ปลัดมหาดไทยติวเข้ม ผู้ว่าฯ-ผู้ตรวจใหม่ ขอให้ทำหน้าที่ในฐานะ”คนของพระราชา” ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับประชาชน วันที่ 13 ธ.ค. 65 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษ เรื่อง “ผู้ว่าราชการจังหวัด : ความคาดหวังของประชาชน” ตามโครงการศึกษาอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี นายสมคิด จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทยด้านบริหาร นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้ตรวจราชการกระทรวง ที่ปรึกษาระดับกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่วมรับฟัง ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคนที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอันเป็น “ตำแหน่งที่มีความสำคัญที่สุด” ต่อความมั่นคงของประเทศชาติ มีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญควบคู่กับประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นความภาคภูมิใจของตนเองและครอบครัว ทั้งนี้ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกท่านที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งล้วนแต่มีโอกาสในการที่จะได้สร้างเกียรติยศ ชื่อเสียง หรือประวัติศาสตร์ของชีวิตท่าน ในการที่จะได้ทำสิ่งที่ดีที่คนอื่นไม่มีโอกาสได้ทำ แม้แต่ท่านนายกรัฐมนตรีก็ไม่มีโอกาสเช่นทุกท่าน เพราะตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด จะต้องปฏิบัติราชการทำหน้าที่ทั้งในเชิงปฏิบัติและเชิงนโยบาย คือ ลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อจะได้พบเห็นความสุขที่ฉายอยู่ในแววตาของพี่น้องประชาชน และจะได้คิดหาแนวทางแก้ไขความทุกข์ยากลำเค็ญของพี่น้องประชาชน เพื่อจะได้เห็นความสุข ความปลื้มปีติที่ฉายในแววตาของพี่น้องประชาชน โดยขอให้ได้ระลึกนึกถึงวันแรกที่ทุกท่านได้มาเป็นข้าราชการ ทั้งปลัดอำเภอ และตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต่างมี Passion ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำเพื่อสร้างประโยชน์สุขให้กับประชาชนและประเทศชาติ ซึ่ง “วันนี้ทุกท่านได้โอกาสนั้นแล้ว” ทั้งนี้ ถ้าทุกท่านตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจังก็จะทำให้รู้สึกว่า “มีความสุข” ดังนั้น จึงต้องลงมือทำอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพราะทุกวินาทีที่มีตำแหน่ง มีโอกาส ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อสร้างประวัติศาสตร์ของชีวิต สร้างประวัติศาสตร์ของสถาบันมหาดไทย อันประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) ต้องสดับตรับฟังภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี อันประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคผู้นำศาสนา ภาคผู้นำวิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชนที่อยู่ในพื้นที่ “ด้วยหัวใจที่เปิดกว้าง” และ “ไตร่ตรองด้วยสติ” อย่ามีอคติ โกรธเคือง ทุกข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ เพื่อจะพัฒนาตนเอง พัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้น ต้องรู้จักการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเอง ค้นหาจุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเราเอง และ 2) การทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของทุกท่านมีพี่น้องประชาชนและทุกภาคส่วนติดตามอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ กลายเป็นประวัติศาสตร์ของชีวิต จึงต้อง “คิดดี ทำดี และทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง” และ “ความจริงใจเป็นสิ่งที่จำเป็น” “องค์หลักชัยของพวกเราทุกคน คือ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พวกเราดำรงตำแหน่ง และทรงมอบหมายความไว้วางพระราชหฤทัยให้เราไป “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” พี่น้องประชาชน ดังนั้น ทุกคนต้องน้อมนำพระบรมราชโองการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาประชาราษฎร” และ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นหลักในการปฏิบัติราชการในทุกเรื่อง เพื่อเป็นเกราะป้องกันจิตใจของเราให้มั่นคงในการทำงานเพื่อประเทศชาติ เพื่อประชาชน เพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำให้ประเทศชาติของเราเป็นปึกแผ่น เป็นเอกรัฐมั่นคงอยู่ได้ ให้สมกับที่เราเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาเป็นระยะเวลาถึง 130 ปี ด้วยการมุ่งมั่นทำสิ่งที่ดีอย่างภาคภูมิใจ เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของประเทศชาติและชาวมหาดไทย ทำให้ความทุกข์ของประชาชนลดลงจนหมดไป มีแต่ความสุขเพิ่มพูนขึ้นอย่างยั่งยืน ด้วยการหมั่นลงพื้นที่เยี่ยมเยียน “นั่งอยู่ในหัวใจประชาชน” ดั่งคำปรารภในสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงกล่าวว่า “ให้รองเท้าสึกก่อนกางเกงขาด” รวมทั้งทำงานร่วมกับฝ่ายการเมืองในพื้นที่ โดยยึดและปฏิบัติตามระเบียบกฎหมาย เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน” ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีความสำคัญและทำให้เกิดความเชื่อมั่นของหัวหน้าส่วนราชการ และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ คือ “ภาวะผู้นำ” อันได้แก่ 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมีความแน่วแน่ มีความมุ่งมั่นในการเป็น “ข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ต้องมี Passion ในการปฏิบัติราชการ ด้วยอุดมการณ์ของความเป็นข้าราชการ ที่อยากทำแต่เรื่องดี ๆ ทำหน้าที่ทั้งในฐานะผู้กำหนดนโยบาย และผู้บริหารปฏิบัติการในพื้นที่ ดังนั้น “อะไรที่รัฐบาลไม่ได้สั่ง กระทรวงมหาดไทยไม่ได้สั่ง แต่เป็นประโยชน์ในพื้นที่ ขอให้ใช้ภาวะผู้นำทำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในพื้นที่” 2) ปฏิบัติตนให้เป็นรวงข้าวที่สุกโน้มลงไปหาพระแม่ธรณี ด้วยการโน้มตัวเข้าไปหาหัวหน้าส่วนราชการ และภาคีเครือข่ายที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อ Review สิ่งที่อยากจะทำ รับฟังข้อแนะนำ และต้องลงไปหาพี่น้องประชาชน ลงไปค้นหาปัญหา ลงไปพูดคุย ลงไปเพื่อสร้างความสุขให้กับพี่น้องประชาชนด้วยตนเอง 3) ต้องไม่ทำอะไรคนเดียว ต้อง “บูรณาการ” ด้วยการขับเคลื่อนร่วมกับนายอำเภอและทีมอำเภอที่ผ่านการฝึกอบรมโครงการอำเภอนำร่องบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ด้วยการศึกษาแนวทางในการสร้าง “ทีมจังหวัด” “ทีมอำเภอ” “ทีมตำบล” “ทีมหมู่บ้าน” ให้ครบทุกชุมชน/หมู่บ้าน เพื่อให้มีทีมงานในการขับเคลื่อนสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับประชาชนทั้งจังหวัด 4) ต้องเป็น “ผู้นำลงมือทำ ลงมือปฏิบัติ” อาทิ การสวมใส่ผ้าไทย อันมีนัยยะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนผู้ประกอบการผ้า ช่างทอผ้า ในพื้นที่ และส่งผลทำให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ทำให้คนมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ต้องหมั่นลงไปติดตามผล ไปให้กำลังใจ รวมถึงเรื่องที่ประชาชนในพื้นที่หรือผู้ประกอบการในพื้นที่ให้ความสนใจ เพื่อสร้างเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับประชาชน 5) ต้องทำทุกเรื่องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิด “ความยั่งยืน” เช่น การปลูกต้นไม้ ไม่ใช่สักแต่ปลูก แต่ต้องดูแล ด้วยการคิด วางแผน ว่าจะทำอย่างไรต่อไป มีกลุ่มจิตอาสาไปช่วยดูแล ด้วยการใช้ “ใจ” และ “องค์ความรู้” ทำให้ส่วนรวม ทำให้ประเทศชาติ อย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้เกิดการสร้างจิตสำนึก สร้างนิสัย สร้างวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของพี่น้องประชาชน เช่น วัฒนธรรมการสวมใส่หมวกกันน็อก เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน นอกจากนั้น รวมถึง การน้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ด้วยการปลูกผักสวนครัว เริ่มตั้งแต่ที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด บ้านพักข้าราชการ เป็น “ผู้นำต้องทำก่อน” เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้มีพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ให้น้อมนำแนวพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน : Sustainable Village” ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยการส่งเสริมประชาชนได้ “พึ่งพาตนเอง” เลี้ยงกบ ไก่ ปลา เป็ด จิ้งหรีด ไว้บริโภค มีเหลือไว้แบ่งปัน หรือจำหน่ายสร้างรายได้ และทำให้คนลด ละ เลิกในเรื่องอบายมุข เพื่อทำให้สถาบันครอบครัวมีความแข็งแกร่ง รวมทั้งส่งเสริมในเรื่องอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับพี่น้องประชาชน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ ยังกล่าวถึง “การทำหน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย” โดยเน้นย้ำว่า การตรวจราชการ ไม่ใช่ตรวจตามธรรมเนียมประเพณี แต่ต้อง “ตรวจอย่างจริงจัง” ในฐานะผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ที่ใช้อำนาจของปลัดกระทรวงมหาดไทยที่เหนือกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อพัฒนางานให้เกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชน และทำให้ผู้บริหารส่วนกลางได้รับทราบข้อมูล ทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ต้องปรับปรุงของจังหวัด ต้องทำให้จริงจัง เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการบริหาร การวินิจฉัย อันจะได้สร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับประชาชนในทุกพื้นที่ สิ่งที่ไม่ดี จะได้รับการแก้ไข เพราะหน้าที่ของคนมหาดไทย คือ “การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข” “ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมุ่งมั่นทำหน้าที่ในฐานะ “คนของพระราชา” ผู้บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชนผู้เป็นพสกนิกรของพระองค์ท่านให้ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ด้วยการยึดหลักการของคำว่า “บูรณาการ” ในทุกเรื่อง เช่น การน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “น้ำคือชีวิต” ไปบูรณาการทุกภาคีเครือข่ายในพื้นที่ว่าจะทำอย่างไร ทำให้เราสามารถเก็บน้ำในฤดูฝนเพื่อแบ่งมวลน้ำไม่ให้น้ำไปท่วมบ้านเรือนประชาชน และในฤดูแล้งมีน้ำไปใช้ในการประกอบอาชีพ และเสริมด้วยธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดในบางจุดที่น้ำท่วมขัง น้ำไหลผ่าน ซึ่งทั้งหลายจะเกื้อกูลไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้ทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชนทุกพื้นที่ รวมถึงการส่งเสริมผ้าไทย มิใช่สะท้อนเพียงเรื่องของการแต่งกาย แต่มันเป็นการบูรณาการในทุกขั้นตอนจนกระทั่งปลายน้ำ คือ ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างไร ด้วยการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผู้ประกอบการ ช่างทอผ้า เข้าใจหลักการพึ่งพาตนเอง ทั้งการปลูกฝ้าย ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ปลูกต้นไม้ให้สีธรรมชาติ หรือแม้แต่เรื่องการส่งเสริมการรับชม “โขนภาพยนตร์” ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดก็สามารถบูรณาการทั้งมิติการศึกษา วัฒนธรรม ศิลปะ ประเพณี อาทิ ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนที่ไปรับชมโขนภาพยนตร์ได้มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มเติม ทั้งการเขียนบทความ เขียนสรุปความ การวาดภาพระบายสี การสร้างเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะทำให้การทำหน้าที่ของทุกท่านเป็นการทำหน้าที่เพื่อยังประโยชน์ให้พี่น้องประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย จำนวนผู้ชม : 212 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author พระสงฆ์ไทย กับคิ้วที่หายไป พระสงฆ์ (ไทย) เริ่มโกนคิ้วตั้งแต่เมื่อไหร่? อุทัย มณี พ.ค. 09, 2023 เมื่อไม่นานนี้มีกระแส “เอาคิ้วเราคืนมา” ในหมู่พระสงฆ์ไทยบางส่วน… วัดโสธรฯ เตรียมบูรณะปฎิสังขรณ์ “พระอุโบสถ” ปลัดเก่งนำชาวพุทธร่วมพิธี อุทัย มณี พ.ค. 07, 2024 วันนี้ (7 พ.ค. 67) เวลา 08.00 น. ที่พระอุโบสถโสธรวราราม วรวิหาร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา… วัดพระธรรมกาย-มูลนิธิธรรมกายมอบถุงยังชีพพร้อมเวชภัณฑ์มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ต้านภัยโควิด “สนองพระดำริสมเด็จพระสังฆราชฯ” อุทัย มณี พ.ค. 13, 2021 วันที่ 13 พ.ค. 64 จากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก… “มจร” ระดมความคิดคณาจารย์ ร่วม “พัฒนาหลักสูตร” ให้สอดรับกับมาตรฐานกระทรวงอว. อุทัย มณี เม.ย. 30, 2024 วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๗ ณ อาคารวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC)… วัดดังเชียงใหม่ นัดชาวบ้านเคลียร์ 8 มี.ค. เคาะค่าเช่าใหม่ ไม่น่าเกิน 1 หมื่น จากปกติ 1,500 อุทัย มณี มี.ค. 04, 2024 วันที่ 4 มี.ค. 67 เจ้าอาวาสวัดเชียงใหม่ ขีดเส้น 8 มี.ค. เคาะเรตค่าเช่าใหม่… ยักษ์ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ 100ปี!!…. พิธีการสุดเข้มขลัง อุทัย มณี มี.ค. 25, 2022 ยักษ์ 100 ปี หลวงพ่อพัฒน์ 100ปี!!.... พิธีการสุดเข้มขลัง หลวงพ่อพัฒน์เมตตาแนะเขียนยันต์… ผอ.สันติศึกษา”มจร” ถอดบทเรียนชีวิตพระพุทธเจ้า ผ่านวันอาสาฬหบูชา แนะนำมาปรับปรุงก่อนจะสายเกินแก้ อุทัย มณี ก.ค. 05, 2020 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ… พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ให้พระภาวนาเขมคุณ เป็นพระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. อุทัย มณี มิ.ย. 01, 2023 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ให้… มหาจุฬาฯ เปิดรับสมัคร “ด๊อกเตอร์ -มหาบัณฑิต สันติศึกษา” อุทัย มณี มี.ค. 04, 2020 หลักสูตรสันติศึกษามหาจุฬาเปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก… Related Articles From the same category ครั้งแรกของโลก! ไทยเตรียมแปลพระไตรปิฏกฉบับบาลีเป็นภาษาอังกฤษครบ 45 เล่ม วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2564 พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.9, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์,… ‘สว.นวลนิจ’ จ่อลุยยกเครื่องกฎหมาย แก้ปัญหาพระถูกจับสึกฟรี! วันที่ 21 สิงหาคม 2567 นางสาวนวลนิจ หงษ์วิวัฒน์ สมาชิกวุฒิสภา… มหาดไทยชวนลูก พาแม่ช้อป “สินค้าบริโภคคู่ครัวเรือน ราคาสุดพิเศษ” ในงาน “สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ สืบสาน รักษา และต่อยอด ป่าเล็กในเมืองใหญ่” ถึงวันที่ 15 สิงหาคมศกนี้ วันที่ 12 ส.ค. 66 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… เจ้าคุณสวีเดนทูลถวายดุษฎีนิพนธ์ป.เอกสมเด็จพระสังฆราช ระหว่างวันที่ 12-19 พ.ค. 2562 พระวิเทศปุญญาภรณ์ หรือเจ้าคุณสวีเดน… ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดงาน “มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” กระตุ้นการท่องเที่ยว วันที่ 1 ก.พ. 65 เวลา 18:30 น. ที่สวนเฉลิมพระเกียรติ 82 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่…
Leave a Reply