“ปลัดเก่ง” นำผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยเยี่ยม “โรงเรียนดรุณวิทยา” โรงเรียนต้นแบบระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก วันที่ 14 พ.ย. 66 เวลา 10.00 น. ที่โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) อ.เมืองน่าน จ.น่าน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ตรวจเยี่ยมการดำเนินโครงการโรงเรียนสุขภาพดีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (The AIA Healthiest Schools Regional Challenge (Primary School Category)) โดยนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวราพงษ์ เกียรตินิยมรุ่ง นายช่างใหญ่ กรมที่ดิน นายสุเมธ มีนาภา รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายชูชีพ พงษ์ไชย นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยผู้บริหารกรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ โดยมี นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ นายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 15 อำเภอ นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาลเมืองน่าน หัวหน้าส่วนราชการ นางสาวนวพรรณ อินต๊ะวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ร่วมให้การต้อนรับและนำตรวจเยี่ยม โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เยี่ยมชมกิจกรรมดรุณฯ เพาะรักปลูกผักอินทรีย์ (Healthy Farm) เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” กิจกรรมศูนย์การเรียนรู้ 3Rs พาพอเพียง (กิจกรรมการแปรรูปขยะ) กิจกรรมธนาคารโรงเรียน (กิจกรรมการออมทรัพย์) กิจกรรมส่งเสริมการสร้างสุขอนามัยให้แก่เด็กเติบโตอย่างถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานสุขลักษณะตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่ชาวกระทรวงมหาดไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยจากทุกกรมได้มาศึกษาเรียนรู้ความสำเร็จของการจัดการศึกษาโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ซึ่งเป็นต้นแบบของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อนำผลสำเร็จนี้ไปขยายผลให้กับข้าราชการในหน่วยงานตลอดจนให้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “กรมการปกครอง” ที่มีกลไก “นายอำเภอ” เป็นผู้นำของข้าราชการตลอดจนภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีในพื้นที่อำเภอที่จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ (Know-how) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ และในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดก็เป็นประธานกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ที่ต้องอาศัยการเป็นผู้นำบูรณาการเสริมสร้างกระบวนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับคนทุกช่วงวัย ขณะที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งมีหน้าที่ในด้านการเสริมสร้างมิติป้องกันสาธารณภัย ก็จะได้หาแนวทางในการขยายผลกิจกรรมดี ๆ ในด้านการป้องกันภัยที่โรงเรียนดรุณวิทยาได้ทำจนเกิดความสำเร็จ เช่น หมวกกันน็อค 100% ที่มีมานานแล้ว เพื่อไม่ให้ของดีมีน้อย แต่ต้องช่วยกันขยายสิ่งที่ดีให้เกิดประโยชน์และเกิดการขับเคลื่อนพร้อมกันทั่วทั้งประเทศ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่ปฐมวัย นั่นคือ “อาหาร” ซึ่งมีความจำเป็นต่อการพัฒนาร่างกาย สมอง จิตใจ อารมณ์ ของเด็กวัย 0 – 12 ขวบ ที่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตช่วงต้น โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ต้องร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้ความรู้กับคู่สมรสในการวางแผนการมีบุตร การดูแลทารกในครรภ์ เพื่อที่จะให้ได้รับการดูแลครรภ์อย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุข เพื่อที่เมื่อทารกเกิดมาจะได้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ขณะเดียวกันเราก็ต้องส่งเสริมสุขอนามัยด้วยการเติมเต็มให้เด็กได้มีสารอาหารเพื่อได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย และจิตใจ พร้อมสำหรับการเติบโตและการเรียนรู้ตามช่วงวัย โดยสิ่งสำคัญที่สุดที่เป็นภูมิปัญญาการเลี้ยงดูบุตรที่ตั้งแต่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้ใช้เป็นแนวทางเลี้ยงดูบุตรหลานที่ตรงกับหลักพัฒนามนุษย์ ทั้งให้เล่นดินเล่นทราย ปีนป่ายต้นไม้ โหนเชือก สไลเดอร์ เล่นขายขนมครก ทำกับข้าวที่กองทราย ฝึกความกล้าหาญ เล่นสะพานเชือก พัฒนากล้ามเนื้อ ทำให้เกิดพัฒนาการทางสมอง นั่นคือ การเลี้ยงดูลูกหลานให้อยู่กับธรรมชาติ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์ต่อลูก ๆ นักเรียนโดยเฉพาะเด็กเล็ก จึงขอเชิญชวนเทศบาลเมืองน่านได้ร่วมกับมูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา เพิ่มพื้นที่ให้เด็กมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งร่างกาย สมอง อารมณ์ จิตใจ วินัย จากการเล่น เพราะบริบทเด็กในเมืองไม่จำเป็นต้องอยู่ในรั้วโรงเรียน โดยเทศบาลเมืองน่าน สามารถเปิดพื้นที่สาธารณะอื่นให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กได้ “ดีใจทุกครั้งที่ได้มาเห็นความสำเร็จของโรงเรียนดรุณวิทยาแห่งนี้ แต่ทว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ในฐานะผู้นำของพื้นที่ ผู้ทำหน้าที่ข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องมีหน้าที่ที่สำคัญในฐานะ “คนที่เกิดมาก่อน” ต้องคิดทำสิ่งที่ดี ช่วยกัน Change for Good โดยคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะพัฒนาลูกหลาน พัฒนาคน พัฒนาสิ่งแวดล้อม พัฒนาบ้านเมือง ให้ไปสู่ความดีที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยการขวนขวายรักษาสิ่งที่ดี และการนำเอาสิ่งที่ดีกลับมา ด้วยการช่วยกันอุดช่องว่างที่อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาในด้านอาหารของเด็กขึ้นในโรงเรียนหรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน “อาหารกลางวัน” ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาระบบแนะนำสำรับอาหารกลางวันสำหรับโรงเรียนแบบอัตโนมัติ (Thai School Lunch) โดยทางโรงเรียนสามารถสร้างพลังการมีส่วนร่วมทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเลือกเมนู ต้องวางระบบให้ครบทุกขั้นตอน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ได้แต่งตั้งทีมงานขึ้นมาสุ่มตรวจอาหารกลางวันตามโรงเรียนต่าง ๆ โดยไม่ต้องบอกล่วงหน้า อันเป็นการป้องกันการทุจริต ไม่ให้เกิดเหตุดั่งภาษิต “วัวหายล้อมคอก” และยังผลให้เด็กมีอาหารกลางวันที่มีมาตรฐาน และมีปริมาณเพียงพอเหมาะสม เฉกเช่นที่โรงเรียนดรุณวิทยาแห่งนี้ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องอาหาร กล่าวคือ เด็กต้องปลอดภัยจากสารเคมี สารพิษ ควบคู่การได้รับสารอาหารครบ เพราะในบริเวณโรงเรียนมีแปลงผักสวนครัว มีถังขยะเปียกลดโลกร้อน มีการคัดแยกขยะ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดผลสำเร็จและยั่งยืนได้ เราต้องทำให้ลึกซึ้งเกินโรงเรียน ลึกซึ้งเกินบ้าน โดยครูต้องยอมเหนื่อยเพิ่มขึ้น ด้วยการมอบหมายให้เด็กไปฝึกฝน ให้เด็กเอาสิ่งที่คิดว่าทำแล้วดีไปทำที่บ้าน ไปใช้เวลาร่วมกับผู้ปกครอง ปรับพื้นที่โดยรอบบ้านให้เป็นแปลงผักสวนครัว ให้มีถังขยะเปียกลดโลกร้อน มีการคัดแยกขยะ พร้อมทั้งยุยงส่งเสริมให้เด็กเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ เขียด เลี้ยงไก่ไข่ไว้มีไข่สำหรับบริโภค ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า สุดท้ายนี้ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ส่งเสริมให้ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้จัดตั้ง “ธนาคารขยะ” แล้วนำเงินจากธนาคารขยะมาให้ชุมชนจัดการเป็นสวัสดิการชุมชน เช่นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ที่ทุกวันนี้ประชาชนในพื้นที่ต่างช่วยกันคัดแยกขยะและนำขยะมาจำหน่ายที่ธนาคารขยะ กลายเป็นกองทุนสวัสดิการ “เพื่อนช่วยเพื่อน” จากการที่ผู้คนเป็นมนุษย์ 3Rs ทั้งนี้ ถ้าเราร่วมกันทำทุกอย่างด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ ก็จะเกิดการ Change for Good ได้ เริ่มตั้งแต่พัฒนาคน รักษาสิ่งที่ดีงาม และรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามของประเทศ ของเมืองน่านให้กลับมา และอีกประการที่สำคัญ คือ ต้องทำให้เด็กกล้าแสดงออก และขอให้ทุกคนได้เชื่อมั่นว่า สิ่งที่ดีจะเกิดขึ้นได้ด้วยการ Change for Good บนพื้นฐานของการรักษาสิ่งที่ดีงามเอาไว้ เพื่อให้ลูกหลานได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมแห่งความสุขที่ยั่งยืนตลอดไป นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน กล่าวว่า เทศบาลเมืองน่านมุ่งเน้นการพัฒนาคน เปลี่ยนคนสู่การเปลี่ยนเมือง 7.6 ตารางกิโลเมตร เพื่อก้าวสู่การเปลี่ยนประเทศ ทำให้เมืองเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิต โดยน้อมนำแนวทางการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยมุ่งพัฒนาเยาวชน นักเรียน และศูนย์เด็กเล็กที่มีคุณภาพ เพื่อเปลี่ยนคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ เพื่อการเปลี่ยนเมือง เปลี่ยนประเทศ ทั้งนี้ เทศบาลเมืองน่านให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรของเมืองที่มีค่าที่สุด คือ “คน” จึงได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเมือง สร้างพลเมืองอัจฉริยะ (Smart People) ให้เป็นพลเมืองคุณภาพ มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทัศนคติ วิธีคิด เกิดความต้องการเรียนรู้ เปิดกว้างสำหรับความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการมีส่วนร่วมของประชาชน พลเมืองมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีวัฒนธรรมความปลอดภัย มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ยึดมั่นในความถูกต้อง ธรรมาภิบาล สร้างความสามารถในการทำงานเป็นทีม เข้าถึงและสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตามหลักภูมิสังคม “เทศบาลเมืองน่าน มุ่งสร้าง “เด็กเล็กพัฒนาการดี” เพื่อรากฐานที่แข็งแรงของชีวิต สร้าง “โรงเรียนดีใกล้บ้าน” เพื่อนักเรียนคุณภาพ มีทักษะพร้อมทุกด้าน สร้าง “แหล่งเรียนรู้เพิ่มทักษะอาชีพ” เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ สร้าง “เมืองแห่งการเรียนรู้” ชุมชนแห่งปัญญา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง สร้าง “ทัศนคติด้านสุขภาพและวัฒนธรรมความปลอดภัย” ให้แก่พลเมือง และสร้าง “การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้เมืองน่าอยู่” นายสุรพลฯ กล่าวเพิ่มเติม นางสาวนวพรรณ อินต๊ะวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) กล่าวว่า โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีบุคลากร 30 คน นักเรียน 215 คน บริหารการศึกษาด้วยการมุ่งจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 บูรณาการกับการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ทำให้เด็กเป็น Active Citizen 5G คนดีที่มีความสุข ให้ความสำคัญการพัฒนาคนรอบด้าน เพราะสิ่งที่จะตอบโจทย์เป้าหมายการศึกษา คือ “ถ้าจัดการศึกษาดี SDGs ทุกข้อก็ประสบความสำเร็จ” จำนวนผู้ชม : 23,075 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ‘ครุศาสตร์ มจร’เร่งปรับหลักสูตร สอนพุทธยุคดิจิทัลป้องดิสรัปชั่น อุทัย มณี ก.ย. 19, 2019 วันที่ 18 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมสิริอักษณ์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว… ประชุม “พระธรรมทูตโลก” ณ USA “สมเด็จธีร์” เน้น พระธรรมทูตต้อง “สำรวม ใช้ปัญญา รักษาศรัทธาให้มั่นคง” อุทัย มณี มิ.ย. 11, 2022 วันนี้ 11 มิ.ย. 65 วานนี้เวลา 9.00 น. เวลาท้องถิ่น ณ วัดไทยลอสแองเจลีส… ปลัดมท.ร่วมกับคณะสงฆ์ ลงพื้นที่อยุธยา ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อุทัย มณี ต.ค. 03, 2021 วันนี้ 3 ต.ค.64 เวลา 15:00 น. ที่เต็นท์หน้าวัดอินทาราม ตำบลทางช้าง… สุรินทร์แล้งหนัก! พระ’มจร’วิทยาเขตสุรินทร์ พาโยมสวดมนต์แก้ตามแนววิถีพุทธวันที่ 27 ส.ค.2562 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาเขตสุรินทร์ โดยการนำของพระอาจารย์มหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร วัดจากแดง ร่วมสวดมนต์สู้ภัยแล้งตามแนววิถีพุทธ หลังจากนั้นทั้งพระและญาติโยมได้พากันมาปลูกต้นไม้ในสวนป่าของ มจร วิทยาเขตสุรินทร์ ชาวบ้านสามัคคีที่สวนป่าสามัคคีธรรมก็ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย Cr.เฟซบุ๊กณรงค์ฤทธิ์ ทองแม้น อุทัย มณี ส.ค. 27, 2019 วันที่ 27 ส.ค.2562 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาเขตสุรินทร์… ยังทำอยู่!! “พระพรหมบัณฑิต” ประชุมคณะอนุกรรมการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ อุทัย มณี เม.ย. 04, 2023 วันที่ 4 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 อาคารสิริภักดีธรรม… พุทธทั่วโลกนับ 10,000 คนชุมนุมที่อินเดีย ถกความสัมพันธ์กับโลกปัจจุบัน อุทัย มณี พ.ย. 23, 2019 ชาวพุทธทั่วโลกกว่า 10,000 คนชุมนุมกันที่เมืองออรังคาบัดอินเดีย… “พรรคเสมอภาค” หนุนเครือข่ายชาวพุทธร่วมป้องกันการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาทุกรูปแบบ อุทัย มณี ส.ค. 18, 2022 วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 นางรฎาวัญ(ลดาวัลลิ์) วงศ์ศรีวงศ์… ขอเชิญรับเสด็จในหลวง -พระราชินี เนื่องในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล “วันมาฆบูชา” อุทัย มณี ก.พ. 11, 2022 วันที่ 11 ก.พ. 65 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ… เศรษฐินีใจบุญมอบที่ดินสร้างวัดสังกัดคณะสงฆ์ “อนัมนิกาย” อุทัย มณี มี.ค. 01, 2021 วันนี้ (1 มีนาคม 2564) พระดร.พิสิษฐ์ เถี่ยนบ๊าว หรือ พระครูองพจนกรโกศล… Related Articles From the same category ศาลฏีกาพิพากษาให้ “วัดกัลยาณมิตร” แพ้!! ต้องสร้าง “เจดีย์จอมมารดาแช่ม” ขึ้นใหม่ วันที่ 1 กรกฏาคม 2566 เฟชบุ๊ค กิติบดี ประวิตร ได้โพสต์ขอความเกี่ยวกับการฟ้องร้องเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่าง… ชาวอุบลร่วมแห่ “หลวงพ่อเงิน 700 ปี” พระพุทธรูปสำคัญของเมืองอุบล เมื่อวันเสาร์ที่ 13 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา นายเกรียง กัลป์ตินันท์… “มจร วิทยาเขตสุรินทร์” เปิดรับบทความวิจัยและวิชาการ นำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างวันที่… ฮือฮา!! สมเด็จวัดเทพศิรินทร์ สมัครเรียนประโยค 9 วันที่ 25 สิงหาคม 2567 วานนี้มีการแชร์และโพสต์ใบสมัครเรียนประโยค… “พระครูต้น” ควง “ปลัดเก่ง” ลงพื้นที่สำรวจที่ดินวัดระฆัง 150 ไร่ จ.นครนายก สนองพระราชดำริสร้าง “ศูนย์เรียนรู้พุทธอารยเกษตร” วันที่ 19 ม.ค.67 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า…
Leave a Reply