กางเกงอุบล ลายผาแต้ม : กางเกงที่สะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นอีสาน
ทวิช สังข์อยู่ อธิบายเพิ่มว่า ที่จริงลายแต้มอุบล ควรจะมีดอกบัวและต้นเทียนพรรษา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองอุบล แต่ผู้ออกแบบเลือกใช้สีดอกบัวตูมเป็นสัญลักษณ์แทน เนื่องจากเห็นว่า ดอกบัว และ เทียนพรรษา อยู่ในฐานะของกราบไหว้บูชา จึงเลี่ยงที่จะนำมาใส่บนกางเกง
ดวงตาสวรรค์ หนึ่งในฮูปแต้ม บนผาแต้ม เป็นดวงตาที่เฝ้ามองความเป็นไปของลูกหลานชาวเมืองอุบล มานับพัน ๆ ปี ได้ถูกนำมารังสรรค์ ขึ้นใหม่ ให้กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง ผ่านการออกแบบลวดลายบนผืนผ้า
ภาพชีวิตชาวนาเมื่อหลายพันปี ถูกส่งต่อสู่ปัจจุบัน ผ่านฮูปแต้ม แสดงถึงความผูกพันระหว่างคน ควาย และผืนนา ที่มีมาอย่างยาวนาน
“ตุ้ม” คือ เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง สานจากริ้วไผ่ รูปร่างคล้ายข้อง มีงาแซงอยู่ด้านข้าง เป็นลิ้นสำหรับดักปลา ถักจากด้ายและริ้วไผ่
ตุ้มมีหลายชนิด หลายขนาด ทั้งชนิดสานตาห่าง ใช้ในน้ำลึก สำหรับดักปลาใหญ่ และชนิดสานตาถี่ ใช้ในน้ำตื้น สำหรับดักปลาเล็ก เรียกว่า “ตุ้มลาน”
ดอกสะแบง เป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอีสาน เป็นดอกไม้ที่สะท้อนถึงความผูกพันที่คนอีสานมีต่อถิ่นฐานบ้านเกิด
เกวียน คือ พาหนะที่มีความจำเป็นในการเดินทางของผู้คนในยุคก่อน บ้านไหนเฮือนไหนมีเกวียน ก็สะดวกในการไปนาไปไร่ ทั้งยังใช้รับจ้างขนไม้ ขนถ่าน ขนข้าว ขนปอ หาเงินมาจุนเจือครอบครัวได้อีกด้วย คนมีนาไกล ไปมาลำบาก ต้องมีเกวียนเอาไว้เทียวนา
งัวควายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนอีสาน เป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งความหวังของครอบครัวคนอีสานมีวัวควายไว้เป็นเพื่อน เห็นวัวเห็นควายเดินตามไร่ตามนาแล้ว ทำให้นาไม่เงียบเหงา มีวัวควายไว้ขี้ใส่นา วัวควายขี้ใส่นา เหยียบย่ำไปมา ก็เป็นปุ๋ย ถึงเวลาทำนา ข้าวก็งาม มีวัวควายแล้ว เหมือนมีข้าวมีของอยู่ในเรือน มีวัวควายอยู่ในบ้าน ทำให้สบายใจ การมีวัวมีควายอยู่ในคอก นอกจากจะเป็นเครื่องมือในการทำไร่ไถนาแล้ว จำนวนวัวควายในคอก ยังบ่งบอกถึงสถานะทางครอบครัวอีกด้วย
ในอดีต นายฮ้อยบางคน เดินทางค้าขายวัวควายข้ามจังหวัด จนชำนาญทาง ก็หันมารับจ้างคุมกองคาราวานเกวียน ขนของไปขายข้ามจังหวัดห่างไกล
การจะเป็นนายฮ้อยวัว นายฮ้อยควาย จะต้องรู้ลักษณะวัวลักษณะควาย
กางเกงอุบล ลายผาแต้ม เกิดขึ้นจากวงสนทนาเล็ก ๆ ที่ร้านกาแฟแพรวคอฟฟี่ บ้านปากน้ำ (บุ่งสระพัง) สะท้อนอัตลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่แสดงภาพวิถีชีวิตความเป็นอีสาน ได้อย่างแจ่มชัด กำลังจะกลายเป็นส่วนแห่งความภูมิใจของชุมชน
Post navigation
Posted in:
Leave a Reply