กระทรวงมหาดไทย บูรณาการหน่วยงานภาครัฐแก้ไขปัญหาที่ดิน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน วันที่ 14 มิ.ย. 66 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมดำรงธรรม ชั้น 2 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมหารือพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่ไม่สามารถพัฒนาได้เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่หวงห้าม โดยมี นายพิชิต สมบัติมาก รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ รองอธิบดีกรมการปกครอง นายสุพจน์ ภู่รัตนโอภา ผู้อำนวยการกองการอนุญาต กรมป่าไม้ นายพงศกร ยุทธโกวิท ผู้ช่วยผู้ว่าการวางแผนและพัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นายธนวัฒน์ ปิ่นแก้ว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สป. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม โดย ศ.ดร.สุรินทร คําฝอย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นางจตุพร โรจนพานิช อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางพนิตาวดี ปราชญ์นคร รองอธิบดีกรมที่ดิน พลเรือตรี ธนิตพงศ์ สิริเศวตศักดิ์ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม นางมาลีภรณ์ คุ้มเกษม ผู้แทนกรมศิลปากร นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) นายปรีชา ลิ้มถวิล ผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) พร้อมด้วยผู้แทนกรมชลประทาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรมธนารักษ์ กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมส่งเสริมสหกรณ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมทางหลวงชนบท การรถไฟแห่งประเทศไทย และกรมเจ้าท่า ร่วมประชุมผ่านระบบประชุมทางไกล (Cisco Webex Meeting) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า การประชุมหารือพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่ไม่สามารถพัฒนาได้เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่หวงห้าม ในวันนี้ เป็นการระดมความคิดเห็นเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมให้พื้นที่หวงห้ามซึ่งเป็นที่ดินที่สงวนไว้ตามกฎหมายเฉพาะ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่า ประชาชนประสบปัญหาในเรื่องที่อยู่อาศัยหรือที่ดินทำกิน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “หลวงรุกที่ราษฎร์ หรือราษฎร์รุกที่หลวง” ซึ่งจากการที่ตนได้ลงพื้นที่ตรวจราชการร่วมกับคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ และจากการลงพื้นที่ตรวจราชการในวาระต่าง ๆ พบว่าประชาชนในพื้นที่ยังมีความลำบากโดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ชายแดน และมีความต้องการและจำเป็นในด้านโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทั้งเรื่องไฟฟ้า ประปา ถนน ในพื้นที่หมู่บ้าน วัด หรือสำนักสงฆ์ที่แตกต่างกันไป แต่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาที่ส่งผลให้ไม่สามารถสร้างหรือจัดตั้งระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการได้ เพราะพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน ซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้ามตามกฎหมาย “กระทรวงมหาดไทยจึงได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ ดำเนินการสำรวจพื้นที่หมู่บ้านที่ไม่สามารถพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบสาธารณูปการ เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่หวงห้าม อาทิ พื้นที่ทหาร พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยสำรวจพื้นที่ จำนวนครัวเรือนและจำนวนประชากร ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว มาประมวลรวบรวมข้อมูลรายละเอียดใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อจัดประชุมพูดคุยหาแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนร่วมกับกระทรวง กรม และหน่วยงานต่อไป ซึ่งจากการสำรวจพบว่า มีพื้นที่ลักษณะดังกล่าว จำนวน 8,022 แห่ง ใน 67 จังหวัด 288 อำเภอ 792 ตำบล ประกอบด้วย พื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน 2,209 แห่ง วัด/ที่พักสงฆ์/ศาสนสถาน จำนวน 899 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 196 แห่ง โรงเรียน จำนวน 305 แห่ง สถานที่ราชการ จำนวน 230 แห่ง พัฒนาแหล่งน้ำฯ จำนวน 1,471 แห่ง พัฒนาด้านคมนาคม จำนวน 1,801 แห่ง และพื้นที่อื่น ๆ จำนวน 911 แห่ง” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า ตนเคยได้หารือการแก้ไขปัญหาเรื่องการบุกรุกพื้นที่หวงห้าม เช่น การบุกรุกพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือแนวเขตป่าชายเลน รวมถึงพื้นที่ สปก. อื่น ๆ ซึ่งได้ทราบว่าปัญหาเกิดขึ้นหลังจากที่ได้มีประกาศพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ทำให้ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านซึ่งอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งที่มีการอยู่อาศัยมาก่อนการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ อีกทั้งยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์การใช้ประโยชน์ หรือแม้กระทั่งสิทธิ์ในที่ดินที่ตกทอดจากบรรพบุรุษ ทำให้ประชาชนในพื้นที่เหล่านั้นได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก ซึ่งกระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดิน จึงได้ขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาโดยรวบรวมและประมวลข้อมูลด้วยการใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศที่ได้มาจากสหรัฐอเมริกาถ่ายไว้เมื่อ ปี พ.ศ.2495 เป็นเครื่องมือในการระบุพื้นที่หมู่บ้านเดิมหรือพื้นที่ไร่นาเดิมที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่มาก่อน และนำมาออกหลักฐานเอกสารสิทธิ์ได้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยการยอมรับร่วมกันของกระทรวงอื่น ๆ ด้วย “เราจึงต้องหาทางว่าจะทำอย่างไรให้ทำทีเดียวให้ครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่ประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยากเพราะต้องเสียพื้นที่อาศัยและที่ดินทำกิน จึงต้องหากลวิธีเพื่อพิสูจน์สิทธิ์และคืนที่ดินให้ชาวบ้าน จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะได้พูดคุยหารือเพื่อช่วยกันขจัดปัดเป่าความทุกข์ความเดือดร้อน และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาพื้นที่ต่อไป” “จากการลงพื้นที่ไปตรวจราชการที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา พบว่าชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ยังมีความยากลำบากและไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน เพราะเป็นพื้นที่ห่างไกลและเป็นถิ่นถิ่นทุรกันดารแต่เราก็พยายามหาทางแนวแก้ไข โดยบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และประสานกับท่านปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ให้สามารถดำเนินการในเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ได้ แสดงให้เห็นว่า “ปัญหาที่เราเข้าใจว่าไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วมักมีทางออกและสามารถแก้ไขได้” ด้วยการพูดคุยหารืออย่างจริงจรัง ร่วมกันหาข้อมูลรายละเอียด และบูรณาการกับภาคีเครือข่ายก็จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านได้” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติม ศ.ดร.สุรินทร คําฝอย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ภาครัฐควรร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยเอาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นที่ตั้ง และไม่ทำให้งบประมาณที่ขอไปต้องตกหล่น ซึ่งการใช้งบประมาณของส่วนราชการก็เป็นหนึ่งตัวชี้วัดที่สำคัญของทุกกระทรวง และจากการประชุมสามารถสรุปแนวทางหลักได้ 3 แนวทาง คือ 1) การสื่อสารของหน่วยงานยังมีปัญหา เช่น การมอบอำนาจของแต่ละหน่วยงาน ทั้งในเรื่องการขออนุญาต การพิสูจน์สิทธิ์ที่ดิน จึงต้องให้ทุกหน่วยงานรวบรวม Code of Practice เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานในระดับพื้นที่ 2) ความถูกต้องและชัดเจนของข้อมูลชุมชนที่อยู่ในพื้นที่หวงห้าม ซึ่งข้อมูลของแต่ละหน่วยงานยังมีความแตกต่างกัน จึงต้องบูรณาการข้อมูลเพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยอาจแยกประเภท ทำเป็น Category เรื่องความพร้อมของหน่วยงาน รวมไปถึงการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน และ 3) การประชุมของทุกกระทรวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อหาแนวทางดังที่ประชุมในวันนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ นางพนิตาวดี ปราชญ์นคร รองอธิบดีกรมที่ดิน กรมที่ดิน กล่าวว่า กรมที่ดินจะประสานการจัดส่งข้อมูลและรายละเอียดให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อประสานงานกับอำเภอและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันไปสำรวจที่ดินที่เป็นพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนและพิจารณาการจัดสรรที่ดินให้แต่ละครัวเรือนตามอำนาจหน้าที่ โดยในส่วนที่ตั้งของสถานที่ราชการอยู่ในที่ดินสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินเป็นแนวทางอยู่แล้ว ในด้านการเกษตรก็เป็นอำนาจของจังหวัดที่สามารถดำเนินการพัฒนาที่ดินได้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ยังได้กล่าวว่า ขอให้ทุกหน่วยงานที่มาร่วมหารือกันในวันนี้ได้ทำงานเชิงรุกเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย พร้อมทั้งแจ้งไปยังท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อพิจารณารายละเอียดร่วมกัน เช่น บ้านไหนที่ไม่มีทะเบียนบ้าน ก็ให้เร่งดำเนินการแก้ไข ทำให้มีทะเบียนบ้านให้ได้ตามกฎหมาย หรือในพื้นที่ที่ไฟฟ้า ประปา เข้าไม่ถึงก็ช่วยกันหาวิธีทดแทน เช่น ใช้พลังงานทดแทน โซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ โดยกระทรวงมหาดไทยจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลหาโครงการตัวอย่างที่ดำเนินการสำเร็จของแต่ละหน่วยงาน เพื่อนำมาเป็นต้นแบบให้กับทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดำเนินการในพื้นที่ต่อไป “เพราะหน้าที่ของทุกท่านคือการไปกำกับให้หน่วยงานได้อำนวยความสะดวกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและพี่น้องประชาชนได้ดำเนินการยื่นเรื่องขออนุมัติอนุญาตในการใช้พื้นที่เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้เป็นไปตามที่วัตถุประสงค์ของที่ดิน พร้อมทั้งเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาบรรจุแนวทางลงในแผนพัฒนาท้องถิ่นด้วย เพื่อให้เราทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น ในการ“บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” Change for Good ทำสิ่งที่ดีให้กับประชาชน ด้วยการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของประเทศที่เรื้อรังมานาน ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือการรายงานความคืบหน้า รวมถึงปัญหาและอุปสรรคของพื้นที่ เพื่อจะได้นำมาร่วมประชุมพูดคุยหารือกันต่อไป อันจะทำให้ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้าย จำนวนผู้ชม : 288 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้การต้อนรับ รมช.ศึกษาธิการ ร่วมหารือแนวทางการดำเนินงาน “ส่งเสริมการเรียนรู้ประชาชนทุกช่วงวัย” อุทัย มณี พ.ค. 19, 2022 วันที่ 19 พ.ค. 65 เวลา 11.30 น. ที่ห้องรับรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อาคารศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย… พุทธาภิเษกยิ่งใหญ่!!…“พระสมเด็จ111ปี” “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร” 111 ปี 8 พระเกจิอดังนั่งปรก อุทัย มณี พ.ค. 30, 2022 พุทธาภิเษกยิ่งใหญ่!!...“พระสมเด็จ111ปี” “หลวงปู่บุดดา ปัญญาธโร”… มจร ร่วมมือ กรมการแพทย์ เปิดสถานพยาบาล เป็นทางการแล้ว มีแพทย์พยาบาลประจำทุกวันจันทร์ – ศุกร์ อุทัย มณี ม.ค. 21, 2022 วันที่ 21 ม.ค. 64 ณ ตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… ธรรมกายช่วยผู้ประสบภัย น้ำท่วม’ปากเซ-จำปาสัก’ อุทัย มณี ก.ย. 16, 2019 วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา พระมหาเสถียร สุวณฺณฐิโต… “นิยม”เตือน”มส”ระวังถูกฟ้องม.157 ปมมติชี้พระมหาสมปองยุ่งการเมือง อุทัย มณี พ.ค. 06, 2021 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 นายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย… เมื่อชาวพุทธตามหา “พระจริง-พระแท้” พบ ‘พระป่า ‘ห่มจีวรจากเศษผ้าย้อมเปลือกไม้ ไม่ฉันเนื้อสัตว์-ไม่รับปัจจัย!! อุทัย มณี พ.ค. 24, 2022 วันที่ 24 พ.ค.65 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมามี มีรายงานว่า มีพระภิกษุอยู่ในสำนักสงฆ์… ลือให้แซด!! มส.รับทราบ “เจ้าอาวาสวัดนิมมานรดี” ลาออก พร้อม “กรรมการ มส.” ลาออกด้วย 2 รูป อุทัย มณี ส.ค. 30, 2024 วันที่ 30 สิงหาคม2567 เวลา 13.00 น. ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร… สาธุ!นางแบบสาว’เกรซ สิริมา’ ลงเล่นการเมืองสังกัดพรรคแผ่นดินธรรม อุทัย มณี ธ.ค. 20, 2018 วันที่ 20 ธ.ค.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "เกรซ สิริมา สาระกุล" นางแบบที่อดีตโลดแล่นวงการนางแบบ… ในหลวง..พระราชทานเครื่องเขียนแด่ “สามเณรผู้ทรงพระปาฏิโมกข์” อุทัย มณี ก.ย. 07, 2023 วันที่ 7 กันยายน 66 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า… Related Articles From the same category สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า ฯ เสด็จ “มอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักรแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา” เมื่วานนี้ ณ ลานคนเมือง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ… เจ้าคณะกทม.ประกาศ 8 สำนักปฎิบัติธรรมดีเด่น “วัดใหญ่” ติดโผ!! วันที่ 21 ก.ค. 65 พระธรรมวชิรมุนี วิ เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามประกาศรายชื่อสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร… อธิการบดี “มจร” รู้หรือไม่?? หลังจากรู้ว่า คณะสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ "สตง."เข้าไปสุ่มตรวจการจัดการงบประมาณแผ่นดิน… ปลัดมท. เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พิธีต้อนรับพระบัญชาแต่งตั้ง “พระมงคลพัฒนาภรณ์” ดำรงตำเเหน่ง รองเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร วันที่ 4 กันยายน 2565 เวลา 17.00 น. ณ วัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ต.ยกกระบัตร… “สมเด็จพระสังฆราช” แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช 3 รูป เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2566 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช…
Leave a Reply