17 เมษายน วันคล้ายวันเกิด “สมเด็จโต” ครูดีที่คนปัจจุบันมองเชิงอภินิหาร

“สมเด็จโต” ท่านเป็นผู้ชำนาญบาลีและเทศนา เป็นทั้งนักเรียนดี และครูดี เสียดายว่าคนยุคนี้ เห็นท่านไปในทางอภินิหารเสียมากกว่า

“พระเทพกระวีมีพรรษายุกาลประกอบด้วยรัตตัญญูมหาเถรธรรมยั่งยืนนาน แลมีปฏิภาณปรีชา ตรีปิฎกกลาโกศล แลฉลาดในโวหารนิพนธ์เทศนาปริวัติวิธีแลทำกิจในสุตนั้นด้วยดีไม่ย่อหย่อน อุสาหะสั่งสอนพระภิกษุสามเณรโดยสมควร

อนึ่งไม่เกียจคร้านในราชกิจบำรุงพระบรมราชศรัทธาฉลองพระเดชพระคุณเวลานั้น ๆ สมควรเป็นที่อรัญญิกมหาสมณคณิศราจารย์พระราชาคณะผู้ใหญ่ มีอิศริยยศยิ่งกว่าสมณนิกรฝ่ายอรัญวาสี เป็นอธิบดีครุฐานิยพิเศษ ควรสักการบูชาแห่งนานาเนกบรรพสัช บรรดารนับถือพระบรมพุทธสาสนาได้ จึงมีพระบรมราชโองการมา ณ พระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่ง ให้สถาปนาพระเทพกระวี ศรีสุทธินายก ตรีปิฎกปรีชามหาคณฤศร บวรสังฆารามคามวาสี เลื่อนที่ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา วิสุทธิจรรยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณ ศิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคณิศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ สถิต ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวง”

ภาพถ่าย สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พฺรหฺมรํสี หรือ สมเด็จโต
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (ภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร)

ความตอนหนึ่งในคำประกาศสถาปนา “พระเทพกระวี (โต)” เป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)” เมื่อ พ.ศ. 2407 เนื่องในวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดเจ้าประคุณสมเด็จฯ รูปนั้น (ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331)

ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม (มติชน)

Leave a Reply