ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญไม่ย่อท้อ แม้ไร้งบสนับสนุนจากรัฐตั้งแต่ปี 2562

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 จากกรณีที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ไม่ได้รับงบประมาณมาตั้งแต่ปี 2562 แต่ทางผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ยังคงมุ่งมั่นพัฒนานักเรียนสามเณรต่อไป แม้อัตรากำลังในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาไม่สอดคล้องกับกระทรวงศึกษาธิการ แลสมาพันธ์ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนสามัญศึกษาแห่งประเทศไทยและภาคี ได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ กมธ.ศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ที่หอประชุมใหญ่พุทธมณฑล อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐมนั้น

ในเรื่องนี้ นายสิทธิเณศ เห้งทับ เลขานุการสมาคมครูพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาภาคใต้ กล่าวว่าได้มีการชี้แจงออกมาเป็นประเด็น โดยประเด็นที่ หนึ่ง ในความเป็นจริง เจ้าหน้าที่การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ ( จศป.) ผู้มีสิทธิ์ตามข้อบังคับการบริหารงานบุคคลฯ (กบป.) ตามข้อ 58 ที่บุคลการทางการศึกษาที่อยู่ก่อน มี พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2562 ได้รับการยกเว้น ให้เป็น บุคคลกร ตาม ข้อบังครับ ประเด็นนี้ จึงไม่เป็นเป็นความจริงตามที่กล่าวอ้าง

ส่วนประเด็นที่สอง เรื่องมาตรฐานคุณภาพครู และยังไม่ได้มีการควบคุมมาตรฐาน ในข้อเท็จจริงโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา มีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอยู่แล้ว โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดที่โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่นั้น โดยการร่วมกับนักวิชาการสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ทั้ง 14 เขต ซึ่อยู่ในการกับกับดูแลของ สำนักงาน สศป. ในส่วนของการประเมินภายนอกนั้น มี สมศ.เขาดูแลและประเมินโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา มาตรฐานเดียวกันหมด ทุกสังกัดในการจัดการเรียนการสอน และหลักสูตร เป็นต้น การวัดผลระดับชาติ ทั้ง O-NETและ ฺB-NET ที่เป็นมาตรฐานกลางที่สำนักงานมาตรฐานทางการศึกษาได้มีการวัด ปริยัติธรรมแผนกสามัญก็ผ่านการประเมินนั้นมาโดยตลอดคำกล่าวของต้นขัดแย้งกับหลักฐานความเป็นจริง เรื่องมาตรฐานคุณภาพครู และบุคลากร ครูที่เป็นฆราวาส มีใบประกอบวิชาชีพครู และใบประกอบวิชาชีพผู้บริหาร อยู่แล้วซึ่งไม่ตรงกับคำกล่าวแต่อย่างใด

ทั้งนี้ นายสิทธิเณศ ยังกล่าวต่อว่า ครูในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จัดการเรียนการสอนเหมือนกับหน่วยงาน ราชการ อื่น ๆ จัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ 8 กลุ่มสาระวิชา เหมือน กับ หน่วยงานอื่นๆ ที่จัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องท้องถิ่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงกระเกษตรและสหกรณ์ แม้แต่กระทรวงการคลัง ล้วนแต่ พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคลากรที่ดีของชาติ มีความรู้ คู่คุณธรรม ครูและบุคลากรที่ว่า เหล่านี้ได้รับการยอมรับจากสังคม มีเกียรติ-ยศ และความมั่นคงในการดำรงชีวิต ได้รับสิทธิสวัสดิการตามกฎหมาย

ต่างกับคณะครูโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ที่อยู่ด้วยความศรัทธา และอุดมการณ์ นานกว่า 50 ปี เป็นฐานรากต้นทาง ของระบบการศึกษาไทย แม้พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ.2562 ประกาศใช้ ปัจจุบันไม่ได้รับ แต่ค่าตอบแทน ตามสิทธิและกฎหมาย ครู และบุคลกรทางการศึกษา รับค่าตอบแทนน้อยว่ามาตรฐานค่าแรงขั้นต่ำ ทั้งที่ครูพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษามีมาตรฐานตามที่ กระทรวงและราชการกำหนด ภายใต้การจัดการศึกษาที่มีอย่างจำกัด ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณที่จำกัด หรือถูกมองว่าไม่มีคุณภาพ ครูผู้สอนขาดมาตรฐานวิชาชีพ แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างศาสนทายาทที่มีคุณภาพทั้งทางโลกและทางธรรมให้ควบคู่กันไป ทันต่อโลกต่อการพัฒนาประเทศและทันต่อสังคมโลกที่พัฒนาแต่วัตถุแต่กลับเสื่อมถอยด้านศีลธรรม

อย่างไรก็ตาม คณะผู้บริหาร ครูสอนโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ในการพัฒนา ครูพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ทั่วประเทศ ยังมุ่งหวังพัฒนานักเรียนสามเณร ในระบบให้มีคุณภาพ สร้างศาสนทายาทของพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงหลักธรรมคำสอนที่ถูกต้อง แม้จะขาดการเหลียวแลจากหน่วยงานราชการ

Leave a Reply