“ สุรพศ” ฟาดมหาวิทยาลัยสงฆ์ ระบุ “เสียดายภาษี” วันที่ 12 ธ.ค. 66 เฟชบุ๊ค อ. สุรพศ ทวีศักดิ์ (นักปรัชญาชายขอบ) ได้โพสต์ข้อความทำนองว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์ปัจจุบันไม่มีนักวิชาการพุทธ ไม่มีผลงานทางภูมิปัญญาที่สังคมรู้จัก พร้อมฟาด “เสียดายภาษี” โดยมีความละเอียดดว่า ยุคก่อนภูมิปัญญาพุทธค่อนข้างมีบทบาทชี้นำสังคมไทย เช่น คำสอนพุทธทาส ปัญญานันทะ เรื่อยมาถึงพระพยอมเป็นที่นิยมแพร่หลาย ในมหาลัยสงฆ์มีพระนักวิชาการชื่อดังอย่าง ป.อ. ปยุตฺโต, ระแบบ ฐิตญาโณ มีนักวิชาการพุทธแถวหน้าอย่างจำนงค์ ทองประเสริฐ, สุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นต้น โดยที่มหาลัยสงฆ์ไม่ได้รับงบฯ อุดหนุนจากรัฐด้วยซ้ำ ปัจจุบันมหาลัยสงฆ์เป็นมหาลัยในกำกับของรัฐ ได้รับงบฯ อุดหนุนจำนวนมาก รับทั้งพระและฆราวาสเข้าเรียน มีวิทยาเขตทั่วทุกภาคของประเทศน่าจะประมาณ 20 วิทยาเขต (บวก/ลบ) แต่ไม่ปรากฏผลงานทางภูมิปัญญาพุทธที่สังคมรู้จักเลย ไม่มีนักวิชาการพุทธที่โดดเด่นที่มีบทบาทปัญญาชนสาธารณะนำเสนอพุทธธรรมเชิงก้าวหน้าร่วมอภิปรายปัญหาศีลธรรม สังคม การเมืองและอื่นๆ แม้แต่ปัญหาระบบโครงสร้างของพุทธศาสนากับรัฐที่ถูกคนรุ่นใหม่ตั้งคำถามมากขึ้นๆ ก็ไม่มีนักวิชาการพุทธ ทั้งพระและฆราวาสสามารถร่วมอภิปรายถกเถียงอย่างเป็นที่ยอมรับทางสาธารณะเลย เห็นมีเพียงผู้บริหารมหาลัยสงฆ์ “บางรูป” ที่มีจุดยืนอนุรักษ์นิยมทางศาสนาแบบสวนกระแสสังคมการเมืองสมัยใหม่ พยายามไปมีคอนเนคชั่นกับพรรคการเมืองบางพรรค เพื่อผลักดันกฎหมายอุปถัมภ์ศาสนา ธนาคารพุทธฯ เป็นต้น แต่ก็ไม่ต่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมทางการเมืองในยุคนี้ที่ขาดความรู้ทางวิชาการที่น่าเชื่อถือในการแลกเปลี่ยนถกเถียงกับความคิดของคนรุ่นใหม่ จะว่าไปก็ “เสียดายภาษี” ครับ ประชาชนจ่ายภาษีไปแล้ว แต่ไม่มีผลตอบแทนเป็นความงอกงามทางปัญญาพุทธที่มีพลังสนับสนุนคุณค่าของประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หรือความเป็นธรรมทางสังคมในมิติอื่นๆ เราจ่ายภาษีสนับสนุนการผลิตสร้างความคิด คุณค่าแบบอนุรักษ์นิยมที่มีพลังถ่วงความเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้า เหมือนจ่ายภาษีให้สถาบันอนุรักษ์นิยมอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตยและสังคมที่เป็นธรรม อย่างน้อยยุคที่มหาลัยสงฆ์ยังไม่ได้งบฯ อุดหนุนจากรัฐ ยังผลิตสร้างภูมิปัญญาพุทธเพื่อสังคมอย่างเห็นได้ชัดมากกว่ายุคปัจจุบัน แม้ว่าภูมิปัญญาพุทธแบบที่เคยผลิตสร้างขึ้นมานั้นจะยังเป็นที่ถกเถียงในแง่ครอบงำ (dominate) มากกว่าปลดปล่อย (liberate) ก็ตาม จำนวนผู้ชม : 10,102 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ประชุมบุคลากรนักเผยแผ่พุทธ วางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไทยให้เป็นศูนย์กลาง เผยแผ่พระพุทธศาสนาวิถีใหม่ในวิถีเศรษฐกิจพอเพียง อุทัย มณี ก.ย. 16, 2022 เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ… เจ้าอาวาสวัดเล่งเน่ยยี่อวยพร”บิ๊กตู่”ผ่านศึกซักฟอก วอนฝ่ายค้านอย่านำข้อมูลเท็จมาอภิปราย อุทัย มณี ก.พ. 09, 2021 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธุ์ 2664 นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี… กองทุนสื่อ เปิดงาน “มหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข” 7 – 8 พฤศจิกายน 2565 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร อุทัย มณี พ.ย. 02, 2022 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม… คณะสงฆ์..ปฎิรูปอย่างไร !! จึงตกเป็นเครื่องมือรัฐ อุทัย มณี พ.ค. 01, 2022 มีข่าวว่า "คณะสงฆ์" กำลังจะดำเนินการร่างแผนปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนาระยะที่… คุยกับนักปรัชญา: เหตุใดข้อเสนอเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาศาสนา จึง ‘ร้าย’ มากกว่าดี อุทัย มณี มิ.ย. 16, 2021 เมื่อเราพูดถึงปัญหาสังคม เรามักจะพูดกันว่า ถ้าคนดีแล้วสังคมก็จะดีด้วย… ขอเชิญร่วมถวายภัตตาหารแด่ “พระนิสิต” มจร อุทัย มณี ธ.ค. 14, 2018 <img class="alignnone size-full wp-image-38559 aligncenter" src="http://thebuddh.com/wp-content/uploads/2018/12/317340.jpg" alt="" width="650" height="1625" /> “พระพรหมสิทธิ” ต้อนรับ “พระอาจารย์เจี้ยนหวิน” แห่งไต้หวัน เข้ามุทิตาสักการะ ปรารถถึงคุณูปการ “สมเด็จเกี่ยว” ที่หล่อหลอม “มหายาน-เถรวาท” ให้เป็นหนึ่งเดียว!! อุทัย มณี ก.ย. 16, 2024 วันที่ 16 กันยายน 2567 เมื่อวันที่ 14 ที่ผ่าน พระอาจารย์เจี้ยนหวิน… “อนุทิน” นำ ” 3 รมช.” เข้าเฝ้า “สมเด็จพระสังฆราช” หลังเข้ากระทรวงคลองหลอด อุทัย มณี ก.ย. 07, 2023 วันที่ 7 กันยายน 256 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย… บอร์ดวัฒนธรรมแห่งชาติ ไฟเขียวแผนปฏิบัติการทุนทางวัฒนธรรมส่งเสริม Soft Power – ชู 4 ยุทธศาสตร์ อุทัย มณี ส.ค. 30, 2024 วันที่ 30 สิงหาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม… Related Articles From the same category “ฉบับแรก” มจร ปลื้ม วารสาร JIBS ของ “มหาจุฬา”ขึ้นสู่ฐานนานาชาติ SCOPUS ยืนหยัดสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัยนานาชาติ” วันที่ 17 ต.ค. 66 พระสุธีรัตนบัณฑิต คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… “ณพลเดช” จ่อชง “สำนักพุทธ” สำรวจข้อมูลวัดตั้งแต่ต้นปี “ห้ามมีกฐินตกค้าง” เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ที่วัดฉิมพลีฯ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี… ประกาศ “เสถียรธรรมสถาน” วันที่ 15 ธันวาคม 2564 เถียรธรรรมสถานได้ประกาศแจ้งการเปลี่ยนแปลงกำหนดการเข้าเคารพกายสังขารของ… “ยธ.” น้อมถวายประกาศนียบัตรกิตติมศักดิ์และเข็มวิทยฐานะการบริการงานยุติธรรมระดับสูงแด่ “พระพรหมบัณฑิต” เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ที่อุโบสถวัดประยุรวงศาวาส พันตำรวจโท… เช็ครายชื่อครบ “ทุกตำแหน่ง” มติ มส. แต่งตั้ง..พระสังฆาธิการ วันอังคารที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร…
Leave a Reply