เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ศูนย์ประชุมมลฑาทิพย์ฮอลล์ จังหวัดอุดรธานี พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร ) เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ 13 สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า เป็นกระบวนกรพัฒนาและแลกเปลี่ยนกับนักสันติวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานีรุ่นแรก โดยมีผู้นำศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เข้าร่วมพัฒนาและเรียนรู้ซึ่งกันและกันซึ่งโลกมีความหลากหลายเราควรเรียนรู้ระหว่างกัน
โดยมีอาจารย์ประวีณ ประพฤติชอบ ผู้รับผิดชอบโครงการ ในฐานะรุ่นพี่เป็นนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข 4ส.12 กล่าวต้อนรับว่า ถือว่าเรามุ่งเป็นอัตลักษณ์ร่วมในการอยู่ร่วมกัน โดยมุ่งพัฒนาการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นการสร้างการรับรู้ในการอยู่ร่วมกันมิติความหลากหลายซึ่งอุดรธานีมีพุทธ คริสต์ อิสลาม ซึ่งการฝึกอบรมในครั้งนี้มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมในความหลากหลาย จึงมุ่งพัฒนานักสันติวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี รุ่นที่ 1 ภายใต้โครงการ “การพัฒนาเครือข่ายสันติวัฒนธรรม อุดรธานีเมืองต้นแบบอัตลักษณ์ร่วมวัฒนธรรม”
นายธีทัต พิมพา วัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานีเป็นประธานเปิดกล่าวประเด็นสำคัญว่า เมืองอุดรธานีมีการพัฒนาคุณธรรมต้นแบบ ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดี ซึ่งอุดรธานีถือว่าเป็นต้นแบบในการอยู่ร่วมกันแบบไม่มีความขัดแย้งภายใต้ความหลากหลาย ซึ่งกรมการศาสนายอมรับ ๕ ศาสนาในประเทศไทย คือ พุทธ คริสต์ อิสลาม ซิกส์ ฮินดู โดยทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกกันได้
พระปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า หลังจากนั้นได้มีโอกาสสะท้อนประเด็นสำคัญในเวทีเสวนาว่า การพัฒนานักสันติวัฒนธรรม จังหวัดอุดรธานี รุ่นที่ 1 ภายใต้โครงการการพัฒนาเครือข่ายสันติวัฒนธรรมอุดรธานีเมืองต้นแบบอัตลักษณ์ร่วมพหุวัฒนธรรม โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งนำเสนอการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรม โดยได้รับนิมนต์เพื่อร่วมการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “พหุวัฒนธรรม สันติวัฒนธรรม พื้นที่สันติสุขการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมในสังคมไทยและสังคมโลก” ในการเสวนาการอยู่ร่วมบนความแตกต่างทางศาสนา จึงมอง 5 มิติ ประกอบด้วย
1)มิติ ศาสนาสร้างสามัคคีเป็นฐานสร้างสันติสุขในสังคม
2)มิติ เข้าใจศาสนาของตนอย่างลึกซึ้งและเรียนรู้ศาสนาอื่น
3)มิติ ศาสนาเป็นรากฐานของวัฒนธรรม
4)มิติ มองความเป็นสากลในฐานะมนุษย์-สิทธิมนุษยชน
5)มิติ ผู้นำศาสนาวิถีใหม่ปรับตัวอย่างไรในภาวะหักศอก
พระปราโมทย์ กล่าวอีกว่า จึงขออนุโมทนาขอบคุณกับท่านอาจารย์ประวีณ ประพฤติชอบ และคณะ ผู้รับผิดชอบโครงการ ในฐานะนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข 4 ส.12 ในการพัฒนานักสันติวัฒนธรรมในครั้งนี้ พร้อมอำนวยความสะดวกในการเดินทางและร่วมกันขับเคลื่อนสันติสุขในมิติศาสนาวัฒนธรรมพร้อมขยายผลหลักสูตรไปสู่จังหวัดอื่นๆ เพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุขต่อไป
Leave a Reply