็นมาของคนแม่ใจ ให้รู้จักอัตลักษณ์ รากเหง้าของคนแม่ใจ..” หลังจากพูดคุยกับนายอำเภอแม่ใจ คนหนุ่มไฟแรง ทำให้คิดว่า ความจริงในวงการข้าราชการก็มีคนเก่ง คนมีความรู้ความคิดมากมาย เพียงแต่ผู้บังคับบัญชาต้อง “สร้างแรงจูงใจ” และ “สร้างพื้นที่” ให้พวกเขากล้าแสดงความคิด ความรู้ ความสามรถ พิสูจน์ฝีมือทำงานให้นั่งอยู่ใน “หัวใจ” ของประชาชนให้ได้ การเรียกร้องการกระจายอำนาจจากนักการเมือง จากประชาชนบางกลุ่มคงไม่เกิดขึ้น เหมือนเดิมทุกครั้งเพื่อให้เห็นภาพการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” และสร้างความมั่นคงให้กับประชาชนด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นต้องลงไปพูดคุยกับแกนนำชุมชนและประชาชนทั้งพระภิกษุสงฆ์ในฐานะผู้เป็นภาคีเครือข่ายสำคัญในพื้นที่และประชาชนที่ร่วมทำโครงการ โคก หนอง นา กับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และเช่นเดิม “ไกด์กิตติมศักดิ์” พาลงพื้นที่แบบนี้ภารกิจตกอยู่กับคนของ “กรมการพัฒนาชุมชน” โดยพาไปดูแปลงครูวัยเกษียณอารมณ์ดีมีลูก 3 คนต่างจบและมีครอบครัวไปอยู่ต่างประเทศกันหมดแล้ว ทำโคกหนองนาเป็นแปลงพักผ่อนมีผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน พร้อมกับเป็นสถานที่พักผ่อนและรวมกลุ่มของเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน “ศิรินทร์ทิพย์ วิชัยโน” หรือ “ครูเยาว์” ในวัยเกษียณ แต่ยังดูกระฉับกระเฉงพาเดินชมแปลงโคกหนองนา ขนาด 3 ไร่ซึ่งมีพืชผัก ปลา และกบในแปลงครบ บอกว่า เกษียณอายุราชการครูเมื่อปี 2563 มีความสนใจในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมานาน เพราะรุ่นพ่อแม่เราก็ทำมา ก่อนที่จะเข้าโครงการก็ได้ศึกษามาจากยูทูบ และเข้าร่วมโครงการเพื่อตอบโจทย์ว่า เวลาเกษียณแล้วจะไม่เหงา มีอาหารปลอดสารพิษ ได้ที่อยู่อาศัยที่ร่มรื่น “เข้าสมัครโครงการโคก หนอง นา กับกรมการพัฒนาชุมชน ทำอยู่ในเนื้อที่ 3 ไร่ ขุดลอกคลองไส้ไก่ โดยมีน้องจาก อบต.ก็เข้ามาช่วยดูแลด้วย ทำมาได้ 3ปี แล้ว เป้าหมายคืออยากให้เป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อเป็นตัวอย่างในชุมชน มีคนเข้ามาศึกษาอยู่เป็นประจำ มีการเอามื้อสามัคคี เครือข่ายของเรามีทั้งข้าราชการ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน และคนในชุมชน ทำแล้วมีความสุขดีมาก ชีวิตหลังเกษียณไม่มีเหงา การทำโคก หนอง นา สำหรับคนเริ่มต้นเราต้องตั้งเป้าว่าความต้องการของเราแค่ไหน ระยะแรกเรื่อง 4 พ. ได้แน่คือพออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น คุณสมบัติเบื้องต้นคนจะทำเรื่องนี้มันต้องต้องมีใจรัก ต้องมีที่ดิน และ อย่าลงทุนเยอะ ทำแบบคนจนอย่าทำแบบคนรวย แล้วจะมีความสุข ตอนนี้อยากให้ภาครัฐช่วยส่งเสริมทางการตลาด เพราะสินค้าของเรามีดีที่ปลอดสารพิษ 100% ซึ่งเรารู้ว่าประชาชนและสังคมต้องการมาก และเราไม่มีตลาดหรือคนกลางคอยส่งไปถึงประชาชนลูกค้าเหล่านั้น อยากให้ภาครัฐ เข้ามาเชื่อมต่อให้ตรงนี้ ระหว่างเจ้าของแปลงกับคนบริโภค..” ทางด้าน “พระครูประยุตสีลสุนทร” เจ้าอาวาส วัดศรีบุญชุม ต.ศรีก้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา ซึ่งเป็นตัวแทนของพระสงฆ์ในพื้นที่เข้าร่วมโครงการโคก หนอง นา ด้วย จำนวน 2 แปลง ขนาด 3 ไร่ และ 10 ไร่ ขนาด 3 ไร่เป็นแปลงของญาติโยมส่วนขนาด 10 ไร่ใช้พื้นที่ป่าช้าเป็นแปลงโคก หนอง นา ท่านได้บอกว่าเราว่า อนาคตตรงนั้นจะทำเป็นศูนย์เรียนรู้และมอบให้กับกรมการพัฒนาชุมชนดูแล “อาตมาเป็นตัวแทนภาคศาสนา นอกจากทำโคก หนอง นา ทำสาธารณะสงเคราะห์ร่วมกับอำเภอแม่ใจแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นนายธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชให้กับชุมชนด้วย มีเมล็ดพันธุ์ที่ชาวบ้านนำมาบริจาคข้าวเปลือก ฟัก แตง ถั่ว เป็นเมล็ดพันธุ์ที่สามารถนำไปใช้ต่อได้ และมีโครงการอำเภอนำร่อง หลัก “บวร” เราทำกันมาตลอด สาธารณะสงเคราะห์ในชุมชนคณะสงฆ์เราทำอยู่แล้ว แต่เมื่อมีหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยสนับสนุนจึงทำให้ช่วยเติมเต็มให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เราได้เครือข่ายทุกภาคส่วน การทำโครงการโคก หนอง นา ได้งบ จาก พช. และงบบริจาคด้วย คาดหวังว่าจะเป็นต้นแบบให้กับชุมชน ในเรื่องอาหารปลอดสารพิษ ทำโคก หนอง นา ไว้ 2 ที่ ในพื้นที่ 3 ไร่ และ10ไร่ ซึ่งตั้งใจจะทำเป็นศูนย์เรียนรู้ทำแล้วจะมอบให้ พช. หรือกรมการพัฒนาชุมชนบริหารจัดการต่อไป..” หัวใจสำคัญที่สุดของ “อำเภอนำร่อง” ทั้ง 10 อำเภอ ใน 10 จังหวัดครอบคลุมทุกภูมิภาค ส่วนหนึ่งนั่นคือ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีสุข มีน้ำใจเอื้อเฟื้อแบ่งปัน มีความรู้รักสามัคคีในชุมชน ในขณะเดียวกันเป้าหมายมากไปกว่านั้นคือ ขจัดความยากจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ยั่งยืน การช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตามหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้น ซึ่งอันเป็นฐานสำคัญในการทำ โคก หนอง นา ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ได้อยู่แล้ว.. จำนวนผู้ชม : 330 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ‘ดาวเปิดดวง’สุดยอดเครื่องราง 2019 โชคลาภวาสนา อุดมทรัพย์มหาบารมี ที่สุดแห่งชนวนมวลสาร อุทัย มณี ก.ค. 08, 2019 หลวงปู่อุดมทรัพย์ (พระอาจารย์จ่อย สิริคุตโต) แห่งสำนักสงฆ์เวฬุวัน… สัมภาษณ์พิเศษ : เจ้าคุณประสาร “คีย์แมน” จัดงาน “วันวิสาขบูชาโลก” อุทัย มณี พ.ค. 18, 2024 กิจกรรมวันวิสาขบูชานานาชาติหรือ “วันวิสาขบูชาโลก” ที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างวันที่… ประธานองคมนตรีเป็นประธานในการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารเพล พร้อมโปรดเกล้า ฯให้ข้าราชการในพระองค์บำเพ็ญพระราชกุศลถวายภัตตาหารเพลตามพระอารามต่าง ๆ อุทัย มณี ก.ค. 29, 2021 วันพุธ ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว… สมเด็จพระสังฆราชประทานพระวโรกาสให้ ทูตจีนประจำประเทศไทยเฝ้าถวายสักการะ อุทัย มณี ธ.ค. 28, 2022 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช… กองปราบบุกค้น 3 จุด จับกุมคนย้อมแมวชุดสังฆทาน-ไตรจีวรเก่า ขายในราคาแพงเกินจริง อุทัย มณี เม.ย. 08, 2021 วันนี้ (8 เม.ย. 64) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค… ปลัด มท. ร่วมเสวนา “การเตรียมความพร้อมสมาชิกวุฒิสภา ปี 2567” อุทัย มณี พ.ค. 17, 2024 วันนี้17 พ.ค. 67 ที่ห้องประชุมไฮเดนเยีย โรงแรมทีเคพาเลช แอนด์… หยุดท่วม หยุดแล้ง ด้วย “โคก หนอง นา พัฒนาชุมชน “ อุทัย มณี ก.ย. 29, 2021 วันที่ 29 กันยายน 2564 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน… “พระพรหมกวี” ชื่นชม “คณะสงฆ์ลพบุรี” มอบบ้านให้ชาวพุทธยากไร้ 13 หลังแล้ว ยกให้เป็นจังหวัดนำร่อง!! อุทัย มณี มิ.ย. 24, 2024 วันที่ 24 มิถุนายน 2567 ณ บ้านสระตาแวว ต.พุคา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี… ก้าวสู่วันที่ 4 กิจกรรม “เดิน วิ่ง ปั่น ธงตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติฯ” พสกนิกรทั่วประเทศ ร่วมแสดงความจงรักภักดี อุทัย มณี มิ.ย. 04, 2024 วันนี้ (4 มิ.ย. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรมเดิน… Related Articles From the same category ถวายพระกุศลแด่ “สมเด็จพระสังฆราช” แพทย์อาสากว่า 200ชีวิตตรวจสุขภาพฟรีให้พระสงฆ์จังหวัดสมุทรสาคร วันที่ 28 มกราคม 2567 ที่วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร จังหวัดสมุทรสาคร… “มหานรินทร์” เปิด Timeline อาณาจักร ไร่เชิญตะวัน พันล้าน วันที่ 20 ตุลาคม 2567 พระมหานรินทร์ นรินฺโท ป.ธ. 9 อดีตแอดมินเพจ alittlebuddha… “ทีมฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ” เข้ากราบ “สมเด็จธงชัย” วันที่ 25 พ.ค. 65 ทีมฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ในอังกฤษ หรือฉายา"จิ้งจอกสยาม"… แบเบอร์! ‘บิ๊กตู่’ นั่งนายกรัฐมนตรีต่ออีกสมัย ด้วยเสียง 500 ต่อ 244 คะแนน เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน มีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี… พระสงฆ์พม่า : ที่ทั้งสร้างความเข้มแข็ง-แทรกแซงกิจการรัฐ วันนี้เพจ Silapawattanatham - ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเว็บไซต์ว่าด้วยประวัติศาสตร์…
Leave a Reply